svasdssvasds

สาวป่วยมะเร็ง ออกแบบชีวิตในวาระสุดท้าย ให้เป็นความตายที่งดงาม

สาวป่วยมะเร็ง ออกแบบชีวิตในวาระสุดท้าย ให้เป็นความตายที่งดงาม

ติดตามข่าวสารwได้ที่ https://www.springnews.co.th

เป็นอีกเรื่องราวที่ทั้งสวยงามและกินใจ รวมถึงให้แง่คิดอะไรหลายๆ อย่างกับผู้ที่เข้ามาอ่านได้อย่างดี เมื่อเฟซบุ๊กเพจ แม่บ้านแคชเมียร์ เล่าเรื่องราวของ พี่กันย์ รสวรรณ ม่วงมิ่งสุข หญิงสาวที่ป่วยเป็นมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ แต่เธอนั้นได้เปลี่ยนความคิดเข้าหาทางธรรม และใช้ชีวิตตามความฝันที่อยากทำ ออกแบบชีวิตของตัวเองในวาระสุดท้าย และออกแบบความตายได้อยากสวยงาม ก่อนเสียชีวิตอย่างสงบ

โดยระบุว่า #ความตายที่งดงาม บทเรียนของการจากไปของพี่กันย์ รสวรรณ ม่วงมิ่งสุขผู้หญิงในภาพนี้ชื่อ "พี่กันย์" ค่ะ เป็นรุ่นพี่ที่มหาลัยของเราเอง เป็นผู้กำกับคนแรกที่ทำงานด้วย (ตอนนั้นเก็บสาขาวิชาการละคร) พี่กันต์เป็นผู้หญิงที่สวย มั่นใจ เป็นเด็กAFSด้วย มั่นแค่ไหนล่ะ ก็แค่เป็นประธานชั้นปี เป็นผู้หญิงตัดสกินเฮดเมื่อ 18-19 ปีก่อน ซึ่งขัดกับภาพลักษณ์สาวอักษรที่ต้องดูสวยๆ หวานๆ อิอิ

สาวป่วยมะเร็ง ออกแบบชีวิตในวาระสุดท้าย ให้เป็นความตายที่งดงาม

ชีวิตพี่เขาสมบูรณ์แบบมากนะ ทั้งสวยและรวยมาก ในสมัยที่ทับแก้วยังเต็มไปด้วยจักรยาน พี่เขามีรถขับมาเรียนแล้วอ่ะคิดดู เมื่อประมาณ 6-7 ปีก่อน พี่กันย์มีอาการฉี่เป็นเลือด หามาหลายหมอก็ยังหาสาเหตุไม่ได้ สุดท้ายมาตรวจเจอกับหมอคนที่ห้า พบว่าเป็น "มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ ระยะที่ 4" ครั้งแรกที่พี่แกรู้ว่าตัวเองเป็นนี่เหมือนโลกถล่มทลาย เรายังจำความเกรี้ยวกราดบนโซเชียลของพี่กันย์ได้ดี ตอนผ่าตัดครั้งแรกแผลใหญ่มาก นางวีนวี้ดบึ้มลงเฟซเลย 555555

จนเมื่อพี่เขาได้เข้ามาทางธรรมะ พี่กันย์ค่อยๆ เปลี่ยนไป ผ่านคีโมและการผ่าตัดอีกหลายครั้ง ครั้งท้ายสุดต้องทำทวารเทียม คือต้องต่อท่อปัสสาวะออกมาที่หน้าท้อง คือมีอวัยวะที่ 33 คือถุงฉี่นั่นเอง เราเห็นพัฒนาการตั้งแต่พี่เขาเป็นแรกๆ ได้เจอครั้งสุดท้ายเมื่อปี 2557 พี่เขาก็ยังน่ารักเหมือนเดิม แต่ที่ต่างไปคือพี่เขานิ่งมาก เล่าทุกอย่างด้วยดวงตาวิบวับมีประกายแห่งความสุข (แต่ตอนนั้นเจอก่อนที่เขาจะเริ่มทราบว่ามะเร็งมันกระจายไปทั่วแล้ว)

