svasdssvasds

สะเทือน ไต เผยสภาพที่อาจตามมา จากกรณีศึกษา Long Covid ในทหารอเมริกัน

สะเทือน ไต เผยสภาพที่อาจตามมา จากกรณีศึกษา Long Covid ในทหารอเมริกัน

โควิด-19 จะอยู่กับเราไปอีกนาน สิ่งที่เราทำได้คือ ปรับตัว เรียนรู้ เข้าใจและยอมรับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น เช่น คนที่รับวัคซีนแล้วก็ติดเชื้อได้ ผู้ติดเชื้อที่หายป่วยแล้วก็สามารถติดเชื้อได้อีก หรือส่งผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาว (Long Covid) ได้

อยู่กับโควิดมา 2 ปี การศึกษาวิจัยต่างๆ จากหลากหลายประเทศทำให้เรารู้จักคำว่า โรคระบาดครั้งใหญ่ (Pandemic) ชนิดที่ไม่มีใครคาดคิด การใช้ชีวิตก็เปลี่ยนไป ต้องสวมหน้ากาก ล้างมือบ่อยๆ จะทำอะไรต้องเว้นระยะห่าง องค์ความรู้หรือ Fact & Data ก็เช่นเดียวกัน หากมีหลักฐานหรือข้อค้นพบใหม่ ข้อมูลที่เชื่อและใช้ในวันนี้ อาจใช้ไม่ได้ในวันหน้า หรือแม้แต่คนที่รักษาจนหายดีแล้ว อาจมีโรคหรืออาการผิดปกติเกิดขึ้นในเดือนหน้า ปีหน้า อย่างที่เรียกกันว่า Long Covid ก็เป็นได้

แพทย์เผย หายป่วยแล้ว ก็ยังต้องตามดูการทำงานของไต

นพ.อนุตตร จิตตินันทน์ ประธานราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย โพสต์ข้อมูลทางการแพทย์ผ่านเพจเฟซบุ๊ก Anutra Chittinandana ว่า ผู้ป่วยโควิด-19 ที่หายป่วยแล้ว ควรติดตามการทำงานของไตอย่างต่อเนื่อง

มีรายงานก่อนการตีพิมพ์ (ahead of print) ให้ข้อมูลที่น่าสนใจเรื่องผลกระทบต่อไตในผู้ป่วยโควิด 19 ระยะยาว (Kidney Outcomes in Long Covid) ปรากฏใน Journal of the American Society of Nephrology ซึ่งเป็นการศึกษาเปรียบเทียบทหารผ่านศึกชาวอเมริกันสองกลุ่ม 

  • กลุ่มผู้รอดชีวิตจากโควิด-19 จำนวน 89,216 ราย
  • กลุ่มผู้ที่ไม่เป็นโควิด-19 จำนวน 1,637,467 ราย 

ไต อาการข้างเคียง Kidney pain

figure 1 - kidney effect long covid

โดยเป็นการติดตามอาการนาน 6 เดือน พบว่ามี 4 กลุ่มอาการที่เกิดขึ้นกับไต

  1. การเกิดไตบาดเจ็บเฉียบพลัน
    (Acute Kidney Injury, AKI)
  2. การลดลงของอัตราการกรองของไต
    (eGFR decline)
  3. โรคไตระยะสุดท้าย
    (End Stage Kidney Disease, ESKD)
  4. เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์สำคัญต่อไต
    (Major Adverse Kidney Events, MAKE) ซึ่งหมายถึง การลดลงของอัตราการกรองของไตมากกว่า 50% หรือ ESKD หรือเสียชีวิต เพิ่มขึ้นในผู้ป่วยที่หายป่วยจากโควิด 19 โดยเฉพาะผู้ป่วยนอนโรงพยาบาล, นอน ICU และเพิ่มขึ้นมากในผู้ป่วยที่มีปัญหา AKI ขณะที่ป่วยเป็นโควิด 19

long covid

figure 5 - kidney effect long covid

หากคุณยังไม่รู้จักคำว่า Long Covid ลิงก์นี้ช่วยได้

อัตราการกรองของไตที่ลดลงในช่วง 30 วัน
เมื่อเทียบผู้ป่วยที่ติดโควิดกับผู้ที่ไม่ได้เป็นโควิด

  • ไม่ได้นอน รพ. -3.26 (-3.58, -2.94)
  • นอน รพ. -5.20 (-6.24, -4.16) 
  • นอนใน ICU -7.69 (-8.27, -7.12) mL/min/1.73 sq.m.

อ่านรายงานฉบับเต็มได้ที่ลิงก์ jasn.asnjournals.org

long covid ไต

CDC ก็ระบุถึงผลกระทบต่อ "ไต"

long covid cdc

สำหรับเคสที่ป่วยหนักเพราะโควิด CDC ก็ระบุไว้ว่า อาจเกิดผลกระทบต่อหลายอวัยวะในระยะยาวได้ เช่น หัวใจ ปอด ผิวหนัง สมอง และ "ไต" ก็เป็นหนึ่งในนั้น

เราจึงต้องดูแลสุขภาพให้ดี และสังเกตทุกความเปลี่ยนแปลงของร่างกาย แม้เป็นรายละเอียดเพียงเล็กน้อย แต่ที่สำคัญกว่าคือ อย่าวิตกกังวลจนเกินไป ไม่อย่างนั้น ภูมิคุ้มกันในร่างกายอาจลดฮวบ

ที่มา : www.cdc.gov/coronavirus/2019-ncov/long-term-effects.html

related