svasdssvasds

How to ทำงานจากบ้าน พร้อมเลี้ยงลูกไปด้วย แบบไม่เสียสติ

How to ทำงานจากบ้าน พร้อมเลี้ยงลูกไปด้วย แบบไม่เสียสติ

ช่วงนี้ การทำงานจากบ้าน เป็นความท้าทายของบริษัทต่างๆ ที่จะบริหารให้ทุกอย่างดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพใกล้เคียงเหตุการณ์ปกติมากที่สุด แต่สำหรับคนที่ ทำงานจากบ้าน และเลี้ยงลูก ไปด้วย ก็เป็นความท้าทายอีกแบบ

การรับมือ ทำงานจากบ้าน พร้อมกับเลี้ยงลูก ไปด้วยในเวลาเดียวกัน อาจกลายเป้นความท้าทายครั้งใหญ่ของใครหลายคน โดยเฉพาะลูกที่อยู่วัยแสนซน กำลังดื้อ และยังไม่โตพอที่จะเข้าใจสถานการณ์การระบาดของ โควิด 19 ที่กำลังสร้างผลกระทบทั่วโลกขณะนี้

สภาเศรษฐกิจโลกมีคำแนะนำสำหรับมนุษย์ทำงานทั้งหลายที่ต้อง เลี้ยงลูก อยู่บ้านไปด้วย ว่าจะทำอย่างไรเพื่อหาสมดุล และไม่เสียสติเสียก่อน

1. พูดคุยเรื่องคุณค่าและค่านิยม

ช่วงเวลาแบบนี้ เป็นโอกาสดีที่จะได้นั่งคุยกับลูกเรื่องคุณค่าของครอบครัว บทสนทนาที่ลึกขึ้น ว่าอะไรที่สำคัญที่สุดสำหรับเรา ในที่ทำงาน นี่เป็นการพูดถึงค่านิยมขององค์กรและการตัดสินใจทิ้ง ระยะห่างทางสังคม หรือวิธีการ ทำงานจากบ้าน และคุณสามารถใช้โอกาสนี้เป็นการเปิดใจ คุยกับสมาชิกครอบครัวที่ถือเป็นกลุ่มเสี่ยง และความเปลี่ยนแปลงในการดูแลบุตรหลาน

การพูดคุยถึงคุณค่าในชีวิต เป็นการสร้างภาวะผู้นำด้วย คุณอาจถามเด็กๆ ถึงคุณค่าของสิ่งที่เขาคิดว่าสำคัญต่อครอบครัว และตัวเขาเอง และจะแสดงออกมาได้อย่างไร คุยเรื่องการรักษาระยะห่างทางสังคม ซึ่งอาจยากขึ้นมาบ้าง สำหรับเด็กเล็ก นี่เป็นโอกาสที่จะสอนเด็กๆ ให้เปลี่ยนคุณค่าเป็นการกระทำ เด็กๆ อาจจะมีไอเดียดีๆ ก็ได้

2. สร้างความเข้าใจให้ตรงกัน

เราต้องตัดสินใจอย่างรวดเร็วเพื่อปรับเปลี่ยนให้เข้ากับความเป็นจริงของสถานการณ์ เราพึ่งพาความคิดของเราเองว่าคนอื่นคาดหวังอะไรจากเราบ้าง และเราก็อาจไม่ได้สื่อสารอย่างเต็มที่ว่าเราคาดหวังอะไรจากเขา และแน่นอน เราไม่เคยตกอยู่ในสถานการณ์เหมือนตอนนี้มาก่อน ดังนั้น เป็นไปได้ที่หลายคนอาจเข้าใจอะไรผิดๆ

นี่เป็นเวลาเพื่อความชัดเจน อธิบายว่าคุณต้องการอะไรจากคู่ของคุณในการดูแลลูก และตอบคำถามอีกฝ่ายให้ชัดเจน เพราะคุณจะทำอะไรหลายอย่างเหมือนที่เคยทำมาไม่ได้ ตั้งคำถามกับตัวเองด้วย เพื่อที่จะได้สร้างความเข้าใจให้ตรงกัน

3. ยอมปล่อยผ่านความไม่สมบูรณ์แบบ

ถ้าคุณเป็นคนที่มีมาตรฐานการทำงานสูง แม้ว่าจะเป็นการ ทำงานจากบ้าน ให้คิดว่านี่เป็นโอกาสที่จะลองฝึกผ่อนคลายความคาดหวังจากตัวเองลงบ้าง ลูกอาจอยู่หน้าจอมากกว่าเวลาปกติ บ้านอาจรกขึ้น ขณะที่คุณกำลังไปคุยโทรศัพท์เรื่องงาน และนี่อาจเป็นเวลาให้ทบทวนความคาดหวังที่คุณมีต่อลูกน้องด้วย

ใช้โอกาสนี้ ในการประเมิณว่าอะไรกันแน่ที่สำคัญ และยอมปล่อยผ่านความสมบูรณ์แบบที่น้อยลงของบางสิ่งในชีวิต

4. พยายามรักษาความเชื่อมโยงกับสังคม

ระยะห่างทางสังคม ไม่ได้หมายความว่าคุณต้องทอดทิ้งความรู้สึกการเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน หาทางที่จะยังรักษาความเชื่อมโยงกับ เป็นเครื่องมือที่จะช่วยให้รู้สึกโดดเดี่ยวน้อยลง ลองหาทางที่ทำให้คุณรู้สึกว่ายังเชื่อมโยงกับทุกคน เช่นลอง นัดเวลากับพ่อแม่ผู้ปกครองเพื่อนของลูกที่โรงเรียน แล้วใช้แอปอย่างกูเกิ้ลแฮงเอาท์ ให้เด็กๆ ในห้องเรียนเดียวกัน ได้เจอหน้ากัน ทักทายกันบ้าง คุณและเพื่อนของคุณก็ทำแบบเดียวกันได้เช่นกัน จัดเวลาสักสัปดาห์ละครั้ง อัพเดทคุยกัน เหมือนกำลังสังสรรค์จริงๆ

5. สร้างสรรค์และตอกย้ำ

แน่นอนว่าตอนนี้เป็นช่วงเวลาที่ท้าทายสำหรับทุกคน แต่ก็เป็นช่วงเวลาที่จะทำให้มีโอกาสใช้ความคิดสร้างสรรค์ กับสิ่งที่เราปกติได้มาอย่างไม่คิดอะไร และกลายเป็นตอนนี้ที่มีข้อจำกัด พฤติกรรมเก่าๆ อาจไม่เหมาะกับสถานการณ์ปัจจุบัน ให้ลองอะไรที่แตกต่าง ขณะที่คุณจะทำงานจากบ้าน ลองให้เด็กๆ ช่วยคิดว่าจะทำอะไร ให้พวกเขาใช้เวลากับมันได้ทั้งวัน

กุญแจสำคัญ ไม่ใช่เพียงต้องยอมลองสิ่งใหม่ๆ แต่ต้องเต็มใจที่จะลองทำอีก แม้ครั้งแรกไม่ได้ผลตามที่คาดหวัง ละทิ้งความคิดที่จะหาวิธีที่ “ถูกต้อง” เพื่อจัดการกับวิกฤติ รู้ไว้เลยว่าคุณต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์คิดค้นอะไรใหม่ๆ ทดลองทำ แล้วทำซ้ำอีกบ่อยๆ ในช่วง 2-3 สัปดาห์นี้

ที่มา: weforum.org