svasdssvasds

ใครฆ่าประเสริฐ! กฎหมายบางๆ ในไทยกับ "เลือดข้นคนจาง"

ใครฆ่าประเสริฐ! กฎหมายบางๆ ในไทยกับ "เลือดข้นคนจาง"

ชาวเน็ตชำแหละพินัยกรรมอากงในละคร "เลือดข้นคนจาง" ตามกฎหมายไทย หากภัสสรฆ่าประเสริฐยังไงก็ไม่มีทางได้สมบัติของเฮียตัวเอง แล้วใครกันฆ่าประเสริฐ?

จากกระแสละครฮิตที่เริ่มจะเข้มข้นขึ้นเรื่อยๆ สำหรับ เลือดข้นคนจาง ที่โลกโซเชียลต่างวิเคราะห์เจาะลึกว่าใครคือฆาตกรที่ฆ่าประเสริฐ แต่ก็ได้เพียงคาดเดา เพราะตัวละครแต่ละตัวต่างมีเหตุจูงใจในการกระทำ และยิ่งละครออนแอร์ก็ยิ่งเปิดเผยความลับของแต่ละตัวละครเรื่อยๆ

โดยผู้ใช้เฟซบุ๊ก Watcharaphon Kupraditz ได้โพสต์ข้อกฎหมายเกี่ยวกับการแบ่งมรดก ทั้งของอากง และของประเสริฐ ว่าในตระกูลจิระอนันต์ ใครเป็นผู้ที่สมควรได้ตามกฎหมายอย่างถูกต้อง โดยระบุว่า

ใครฆ่าประเสริฐ! กฎหมายบางๆ ในไทยกับ "เลือดข้นคนจาง"

อากง

อากงตายครับเป็นการตายโดยธรรมชาติ ซึ่งถือเกณฑ์สมองตาย ทรัพย์สิน หนี้สิน(มรดก)ของอากงทั้งหมดที่อากงมีอยู่ก่อนหรือขณะตาย ตกทอดแก่ทายาทตามปพพ.1599 อากงทำพินัยกรรมไว้ ในละครไม่ปรากฎว่าพินัยกรรมประเภทใด แต่ถือว่ามีแล้วกัน มรดกของอากงย่อมตกแก่ผู้รับพินัยกรรม ซึ่งถือเป็นทายาทเช่นเดียวกัน

ประเด็นที่ 1 อากงมีหุ้นในบริษัท 100% ไม่ได้ ? ในเรื่องนี้เป็นเรื่องของบริษัทจำกัด บริษัทเป็นสัญญาร่วมกันลงทุนเพื่อหากำไร ตามกฎหมายไทยบริษัทจะต้องมีผู้ถือหุ้นอย่างน้อย 3 คน ขึ้นไป อากงจึงมีหุ้นเพียงคนเดียว 100% ไม่ได้ แต่ในที่นี้เข้าใจว่าละครพยายามทำให้เข้าใจในเรื่องของการแบ่งทรัพย์ให้เข้าใจง่ายๆเท่านั้น ตามปพพ.ม.1012,1096,1097,1100

ประเด็นที่ 2 หุ้นทั้ง 100% ของอากง ถ้าอากงจดทะเบียนสมรสกับอาม่า หุ้น100% ดังกล่าวจะเป็นทรัพย์สินที่อากงได้มาระหว่างสมรส ถือเป็นสินสมรสอาม่ามีสิทธิกึ่งหนึ่ง ดังนั้น ทรัพย์ที่เป็นของอากงจริงๆจึงมีแค่ 50% เท่านั้น ตามม.1474 (1) เมื่ออากง ตายการสมรสย่อมสิ้นสุดทันที ตามม.1501 ต้องแบ่งทรัพย์สินเป็นของอาม่า 50% อากง 50% ตามม.1625 (1) มรดกของอากงจึงมีหุ้นเพียงแค่ 50% เท่านั้น ที่ต้องตกทอดแก่ทายาท

ประเด็นที่ 3 จากประเด็นที่ 2 เมื่อทรัพย์สินจริงๆมีเพียง 50% อากงย่อมไม่สามารถทำพินัยกรรมยกทรัพย์มรดกส่วน 50% ของอาม่าให้บุคคลอื่นได้ ตามม.1481 เมื่อทำพินัยกรรมทุกส่วนย่อมไม่ผูกพันส่วนของอาม่า อาม่าติดตามเอาคืนได้(ฎ.3544/2542) แต่ทั้งนี้เพื่อให้ง่าย ละครอาจดำเนินเรื่องเป็นนัยแฝงไว้ได้ 2 ประการ

1.อากง อาม่า ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน

2.หุ้น 100% บ้าน และเงิน 200 ล้าน ของอากง ได้มาก่อนสมรส

พินัยกรรมอีกฉบับของอากง

ตอนที่ก๋วยเตี๋ยวกับเมธ ไปจัดห้องของอากง ลิ้นชักอากงมีหนังสือสีแดง 3 เล่ม 2 เล่มแรก เป็นการวาดรูปซึ่งเป็นงานอดิเรกของอากง แต่เล่มที่ 3 ยังเป็นปริศนา หากหนังสือเล่มดังกล่าวเป็นพินัยกรรมอีกฉบับหนึ่งของอากง ต้องดูว่าวันที่ทำพินัยกรรม พินัยกรรมใดเป็นพินัยกรรมที่ทำขึ้นหลัง หากพินัยกรรมก่อนและพินัยกรรมหลังข้อความขัดกัน จะต้องใช้พินัยกรรมฉบับหลัง พินัยกรรมก่อนจะถูกเพิกถอนไปทันที ตามม.1697

