svasdssvasds

IPCC ฉบับใหม่เผย มนุษยชาติกำลังล่มสลายจากภาวะโลกร้อน ต้องลงมือทำเดี๋ยวนี้

IPCC ฉบับใหม่เผย มนุษยชาติกำลังล่มสลายจากภาวะโลกร้อน ต้องลงมือทำเดี๋ยวนี้

มนุษยชาติกำลังเผชิญภัยคุกคามที่ความรุนแรงขึ้น จากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ เราจะลงมือทำตอนนี้! IPCC เผยในรายงานฉบับใหม่ - IPCC คือใคร สำคัญอย่างไร เชื่อถือได้ไหม?

IPCC หรือ คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เป็นหน่วยงานหรือองค์ที่จะคอยเตือนมนุษยชาติว่ากำลังทำอะไรเกินตัวอยู่หรือไม่ หรือพูดง่ายๆก็คือ เป็นหน่วยงานที่จะคอยเฝ้าสังเกตุการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศที่เกิดขึ้นทั่วโลกอันจะนำไปสู่การหาแนวทางแก้ไขภาวะโลกร้อน

และเมื่อวันที่ 28 ก.พ.ที่ผ่านมา IPCC ได้เผยแพร่รายงานฉบับใหม่ ที่จะบ่งบอกว่าตอนนี้โลกไม่สามารถหวนกลับไปแก้ไขปัญหาที่สั่งสมมาได้แล้ว รายงานฉบับนี้เขียนโดยนักวิทยาศาสตร์ 270 คนจาก 67 ประเทศ รายงานฉบับนี้เป็นส่วนที่ 2 จากทั้งหมด 3 ส่วน ซึ่งเป็นรายงานการประเมินครั้งที่ 6 ของ IPCC โดยรายงานฉบับแรกเผยแพร่เมื่อเดือนสิงหาคม 2021 ที่ผ่านมา ที่ IPCC ประกาศเตือนรหัสแดงมนุษยชาติว่าอารยธรรมมนุษย์กำลังล่มสลายจากวิกฤติภาวะโลกร้อนและไม่อาจหวนคืนกลับไปได้แล้ว ฉบับที่กำลังรายงานนี้คือฉบับที่ 2 และรายงานฉบับที่ 3 คาดว่าจะแล้วเสร็จและเผยแพร่ในช่วงเดือนเมษายน

รายงานของ IPCC ฉบับนี้รายงานว่าอย่างไร?

จากการประกาศเตือนในครั้งแรก ดูจะตื่นกลัวกันไปเพียงแค่ชั่วคราวเท่านั้น รายงานฉบับใหม่จึงเหมือนเป็นคำเตือนที่น่ากลัวกว่าเดิมเกี่ยวกับผลที่ตามมาของการไม่ทำอะไรเลย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

แถลงการณ์ฉบับใหม่นี้เผยว่า การเปลี่ยนของสภาพภูมิอากาศจะกระทบกับผู้คน 3.3-3.6 ล้านคนที่อาศัยอยู่ในภูมิภาคที่ถือว่า “มีความเสี่ยงสูง” แต่ผลกระทบของภาวะโลกร้อนมีการกระจายอย่างไม่เท่าเทียมกัน ผู้ที่มีความเปราะบางต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมากที่สุดมักจะถูกตัดขาดจากทรัพยากรที่สามารถช่วยให้พวกเขาปรับตัวหรือลดความเสี่ยงดังกล่าวได้

หรือกล่าวคือ ประเทศที่ยากจนมักจะเป็นผู้ที่เสียเปรียบที่สุดในวิกฤตการณ์นี้  ทั้งการขาดแคลนทรัพยากร ขาดการอุดหนุน ที่จะเป็นปัจจัยสำคัญในการปรับตัวหรือป้องกันตัวจากภาวะโลกร้อนที่กำลังเข้มข้นขึ้น จากการประชุม COP26 จึงมีการเสนอให้ประเทศที่ร่ำรวยยื่นมือเข้าไปช่วยเหลือประเทศที่ยากจนในด้านของทุนทรัพย์ เพื่อให้พวกเขามีโอกาสที่จะเอาตัวรอด และประเทศร่ำรวยกว่าจะต้องให้ความช่วยเหลือ เพราะความร่ำรวยของตนมักมาจากการใช้ทรัพยากรจำนวนมากที่เหนือกว่า มากกว่า จึงต้องมีการชดเชย

กลับมาที่ตัวรายงาน  รายงานฉบับนี้เป็นแผนที่แสดงความทุกข์ทรมานของมนุษย์และข้อกล่าวหาที่เลวร้ายและความล้มเหลวของการเป็นผู้นำด้านสภาพอากาศ หลักฐานในรายงานฉบับนี้มาจากแหล่งข้อมูลทางวิทยาศาสตร์มากกว่า 34,000 แห่งแสดงให้เห็นว่า พายุที่รุนแรง ภัยแล้ง น้ำท่วม คลื่นความร้อนและไฟป่า ทั้งหมดนี้ทวีความรุนแรงและถี่ขึ้นเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงไปของสภาพอากาศอย่างไร ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการผลิตอาหาร ขัดขวางการทำประมงและการเพาะเลี้ยงสัตว์ ทำให้เมืองและโครงสร้างพื้นฐานเสียหาย และทำลายสุขภาพของมนุษย์