สาวป่วยมะเร็ง ออกแบบชีวิตในวาระสุดท้าย ให้เป็นความตายที่งดงาม

พี่กันย์ได้ไปเที่ยวญี่ปุ่นตามความฝัน ไปปฏิบัติธรรม เข้าคอร์สเตรียมตัวตาย จนภายหลังเชี่ยวชาญจนได้เป็นวิทยากรเลย อิอิ ภาพ Pre-wedding ในรูปนี้ พี่เขาถ่ายกับเพื่อนๆ และน้องๆ ใช่ค่ะ พรีเว็ดแบบที่ไม่มีเจ้าบ่าว ได้ทำตามความฝันแต่งชุดสวยๆ ถ่ายรูปกับคนที่รัก คือเพื่อนและรุ่นน้องอีก 5 คน วันนั้นทุกคนแต่งหน้ากันน้อยมาก เพราะต้องการให้พี่กันย์ดูสวยที่สุด

อาการของโรคก็ดำเนินมาจนถึงขั้นยุติการรักษา เหลือเพียงการรักษาแบบประคับประคอง(Palliative care) คือถ้าปวดก็ให้ยาแก้ปวด ท้องผูกก็สวน เหนื่อยมากก็เติมเลือด ปล่อยให้เป็นไปตามเวลาและอาการของโรคแบบเจ็บปวดน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ พี่กันย์ได้เขียนพินัยกรรมชีวิตไว้ตั้งแต่สองปีก่อนที่จะเสีย ฝากไว้ที่พี่ชายเขาและเพื่อน ว่าไม่ประสงค์จะยื้อความตาย ออกแบบงานศพตัวเอง จัดการทรัพย์สินและสิ่งของส่วนตัวต่างๆ เงินทำบุญงานศพว่าจะแบ่งไปทำบุญที่ไหนบ้าง

สาวป่วยมะเร็ง ออกแบบชีวิตในวาระสุดท้าย ให้เป็นความตายที่งดงาม

และที่เกร๋กว่านั้นคือ บอกว่างานศพห้ามใส่สีดำ ใส่สีอะไรก็ได้ สีขาวก็ได้เพราะมันคืองานบุญ รูปวางหน้าศพก็รูปที่สวยที่สุด ที่พี่เขาเลือกเอง ก่อนเสียไม่นาน เพื่อนๆ จัดงานวันเกิดให้ มีเซอร์ไพรส์คือ พี่หมิว ลลิตา ปัญโญภาส ดาราที่พี่กันย์ชอบมาก วิดีโอคอลมาอวยพรวันเกิดด้วย เราได้ดูวิดิโอนี่น้ำตาไหลพรากเลยแหล่ะ emotional สุดๆหลังจากนั้นอาการของโรคก็ดำเนินมาเรื่อยๆ เริ่มทานไม่ลง สุดท้ายก็จากไปอย่างสงบ ได้รับการดูแลอย่างประคับประคองจนถึงวาระสุดท้ายของชีวิต และไม่มีการยื้อการตายเกิดขึ้น

ก่อนพี่กันย์เสียไม่นานพี่กิ๊ พี่ชายของพี่กันย์ถามว่า "พร้อมมั้ย" พี่กันย์ยิ้มแล้วก็ตอบว่า "สักที" โมเม้นท์ที่เราคนนอกได้แต่น้ำตาเอ่อ ปล.พี่กันย์ จากไปสามปีกว่าแล้วค่ะ แต่หนูก็ยังระลึกถึงพี่เสมอ พี่เขามีเพจนะ ถึงตอนนี้ไม่มีใครอัพแล้ว แต่ไปอ่านกันได้ เขียนละเอียดในเรื่องของการรักษา ชื่อเพจ มะเร็งพลิกชีวิต ขอบคุณภาพประกอบสวยๆ ด้วยค่า ช่างภาพ: Naroot Jiamsomboon