ใครฆ่าประเสริฐ! กฎหมายบางๆ ในไทยกับ "เลือดข้นคนจาง"

ประเสริฐ

ประเสริฐเป็นบุตรของอากง (ขอสรุปว่าเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย) มีสิทธิรับมรดกของอากง แต่เมื่ออากงทำพินัยกรรมแล้ว ทรัพย์มรดกย่อมตกแก่ผู้รับพินัยกรรม หุ้นจำนวน 25% หรือ 750 ล้านบาท เป็นของนายประเสริฐในฐานะผู้รับพินัยกรรม และเป็นสินส่วนตัวของประเสริฐไม่เป็นสินสมรส ตามม.1471 (3) แล้วตาย

ประเด็นที่ 1 คริสเป็นอะไร ?

ถ้าคริสไม่ได้จดทะเบียนสมรสกับประเสริฐ

1.1 ถ้าคริสไม่ได้จดทะเบียนสมรส คริสก็ไม่เป็นภริยาที่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่มีสิทธิได้รับมรดกของประเสริฐ ม.1629 วรรคสอง และ 1635 ส่งผลถึงลูกคือ พีท ก็ไม่เป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของประเสริฐตามม.1536 ประเสริฐไม่มีหน้าที่ต้องอุปการะเลี้ยงดูตามม.1564 แต่การที่แสดงออกว่าเป็นลูก พีท ก็เป็นบุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองตามม.1627 อยู่ในฐานะผู้สืบสันดาน สามารถรับมรดกของประเสริฐได้

1.2 ส่วนนิภา เมื่อจดทะเบียนสมรสกับประเสริฐ จะเป็นภริยาที่ชอบด้วยกฎหมายของประเสริฐ มีสิทธิรับมรดกของประเสริฐตามม.1629 วรรคสอง และ 1635 ทันที ฉี จากที่ไม่เป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย จะถูกยกฐานะจากบุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองตามม.1627 กลายเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของประเสริฐทันที ตามม.1547

ถ้าคริสจดทะเบียนสมรสกับประเสริฐ

2.1 ถ้าคริสจดทะเบียนสมรส คริสจะเป็นภริยาที่ชอบด้วยกฎหมายมีสิทธิรับมรดก พีทจะเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายมีสิทธิรับมรดกประเสริฐ

2.2การสมรสระหว่างประเสริฐกับนิภา จะเป็นการสมรสซ้อนตามม.1452 ตกเป็นโมฆะตามม.1495 ฉี ไม่เป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของประเสริฐ เพราะฉีไม่เกิดระหว่างการสมรสซ้อน แต่เกิดก่อนการสมรสซ้อน ตามม.1538 ฉี เป็นบุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองตามม.1627 มีสิทธิรับมรดกของประเสริฐ

ปรากฎว่าประเสริฐ หย่ากับคริสมา 24 ปีแล้ว ซึ่งมากว่าอายุของพีท แสดงว่าหย่ากันก่อนพีทเกิด พีทจึงไม่ใช่บุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของประเสริฐตามข้อ 1.1 ส่วนฝั่งนิภาจะเป็นไปตามข้อ 1.2 เว้นแต่ พีทเกิดภายใน310 วันนับแต่หย่าก็จะเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย แต่ผลในการรับมรดกของประเสริฐก็ไม่ต่างกัน

ใครฆ่าประเสริฐ! กฎหมายบางๆ ในไทยกับ "เลือดข้นคนจาง"

ใครฆ่าประเสริฐ! กฎหมายบางๆ ในไทยกับ "เลือดข้นคนจาง"

ประเด็นที่ 2 ถ้าประเสริฐถูกฆาตกรรม

1.คริส จ้างวานฆ่า ถ้าคริสจดทะเบียนสมรสก่อน คริสจะถูกกำจัดมิให้รับมรดกเมื่อศาลพิพากษาถึงที่สุดว่าฆ่าประเสริฐ ตามม.1606 (1) แต่การถูกกำจัดมิให้รับมรดกดังกล่าวเป็นการถูกกำจัดมิให้รับมรดกหลังประเสริฐตาย พีท เข้าสืบมรดกต่อไปตามม.1607

2.นิภา จ้างวานฆ่า ถ้าประเสริฐไม่เคยจดทะเบียนสมรสมาก่อนหรือหย่ามาแล้ว นิภาจะถูกกำจัดมิให้รับมรดกเมื่อศาลพิพากษาถึงที่สุดว่าฆ่าประเสริฐ ตามม.1606 (1) แต่การถูกกำจัดมิให้รับมรดกดังกล่าวเป็นการถูกกำจัดมิให้รับมรดกหลังประเสริฐตาย ฉี เข้าสืบมรดกต่อไปตามม.1607

