svasdssvasds

เคราะห์ซ้ำ วิกฤตซ้อน เมื่อ ‘ราดำ’ ลามหนักในกลุ่มผู้ป่วยโควิดชาวอินเดีย

เคราะห์ซ้ำ วิกฤตซ้อน เมื่อ ‘ราดำ’ ลามหนักในกลุ่มผู้ป่วยโควิดชาวอินเดีย

ชีวิตตกอยู่ในความเสี่ยงมากขึ้นไปอีก เมื่อพบว่าผู้ป่วยโควิดในอินเดียติดเชื้อ ราดำ (Mucormycosis หรือ Black Fungus) เกินหลักหมื่นคน และโรคนี้มีนัยสำคัญต่ออัตราการเสียชีวิตของคนอินเดีย จนเรียกกันว่า ‘ราดำมรณะ’

โควิดระบาดระลอกสองที่กำลังหนักหน่วงในอินเดีย หากดูข้อมูลวันนี้ชี้ว่า สถานการณ์น่าเป็นห่วง เพราะมีผู้ติดเชื้อโควิดแล้ว 27 ล้านราย ยอดผู้เสียชีวิตมากกว่า 3 แสนราย ราดำ ที่เคยเป็นโรคหายาก ยังมาซ้ำเติมในวิกฤตนี้ ชาวภารตะยิ่งตกอยู่ในความเสี่ยงที่จะเสียชีวิตมากขึ้นไปอีก

black fungus ราดำ อินเดีย
Source : Xinhuathai

   ราดำ...มันร้าย   

ราดำ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ พบมากในดินและซากพืช เช่น เศษซากใบไม้ร่วง หากไปสัมผัสโดนเยื่อของเชื้อราดำที่อยู่ในดิน หรือที่กระจายอยู่ในอากาศ ตลอดจนเชื้อที่อยู่ในจมูกหรือน้ำมูก ก็สามารถแพร่กระจายในระบบทางเดินหายใจ ทำให้เกิดอาการต่างๆ เช่น คัดจมูก เลือดออกจมูก สายตาพร่ามัว บวมหรือปวดตา เปลือกตาตก หายใจลำบาก เจ็บหน้าอก ไอเป็นเลือด อาจสูญเสียการมองเห็นหรือนำไปสู่การเสียชีวิตได้

   ทำไมราดำกำชัยชนะในวิกฤตโควิด  

  • หากมองปัจจัยหลักที่ทำให้เชื้อราดำเติบโตได้ดีเป็นทวีคูณ คือ การที่ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายลดลง เช่น ผู้ที่กำลังรักษาโรคมะเร็ง คนที่เป็นโรคเบาหวาน หรือใช้ยาสเตียรอยด์อยู่ 
  • ผู้ติดเชื้อโควิดต้องกินยากดภูมิคุ้มกันของร่างกาย เช่น ยาสเตียรอยด์ เพื่อลดการอักเสบของปอด ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น ราดำที่ซ่อนตัวอยู่ในร่างกายหรือติดเชื้อมาจึงเติบโตอย่างรวดเร็วเพราะไม่มีภูมิคุ้มกันคอยต้านและยังได้น้ำตาลเป็นอาหารอีกด้วย
  • โควิดมีผลต่อระบบหายใจอยู่แล้ว เจอเชื้อราดำเข้าไปอีกก็ยิ่งเพิ่มความรุนแรงของโรคในระบบทางเดินหายใจ และเพิ่มความเสี่ยงที่จะเสียชีวิต
  • บางคนไม่รู้ว่าเป็นเบาหวาน แต่ติดเชื้อราดำจึงได้ตรวจร่างกายและรู้ว่ามีระดับน้ำตาลในเลือดสูง
  • CDC ให้ข้อมูลว่า ผู้ติดเชื้อราดำมีโอกาสที่จะเสียชีวิต 54% โดยเฉพาะผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน 

จากจำนวนผู้ติดเชื้อโควิดรายวันในอินเดียที่เพิ่มขึ้นมากที่สุดในโลก ส่งผลให้อุปกรณ์ทางการแพทย์ไม่เพียงพอ การใช้เครื่องช่วยหายใจ ท่อออกซิเจน เป็นเวลานาน หรือการใช้งานอุปกรณ์หมุนเวียน ไม่รักษาหรือทำความสะอาดให้ดี ก็เป็นอีกปัจจัยที่ส่งผลต่อสุขอนามัย ทำให้ราดำแพร่กระจายออกไปเป็นวงกว้าง

   ตอนนี้ขาดยารักษา ราดำ  

ราดำกำลังเข้าลุกลามจนกลายเป็นโรคระบาด (epidemic) ในหลายรัฐ สถานการณ์ที่เกิดขึ้นทำให้อินเดียขาดแคลนยา Amphotericin B ยาปฏิชีวนะต้านเชื้อราที่มีการบุกรุกเข้าสู่เนื้อเยื่อและอวัยวะต่างๆ ของร่างกายอย่างรุนแรง จัดเป็น 'ยาความเสี่ยงสูง' ต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์

ผู้ป่วยติดเชื้อราดำส่วนใหญ่เป็นหลังหายจากโรคโควิด 12-18 วัน การรักษาก็ต้องให้ยาต้านเชื้อราทุกวัน นานประมาณ 4-6 สัปดาห์ (ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค) ซึ่งทางอินเดียก็ไม่ได้มียาตัวนี้มากนัก จึงต้องเตรียมนำเข้ากว่า 7 แสนขวด

   ราดำ ลามหนักที่รัฐใด   

  • จากประชากรชาวอินเดียที่ติดเชื้อโควิด 10,000 คน พบว่ามีผู้เสียชีวิตราว 200 ศพที่ติดเชื้อราดำ
  • ข้อมูล ณ วันที่ 26 พ.ค. 64 มีผู้ติดเชื้อราดำในอินเดียแล้ว 11,717 ราย
  • มี 11 รัฐที่ประกาศให้ ราดำ เป็นโรคระบาด เพราะมีการลุกลามอย่างรวดเร็ว
  • 5 รัฐที่มีผู้ติดเชื้อราดำมากที่สุดคือ
    • คุชราต (Gujarat) 2,859 เคส
    • มหาราษฏระ (Maharashtra) 2,770 เคส
    • อันดาราประเทศ (Andhra Pradesh) 768 เคส
    • มัธยประเทศ (Madhya Pradesh) 752 เคส
    • เทลังกานา (Telangana) 744 เคส
  • Sadananda Gowda, ಕನ್ನಡಿಗ Union Minister for Chemicals & Fertilizer เผยข้อมูลว่า มีการจัดแบ่งยา Amphotericin B จำนวน 29,250 ขวด กระจายไปยังทุกรัฐ ดังภาพด้านล่างนี้

ราดำ 26.05.64

ที่มา :

related