สาวป่วยมะเร็ง ออกแบบชีวิตในวาระสุดท้าย ให้เป็นความตายที่งดงาม

การุณยฆาต หรือ Euthanasia หรือเรียกให้ง่ายไปอีกก็คือ Mercy killing(active) หรือ Letting die(passive) หัวข้อ Euthanasia เป็นหัวข้อที่สามีเราใช้เขียนวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกเมื่อสิบกว่าปีก่อน จำได้เลยว่าตอนที่เอาเล่มไปให้อาจารย์ชาวอเมริกันตรวจทานภาษา อาจารย์คนนั้นพูดขึ้นมาว่า คนเขียนไม่ใช่คนไทยแน่เลย เพราะในสมัยนั้นคนไทยถ้าไม่ใช่บุคลากรทางการแพทย์ก็แทบไม่รู้จักเรื่องนี้เลย ที่สำคัญรู้สึกว่ามันไกลตัวมากในเวลานั้น จำได้แค่มี Active กับ Passive เคยช่วยสามีพิมพ์ก็เออ น่าสนใจดีนะ ซึ่ง passive ทำกันมานานแล้ว แต่ active ยังผิดกฎหมาย

ซึ่งทุกคนคงได้อ่านเรื่องของคุณก๊อป ที่ทำแบบ Active Euthanasia ที่ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ไปแล้ว เลยเล่าเรื่อง Palliative care ที่ตอนแรกเราเข้าใจผิดในตอนแรกว่าคือ Passive Euthanasia ค่ะ ซึ่งคุณหมออิศรางค์ นุชประยูร ที่ได้ร่วมรักษาพี่กันย์ ได้เข้ามาให้ความรู้เพิ่มเติมว่า ในกรณีของพี่กันย์นั้นควรเรียกว่า Palliative care จะถูกต้องที่สุด

สาวป่วยมะเร็ง ออกแบบชีวิตในวาระสุดท้าย ให้เป็นความตายที่งดงาม

Active Euthanasia คือการใช้เทคโนโลยีทางการแพทย์ช่วยฆ่า Passive Euthanasia คือ ตั้งใจหยุดเทคโนโลยีช่วยชีวิต เพื่อตั้งใจฆ่าให้ตาย ส่วนกรณีของพี่กันย์นั้น คือ Palliative care เป็นการอนุญาตให้ตายเองตามธรรมชาติ โดยไม่แทรกแซงด้วยเทคโนโลยี จึงไม่เป็นการฆ่า ภาษาหมอจะเรียกว่า Withdrawal of treatment จึงไม่ควรเรียกว่า Euthanasia

อนึ่งคำว่า Passive Euthanasia นั้นเป็นคำที่ค่อนข้างสร้างความสับสนได้ เช่น ถ้าผู้ป่วยต้องใช้เครื่องหายใจเพื่อพยุงรักษาชีวิต ถ้าปิดเครื่องเพื่อเจตนาเพื่อให้ตายหนีจากความทุกข์ก็จะถือว่าเป็น Passive Euthanasia แต่ถ้าเป็นถ้าเจตนาดึงเครื่องออกเพื่อปลดทุกข์ ก็จะไม่ถือเป็น Passive Euthanasia ค่ะ สรุปว่าการกระทำแบบเดียวกัน ผลเหมือนกัน แต่ต่างกันที่เจตนาก็ต้องเรียกต่างกันค่ะ

สาวป่วยมะเร็ง ออกแบบชีวิตในวาระสุดท้าย ให้เป็นความตายที่งดงาม

สาวป่วยมะเร็ง ออกแบบชีวิตในวาระสุดท้าย ให้เป็นความตายที่งดงาม

สาวป่วยมะเร็ง ออกแบบชีวิตในวาระสุดท้าย ให้เป็นความตายที่งดงาม

สาวป่วยมะเร็ง ออกแบบชีวิตในวาระสุดท้าย ให้เป็นความตายที่งดงาม สาวป่วยมะเร็ง ออกแบบชีวิตในวาระสุดท้าย ให้เป็นความตายที่งดงาม สาวป่วยมะเร็ง ออกแบบชีวิตในวาระสุดท้าย ให้เป็นความตายที่งดงาม

related