svasdssvasds

หลังเที่ยงคืน!! รอชม “ดาวหางจี-แซด” โคจรใกล้โลกมากที่สุดคืนนี้

หลังเที่ยงคืน!! รอชม “ดาวหางจี-แซด” โคจรใกล้โลกมากที่สุดคืนนี้

ติดตามข่าวสารได้ที่ https://www.springnews.co.th

นายศุภฤกษ์ คฤหานนท์ หัวหน้างานบริการวิชาการทางดาราศาสตร์ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ องค์การมหาชน เปิดเผยว่า ในวันที่ 10-11 กันยายน ดาวหางจี-แซด (21P/Giacobini-Zinner หรือ G-Z) จะโคจรเข้าใกล้โลกมากที่สุด และยังเป็นช่วงที่ดาวหางดวงนี้เข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุดอีกด้วย ซึ่งสามารถสังเกตได้ตั้งแต่หลังเที่ยงคืนของวันที่ 10 ก.ย. หรือเวลาประมาณ 00.15 น. ของวันที่ 11 ก.ย. ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ บริเวณกลุ่มดาวสารถี

คาดว่าจะมีค่าความสว่างปรากฏสูงสุดประมาณ 7 (ความสว่างปรากฏของวัตถุท้องฟ้าที่มนุษย์สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า มีค่าประมาณ 6) ไม่สามารถเห็นได้ด้วยตาเปล่า หากใช้กล้องสองตาและกล้องโทรทรรศน์ขนาดเล็ก กำลังขยายตั้งแต่ 7 เท่าขึ้นไป จะเห็นดาวหางดวงนี้ได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ในคืนดังกล่าวไม่มีแสงจันทร์รบกวน สามารถสังเกตการณ์ได้จนถึงรุ่งเช้า หลังจากนั้น ในช่วงหลังเที่ยงคืนของวันที่ 15 กันยายน 2561 เวลาประมาณ 0:30 น. เป็นต้นไป ดาวหางจี-แซด จะเคลื่อนเข้าใกล้กระจุกดาวเปิด M35 สามารถสังเกตการณ์ได้จนถึงรุ่งเช้าเช่นเดียวกัน

สำหรับดาวหางจี-แซด (21P/Giacobini-Zinner หรือ G-Z) เป็นดาวหางคาบสั้น มีคาบการโคจรประมาณ 6.5 ปี ครั้งล่าสุดโคจรมาใกล้โลกเมื่อปี 2555 และจะโคจรจรเข้าใกล้โลกอีกครั้งในปี 2568 แต่อาจมีความสว่างปรากฏลดลง เนื่องจากสูญเสียมวลสารจากการระเหิดเมื่อได้รับรังสีจากดวงอาทิตย์จนมีขนาดเล็กลงเรื่อยๆ

ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก FB : สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ Fan Page

related