svasdssvasds

Influencer ประเทศไทย ควรมีกฎหมายควบคุมได้แล้วหรือยัง?

Influencer ประเทศไทย ควรมีกฎหมายควบคุมได้แล้วหรือยัง?

รู้หรือไม่ ประเทศไทยมี Influencer มากกว่า 2 ล้านคน ! โดยคอนเทนต์ อวดรวย กำลังเป็นปัญหาในหมู่เยาวชน ถึงเวลาควบคุมแล้วหรือยัง?

ตอนนี้ไม่ว่าจะหันซ้ายหันขวา เราจะเห็นว่าคนรอบตัวล้วนเป็นครีเอเตอร์ เพราะทุกคนมีสื่อออนไลน์ในมือที่สามารถสร้างรายได้ แต่การที่มันมีการแข่งขันสูงมันยิ่งน่ากลัว

ล่าสุดทาง สภาพัฒน์ฯ (สำนักงานสาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ) (สศช.) ก็ได้รายงานภาวะสังคมไทยที่ทุกคนล้วนเป็นสื่อ ระบุว่า ในปี 2565 ประเทศในกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) มีจำนวน Influencer รวมกันมากถึง 13.5 ล้านคน โดยประเทศไทยมีจำนวนกว่า 2 ล้านคนเป็นอันดับสองรองจากประเทศอินโดนีเซีย และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น สาเหตุส่วนหนึ่งมาจากการเป็นช่องทางสร้างรายได้

แล้วเมื่อการแข่งขันเยอะหลายๆคนต้องการที่จะเป็นที่ 1 ต้องการ Engagement ก็เลยมุ่งเน้นเนื้อหาให้เป็นกระแสโดยไม่ได้คำนึงถึงความถูกต้องและเหมาะสม จนตอนนี้บางประเทศก็เริ่มมีกฎหมายที่จริงจังกับ Influencer แล้ว อย่างสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ กำหนดให้ Influencer ต้องจดทะเบียนและได้รับใบอนุญาต เพื่อป้องกันการโฆษณาที่ผิดกฎหมาย / จีน ห้ามอวดความร่ำรวย เช่น การโชว์เงินสด รถยนต์หรูหรา การกินอาหารแบบทิ้งขว้าง จนเป็นกระแสทำตาม / นอร์เวย์ ออกกฎหมายให้ Influencer ต้องแจ้งว่ารูปนั้นผ่านการตกแต่งอะไรบ้างสำหรับการขายและโฆษณาสินค้าบนออนไลน์

เนื้อหาเชิงลบที่มักพบจาก Influencer บางกลุ่ม เช่น พบเว็บพนันออนไลน์ โฆษณาผ่าน Influencer  
ปัญหารายงานข่าว-ละเมิดลิขสิทธิ์-สร้างค่านิยมที่ผิด รวมถึงคอนเทนต์ที่ดูไม่ผิดกฎหมาย แต่มีผลกระทบร้ายแรงก็คือ Content “การอวดความร่ำรวย” โดยเนื้อหายอดนิยม 3 อันดับแรก ได้แก่ สินค้าแบรนด์เนม การบริการที่ประทับใจ และไลฟ์สไตล์ชีวิตประจำวัน จนกลายเป็นกระแสเช่น #ของมันต้องมี ทำให้อาจเป็นสาเหตุของการก่อนหนี้ในหมู่เยาวชน

ข้อมูลรายได้ Influencer ของไทย อยู่ที่ 800 - 700,000 บาทขึ้นไปต่อโพสต์ ขึ้นอยู่กับจำนวนผู้ติดตาม
และยังมีผลสำรวจเกี่ยวกับอาชีพในฝันของเด็กรุ่นใหม่24 ในปี 2567 พบว่า อาชีพ Influencer Streamer และ Youtuber เป็นอาชีพในฝันอันดับที่ 4 สูงกว่าทนายความ นักบิน และข้าราชการ