3.ภัสสร ภัสสรไม่มีสิทธิรับมรดกของประเสริฐอยู่แล้ว การฆ่าประเสริฐจึงเป็นเพียงความผิดอาญา รวมถึง เต้ย เมธ กรกันต์ และคนอื่นๆด้วย

ใครฆ่าประเสริฐ! กฎหมายบางๆ ในไทยกับ "เลือดข้นคนจาง"

ใครฆ่าประเสริฐ! กฎหมายบางๆ ในไทยกับ "เลือดข้นคนจาง"

เมธ

เมธเป็นผู้มีสิทธิรับมรดกในฐานะผู้รับพินัยกรรมของอากง หุ้น 25%

ใครฆ่าประเสริฐ! กฎหมายบางๆ ในไทยกับ "เลือดข้นคนจาง"

ภัสสร

ภัสสรเป็นผู้รับพินัยกรรมในเงิน 200 ล้านบาท แต่หากไม่มีพินัยกรรมดังกล่าว ภัสสร ยังเป็นบุตรของอากง อยู่ในฐานะเช่นเดียวกับประเสริฐ เมธ ก๋วยเตี๋ยว และกรกันต์ ทุกประการ

มนฤดี

มนฤดี เป็นบุตรของอากง ได้ถึงแก่ความตายไปก่อนอากง หากไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้ถือว่าเป็นทายาทที่มีสิทธิรับมรดกของอากง แต่ถึงแก่ความตายก่อนอากง ก๋วยเตี๋ยวบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย จะเป็นทายาทสืบสายโลหิตโดยตรง มีสิทธิรับมรดกแทนที่ มนฤดี ตามม.1639 และ 1643 แต่เมื่ออากงทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินทรัพย์กระจายออกไปแล้ว ไม่เหลือทรัพย์มรดกแล้ว ก๋วยเตี๋ยวจะถูกตัดมิให้รับมรดกทันทีตามม.1608 วรรคสอง

ใครฆ่าประเสริฐ! กฎหมายบางๆ ในไทยกับ "เลือดข้นคนจาง"

กรณ์กันต์

กรณ์กันต์เป็นผู้มีสิทธิรับมรดกในฐานะผู้รับพินัยกรรม หุ้น 25% ประเด็นสำคัญคือ เวกัส บุตรของกรณ์กันต์ เป็นบุตรบุญธรรมของเมธ อำนาจในการปกครองเวกัส จึงอยู่กับเมธเท่านั้น เวกัส มีสิทธิรับมรดกของเมธ และในขณะเดียวกันก็ไม่สูญสิ้นสิทธิในการรับมรดกของกรกันต์ และน้ำผึ้ง ตามม.1598/28 แต่เมธไม่มีสิทธิรับมรดกของ เวกัส ม.1598/29

ใครฆ่าประเสริฐ! กฎหมายบางๆ ในไทยกับ "เลือดข้นคนจาง"

ใครมีอำนาจจัดการศพและตั้งผู้จัดการมรดกของอากง

ตามละคร ในพินัยกรรมไม่ได้ระบุตัวผู้จัดการมรดกไว้ ทายาทที่มีสิทธิรับมรดกมีสิทธิตั้งตนเป็นผู้จัดการมรดกได้ ในกรณีนี้คือ 1.อาม่า 2.ประเสริฐ 3.เมธ 4.กรกันต์ 5.พีท 6.ภัสสร ส่วนก๋วยเตี๋ยวถือว่าถูกตัดมิให้รับมรดกแล้วไม่เป็นทายาทที่มีสิทธิรับมรดกที่จะยื่นคำร้องขอตั้งผู้จัดการมรดกอีกต่อไป ตามม.1713

ส่วนผู้มีอำนาจจัดการศพหากทายาทมิได้มอบหมายให้ผู้ใดจัดการศพ คนที่มีอำนาจจัดการศพคือคนที่ได้รับทรัพย์มรดกจำนวนมากที่สุด กรณีนี้คนที่ได้มากที่สุดมี 4 คน คือ 1.ประเสริฐ 2.เมธ 3.กรกันต์ 4.พีท อาม่าไม่ใช่คนที่มีสิทธิจัดการศพ

ถ้าอากงไม่ได้ทำพินัยกรรม

มรดกคือ 1.บ้าน 2.เงิน 200ล้าน 3.หุ้น 100% และหากจดทะเบียนสมรสกับอาม่า และทรัพย์ทั้งหมดได้มาระหว่างสมรส เป็นสินสมรสต้องแบ่งให้อาม่าก่อนกึ่งหนึ่ง จะเหลือ 1.บ้านกึ่งหนึ่ง 2.เงิน100ล้าน 3.หุ้น 50% ส่วนที่เหลือต้องเอามา หาร 6 ทายาทที่มีสิทธิรับมรดกของอากง คือ 1.ประเสริฐ 2.เมธ 3.ภัสสร 4.ก๋วยเตี๋ยว 5.กรกันต์ 6.อาม่า

ขอบคุณภาพจาก Nadao Series และ Rinrada

related