svasdssvasds

ค่าฝุ่น PM2.5 พุ่งทำสาธารณสุขเร่งตรวจผลกระทบประชาชนด่วน

ค่าฝุ่น PM2.5 พุ่งทำสาธารณสุขเร่งตรวจผลกระทบประชาชนด่วน

ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เร่งสั่งหน่วยงานในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขรุดตรวจสอบผลกระทบสุขภาพประชาชนหลังค่าฝุ่น PM2.5 พุ่งจนน่าวิตก

ค่าฝุ่น PM2.5 พุ่งทำสาธารณสุขเร่งตรวจผลกระทบประชาชนด่วน

นายแพทย์เกีรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวถึงสถานการณ์ค่าฝุ่น PM2.5 พุ่งสูงในระดับอันตรายเกิน 50 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ซึ่งอาจกระทบต่อสุขภาพประชาชน โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยงเช่น เด็ก ผู้สูงอายุ ผู้ตั้งครรภ์ ว่าขอให้ประชาชนติดตามการอัพเดตสถานการณ์ได้จาก เพจคนรักอนามัย ใส่ใจอากาศ PM 2.5 และแอปพลิเคชัน Air4Thai ตลอดเวลา

ทั้งนี้เพื่อให้สามารถปฏิบัติตัว และทำกิจกรรมได้เป็นปกติ ซึ่งหากพื้นที่ใดเป็นสีส้ม หรือมีความเสี่ยงสูงจาก PM2.5 ก็ขอให้ประชาชนลดการทำกิจกรรมกลางแจ้ง อีกทั้งขอให้มีการสวมหน้ากากอนามัยเอาไว้ ซึ่งก็เป็นไปตามมาตรการป้องกัน โควิด-19 เดิมอยู่แล้ว นอกจากนี้หากเกิดการระคายเคืองตามผิวหนัง เกิดผื่นคัน ขอให้ประชาชนล้างด้วยน้ำสะอาด อย่าขยี้ ถู ซึ่งอาจเกิดแผล และลุกลามเป็นการติดเชื้อได้
 

“ค่าฝุ่น PM 2.5 ของแต่ละพื้นที่ไม่ได้เท่ากันตลอดทั้งวัน บางช่วงค่าฝุ่นอาจสูงขึ้น บางช่วงค่าฝุ่นอาจลดลงจนเป็นปกติ ดังนั้น จึงต้องตรวจสอบค่าฝุ่น PM 2.5 ก่อนทำกิจกรรมภายนอกบ้าน รวมถึงค่าฝุ่น PM 2.5 ของพื้นที่ที่จะเดินทางไปด้วย เพื่อวางแผนการดำเนินชีวิตได้อย่างเหมาะสม ลดผลกระทบสุขภาพ อย่างไรก็ตาม หากมีอาการผิดปกติ เช่น ไอบ่อย หายใจลําบาก หายใจถี่ หายใจไม่ออก หายใจมีเสียงวีด แน่นหน้าอก เจ็บหน้าอก ใจสั่น คลื่นไส้ เมื่อยล้าผิดปกติ หรือวิงเวียนศีรษะ ให้รีบไปพบแพทย์” นพ.เกียรติภูมิ กล่าว

 

กทม.พบ ฝุ่น PM 2.5 เกินค่ามาตรฐาน 26 พื้นที่ แนะสวมหน้ากากอนามัย

กทม. เตรียมออกมาตรการ ห้ามรถบรรทุกวิ่งเข้าพื้นที่ กทม. ลดฝุ่น PM 2.5

ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวอีกว่า ล่าสุดได้มีการสั่งการไปเมื่อ 4 ธันวาคม ที่ผ่านมานี้ให้สำนักงานสาธารณสุขทุกแห่ง สอดส่อง ดูแล ผลกระทบต่อสุขภาพประชาชนที่เกิดจากฝุ่น PM2.5 นี้พร้อมสร้างหลักการ 7 ข้อ

1.เฝ้าระวังแจ้งเตือนสถานการณ์ สื่อสารข้อมูลผลกระทบและการปฏิบัติตนแก่ประชาชน 
2.สำรวจและจัดทำทะเบียนกลุ่มเสี่ยงจากฝุ่น PM 2.5 โดยให้ทีมหมอประจำตัว (3 หมอ) ลงพื้นที่ให้ความรู้คำแนะนำการป้องกันตัวและดูแลสุขภาพ โดยเฉพาะ 4 กลุ่มเสี่ยง ได้แก่ ผู้ป่วยโรคหอบหืด ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดเตียงและเด็กเล็ก ให้โรงพยาบาลเปิดคลินิกมลพิษเพื่อให้คำปรึกษาและรักษา สนับสนุนอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล จัดเตรียมห้องปลอดฝุ่นในสถานบริการสาธารณสุข และสนับสนุนให้โรงเรียน ศูนย์เด็กเล็ก สถานดูแลผู้สูงอายุ บ้านเรือนประชาชน จัดเตรียมห้องปลอดฝุ่น 
3.เตรียมความพร้อมเปิดศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุขในทุกระดับ ทั้งจังหวัด เขตสุขภาพ กรม และกระทรวง เพื่อติดตามสถานการณ์และยกระดับการปฏิบัติการ หากสถานการณ์มีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้น 
4.เฝ้าระวังการเจ็บป่วยใน 4 กลุ่มโรค ได้แก่ โรคระบบทางเดินหายใจ ระบบหัวใจและหลอดเลือด ระบบผิวหนัง และระบบตา โดยรายงานผู้ป่วยที่มารับการรักษาอย่างต่อเนื่อง หากมีเหตุการณ์ผู้ป่วยโรคหัวใจและโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง เข้ารักษาในห้องฉุกเฉินมากกว่าปกติให้รายงานทันที 
5.รายงานสถานการณ์ทุกสัปดาห์ตลอดช่วงเวลาเฝ้าระวัง กรณีสถานการณ์วิกฤต (สีแดง) ให้รายงานทุกวัน 
6.จัดทำหน่วยงานสาธารณสุขต้นแบบองค์กรลดฝุ่นละออง และ 
7.บูรณาการกับหน่วยงานในพื้นที่เพื่อดูแลสุขภาพประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพ

related