svasdssvasds

กฟผ. เดินหน้าผลิตไฟฟ้าสีเขียว เร่งขยายโซลาร์เซลล์ลอยน้ำไฮบริดในเขื่อน

กฟผ. เดินหน้าผลิตไฟฟ้าสีเขียว เร่งขยายโซลาร์เซลล์ลอยน้ำไฮบริดในเขื่อน

กฟผ. เดินหน้าผลิตไฟฟ้าสีเขียว ขยายโซลาร์เซลล์ลอยน้ำไฮบริดในเขื่อนเต็มสูบ หนุนภาคการลงทุนขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยสู่สังคมไร้คาร์บอน รองรับความต้องการไฟฟ้าสีเขียวของภาคธุรกิจ เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน เตรียมยกระดับฉลากเบอร์ 5 แสดงตัวเลขลดการปล่อยคาร์บอน

นายบุญญนิตย์ วงศ์รักมิตร ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)  เปิดเผยว่า การฟื้นตัวของเศรษฐกิจหลังสถานการณ์โควิด-19 ทำให้คาดการณ์ความต้องการใช้ไฟฟ้าในระบบกฟผ. ปี2566 อยู่ที่ 208,187 ล้านหน่วย (GWh) เพิ่มขึ้น 3.32% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ซึ่งเทรนด์พลังงานโลกรวมถึงประเทศไทยมีความต้องการใช้ไฟฟ้าสีเขียวจากพลังงานหมุนเวียนในภาคธุรกิจและการลงทุนมากขึ้นเพื่อลดอุปสรรคทางการค้าจากมาตรการภาษีคาร์บอน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

โดยในปี 2566 กฟผ. จึงเร่งเดินหน้าโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์บนทุ่นลอยน้ำร่วมกับโรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนอุบลรัตน์ จ.ขอนแก่น ชุดที่ 1 กำลังผลิต 24 เมกะวัตต์ ที่มีการติดตั้งแบตเตอรี่กักเก็บพลังงาน (BESS) เพื่อรักษาเสถียรภาพของระบบไฟฟ้าในช่วงเปลี่ยนผ่านพลังงานระหว่างพลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานน้ำ รวมทั้งเพิ่มความมั่นคงระบบไฟฟ้าของประเทศ

กฟผ. เดินหน้าผลิตไฟฟ้าสีเขียว เร่งขยายโซลาร์เซลล์ลอยน้ำไฮบริดในเขื่อน

ทั้งนี้กฟผ. มีศักยภาพดำเนินโครงการโซลาร์เซลล์ลอยน้ำไฮบริดในเขื่อนสูงถึง 10,000 เมกะวัตต์ ซึ่งได้เตรียมเสนอโครงการต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อรองรับความต้องการไฟฟ้าสีเขียวของภาคธุรกิจ ควบคู่กับการเดินหน้าส่งเสริมใบรับรองเครดิตการผลิตพลังงานหมุนเวียน (REC) เพื่อยืนยันการใช้พลังงานไฟฟ้าสีเขียวตามมาตรฐานสากล โดย กฟผ. ได้รับสิทธิ์จาก I-REC ประเทศเนเธอร์แลนด์ ให้เป็นผู้รับรอง (Local Issuer) รายเดียวของประเทศไทย ซึ่งตลอด 3 ปีที่ผ่านมา กฟผ. ออกใบรับรอง REC ให้แก่ผู้ผลิตพลังงานหมุนเวียนของไทยแล้วกว่า 5.58 ล้าน REC โดยในปี 2565 การออกใบรับรอง REC ขยายตัวเพิ่มขึ้นกว่า 106%

พร้อมกันนี้ยังเดินหน้าศึกษาเทคโนโลยีพลังงานสะอาด  เช่น การใช้เชื้อเพลิงไฮโดรเจนและแอมโมเนียที่ไม่ปล่อยคาร์บอนระหว่างการเผาไหม้เพื่อเป็นเชื้อเพลิงทางเลือกในการผลิตไฟฟ้า เทคโนโลยีการดักจับ การใช้ประโยชน์ และการกักเก็บคาร์บอน เช่น การนำก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากการผลิตไฟฟ้ามาแปรรูปเป็นเมทานอลสำหรับใช้เป็นเชื้อเพลิงในภาคอุตสาหกรรม โดยศึกษาใน 2 พื้นที่หลัก ได้แก่ โรงไฟฟ้าน้ำพอง จ.ขอนแก่น และ กฟผ.แม่เมาะ จ.ลำปาง

ทั้งนี้จะเดินหน้าโครงการนำร่องการพัฒนาสมาร์ทกริดที่จังหวัดแม่ฮ่องสอนเพื่อเป็นต้นแบบการพัฒนาระบบไฟฟ้าสำหรับพื้นที่สูงหรือพื้นที่ห่างไกลให้มีความมั่นคงทางพลังงาน โดยนำเทคโนโลยีสมาร์ทกริดเข้ามาบริหารจัดการเชื่อมโยงระบบผลิตไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์และโรงไฟฟ้าในพื้นที่ใน จ.แม่ฮ่องสอน ให้ทำงานร่วมกันอย่างสมดุล ควบคู่กับการพัฒนาโครงข่ายไฟฟ้าให้มีความทันสมัย เพื่อรองรับการเพิ่มขึ้นของพลังงานหมุนเวียน

กฟผ. เดินหน้าผลิตไฟฟ้าสีเขียว เร่งขยายโซลาร์เซลล์ลอยน้ำไฮบริดในเขื่อน

อย่างไรก็ตามกฟผ. ยังเตรียมยกระดับการจัดการใช้พลังงานของภาคประชาชนให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดและลดคาร์บอนอย่างเป็นรูปธรรมผ่านฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 โฉมใหม่ ที่แสดงค่าการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของเครื่องใช้ไฟฟ้า กำหนดเปิดตัวอย่างเป็นทางการในเดือนกันยายนนี้ รวมถึงเดินหน้าเพิ่มพื้นที่สีเขียวอย่างต่อเนื่องผ่านโครงการปลูกป่าล้านไร่อย่างมีส่วนร่วม ทั้งป่าต้นน้ำ ป่าชุมชน และป่าชายเลน โดยในปี 2565 สามารถเพิ่มพื้นที่ปลูกป่ารวมกว่า 1.03 แสนไร่ ตั้งเป้าปลูกป่าในปี 2566 จำนวน 1 แสนไร่ โดยมีเป้าหมายปลูกป่าให้ครบ 1 ล้านไร่ในปี 2574 

 

related