svasdssvasds

"วังจันทร์ วัลเลย์" เมืองแห่งเทคโนโลยี ต้นแบบ Smart City ของอาเซียน

ต้นแบบเมือง smart city ที่ผลักดันให้เกิดเศรษฐกิจยุคใหม่ เพียบพร้อมด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ ที่พร้อมจะซัพพอร์ดการวิจัยทุกรูปแบบ และที่สำคัญคือการสร้างนักวิจัยที่มีคุณภาพในระดับสากล

โครงการวังจันทร์ วัลเลย์ หรือ โครงการนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก แล้วนะครับ ซึ่งเป็นการร่วมมือกันระหว่าง บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กับ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงการอุมดศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม 

วังจันทร์วัลเลย์ ตั้งอยู่ที่จังหวัดระยอง บนพื้นที่กว่า 3000 ไร่ ที่นี่เป็นสถานที่สร้างบุคคลากรคุณภาพด้านการวิจัย เนื่องจากมีทั้งโรงเรียนและมหาวิทยาลัย อย่างสถาบันวิทยสิริเมธี และ​โรงเรียนกำเนิดวิทย์ ที่มุ่งเน้นด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม หมายความว่า ที่นี่จะมีการพัฒนานักวิจัยตั้งแต่ระดับมัธยมไปจนถึงปริญญาเอก ยกเว้น ปริญญาตรี ซึ่งจะมีการเฟ้นหานักเรียน นักศึกษาระดับหัวกะทิเข้ามาเรียนในที่นี่ 
    
อีกอย่างที่ส่วนตัวชอบมาก เป็นการซัปพอร์ตการวิจัยได้ดีมากๆ เพราะที่วังจันทร์ วัลเลย์มีพื้นที่ที่ให้นักวิจัยได้คิดค้น วิจัยและทดลอง จบในที่เดียว!

ปตท. ตั้งใจพัฒนาพื้นที่วังจันทร์ วัลเลย์แห่งนี้ให้เป็น smart city ที่สมบูรณ์ ชั้นนำในระดับอาเซียน เป็นฐานที่ตั้งสำคัญของเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ  EECi เพื่อยกระดับขีดความสามารถด้านการวิจัย และ นวัตกรรม รองรับการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจตามนโยบายประเทศไทย 4.0 

ปตท. ในฐานะผู้พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภค เพื่อให้ วังจันทร์วัลเลย์ กลายเป็น  Smart natural Innovation Platform ที่สมบูรณ์ มีระบบนิเวศเป็นเลิศ และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม 

โครงการวังจันทร์ วัลเลย์ได้แบ่งพื้นที่โครงการออกเป็น 3 โซน ได้แก่ 
- Education zone, 
- Innovation zone 
- Community zone

โซนแรก Education zone  เป็นพื้นที่เน้นเรื่องการศึกษา ที่จะส่งเสริมงานวิจัย มีทั้ง สถาบันวิทยสิริเมธี, โรงเรียนกำเนิดวิทย์  ศูนย์เรียนรู้ป่าวังจันทร์, ศูนย์เรียนรู้เกษตรนวัต สถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา

โซนต่อมา Innovation Zone เป็นโซนที่อัดแน่นไปด้วยนวัตกรรมสมัยใหม่ เพราะมีทั้งอาคารกลุ่มนวัตกรรม EECi ของ สวทช.  / PTTEP Technology & Innovation center สำหรับงานวิจัย นวัตกรรม พัฒนาเทคโนโลยี
อาคารศูนย์ปฏิบัติการอัจฉริยะ หรือ IOC เพื่อบริหารจัดการเมืองอัจฉริยะได้อย่างมีประสิทธิภาพ และนำข้อมูลมาใช้วิเคราะห์ต่อยอดในเชิงธุรกิจ รวมถึงเป็นพื้นที่ต้นแบบที่ได้รับอนุญาตให้ทดสอบ-ทดลองเพื่อการวิจัยและพัฒนาอากาศยานซึ่งไม่มีนักบิน UAV Regulatory Sandbox เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมระบบนิเวศอากาศยานไร้คนขับ (UAS Ecosystem) ให้เกิดขึ้นอย่างครบวงจรภายในพื้นที่วังจันทร์วัลเลย์

โซนสุดท้าย Community zone เป็นพื้นที่ที่พัฒนาให้เหมาะสมกับการอยู่อาศัย สถานที่พบปะสังสรรค์ และสิ่งอำนวยความสะดวกมากมาย

นอกจากนี้ วังจันทร์ วัลเลย์ ยังเป็นต้นแบบของเมือง smart city  ครบทั้ง 7 ด้าน

  1. Smart Environment สิ่งแวดล้อมอัจฉริยะ
  2. Smart Energy  พลังงานอัจฉริยะ
  3. Smart Economy เศรษฐกิจอัจฉริยะ
  4. Smart Governance การบริการภาครัฐอัจฉริยะ
  5. Smart Mobility การขนส่งอัจฉริยะ
  6. Smart People  พลเมืองอัจฉริยะ
  7. Smart Living การใช้ชีวิตปชอัจฉริยะ

อาคารศูนย์ปฏิบัตรการอัจฉริยะ หรือ IOC เป็นอาคารที่จะคอยควบคุมระบบอัจฉริยะต่างๆ ของเมือง ในห้องควบคุมจะมีจอขนาดใหญ่ แสดงผลที่ส่งจากระบบปฏิบัติการต่างๆ และมี  work stationสำหรับให้พนักงานปฏิบัติการ 

นอกจากนี้วังจันทร์วัลเลย์ ยังมีมาตรการดึงดูดนักวิจัยเก่งๆ จากต่างประเทศ ยิ่งตอกย้ำพื้นที่ให้ชัดยิ่งขึ้น ทั้งด้านความพร้อมของโครงสร้างพื้นฐาน ระบบสาธารณูปโภค และบุคลากรที่พร้อมจะยกระดับนักวิจัยไทยให้ก้าวสู่ระดับโลก

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

 

related