ยิ่งไปกว่านั้น สถานการณ์ต่างๆยังไปเร่งให้การดำเนินการชะลออุณหภูมิให้คงไว้ที่ 1.5 องศาเซียลเซียสให้นานขึ้น หากเราต้องการให้ดลกคงอุณหภูมิไว้ไม่เกิน 1.5 องศาเซีบลเซียสนั้น เราจำเป็นที่จะต้องลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั่วโลกลง 40% และต้องบรรลุการปล่อยมลพิษสุทธิเป็นศูนย์ให้ได้ภายในปี 2050 António Manuel de Oliveira Guterres เลขาธิการสหประชาชาติกล่าว

ตามรายงาน ความไม่มั่นคงด้านอาหารและน้ำกำลังเพิ่มสูงขึ้น และส่งผลกระทบต่อผู้คนนับล้านทั่วโลก "โดยเฉพาะในแอฟริกา เอเชีย อเมริกากลางและใต้ บนเกาะเล็กๆ และในอาร์กติก" ซึ่งเกิดจากผลกระทบจากสภาพอากาศสุดขั้วที่ลดหลั่นกันลงมา จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เช่น ความร้อน ภัยแล้ง และน้ำท่วม โดยเฉลี่ยแล้ว การเติบโตของการเกษตรทั่วโลกได้ชะลอตัวลงในช่วง 50 ปีที่ผ่านมาเนื่องจากโลกร้อนขึ้น โดยผลกระทบด้านลบส่วนใหญ่เกิดขึ้นในภูมิภาคละติจูดกลางและละติจูดต่ำ

โดยสรุปแล้ว เราเรียนรู้อะไรจากสิ่งเหล่านี้ได้บ้าง?

สิ่งที่ชัดเจนจากรายงานฉบับนี้ แม้ในความเป็นจริงนั้นชัดเจนมานานแล้ว แต่แค่ยังไม่เป็นที่สนใจของคนในชุมชนหรือสังคม คือผลกระทบที่มันกำลังทวีคูณมากขึ้น แม้ว่าบางส่วนอาจจะรู้ตัวแล้ว แต่ก็ไม่สามารถทำอะไรได้มากไปกว่า การแชร์เรื่องราวนี้ออกไป และก็กลายเป็นข่าวด่วนที่เงียบเร็วที่สุดต่อไป รายงานการประเมินนี้ก็จะยิ่งเป็นรายงานที่แสดงให้เห็นสิ่งที่จะร้ายแรงขึ้น และเราเรียนรู้จากมันอย่างไรได้บ้าง

สิ่งต่างๆกำลังเลวร้ายลงเกินกว่าจะจินตนาการได้อย่างแน่นอน

จากปรากฎการณ์ด้านสิ่งแวดล้อม ที่ทาง Springnews เสนอรายงานไปก็ดี หรือข่าวสารจากจากหลายสำนักข่าวที่พยายามผลักดันการเปลี่ยนแปลงด้านสิ่งแวดล้อม ภัยพิบัติทางธรรมชาติหรือสถานการณ์เหล่านี้คือหลักฐานชั้นดีที่จะทำให้เราบอกคุณได้ว่า เราเตือนคุณมานานแล้ว แต่คุณไม่ได้สนใจเรามากพอ และรัฐหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่ได้ทำให้เรากลายเป็นที่พูดถึงหรือมีการตระหนักมากขึ้น

ยกตัวอย่างเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาส แผ่นน้ำแข็งในกรีนแลนด์ละลายจนไปทำลายแนวปะการังและทำให้ระดับน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้น ภัยแล้งในเคนย่าหรือแอฟริกาทำให้สัตว์ต่างๆล้มตาย พืชผลปลูกไม่ได้ ประชาชนขาดอาหารในการบริโภคและอยู่ในภาวะขาดสารอาหารรุนแรง ไฟป่าได้คร่าชีวิตสัตว์ป่าในแอฟริกาและป่าแอมะวอนในบราซิลไปหลายล้านตัวภายในไม่กี่ปี เป็นต้น

หลักฐานตามรายงานยังระบุว่า ประมาณ 40% ของประชากรโลกมีความเสี่ยงสูงที่จะได้รับผลกระทบเต็มๆจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภุมิอากาศ ในแอฟริกาประมาณ 30% ของพื้นที่ปลูกข้าวโพดทั้งหมดจะเลิกผลิตแล้ว สำหรับการปลูกถั่วจะอยู่ที่ประมาณ 50% เพราะมันเป็นส่วนหนึ่งของการปล่อยมลพิษในปัจจับน เรื่องนี้ส่งผลกระทบต่อคนทั้งโลกอย่าง คำตอบคือความมั่นคงทางอาหารยังไงล่ะ ที่กำลังลดลง รายงานเสริมอีกว่า เวลาของเรากำลังหมดลงแล้ว เราต้องเร่งหยุดยั้งวิกฤตการณ์เหล่านี้ทันที

เทคโนโลยีไม่ใช่กระสุนเงิน

แม้ว่าตามรายงานของ IPCC และแนวทางการแก้ไขปัญหาของประเทศร่ำรวยจะกล่าวไว้ว่า เรามีเทคโนโลยีในการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เพื่อควบคุมปริมาณก๊าซในชั้นบรรยากาศแล้ว แต่ ลินดา ชไนเดอร์ จากมูลนิธิไฮน์ริชโบลล์ หนึ่งในผู้สังเกตการณ์การอภิปรายของ IPCC กล่าวแสดงความกังวลว่า การใช้งานเครื่องจักรอาจไปกระตุ้นการปล่อยก๊าซให้ร้อนขึ้นได้ “หากคุณกำจัด CO2 ออกจากชั้นบรรยากาศ คุณจะได้รับผลกระทบจากการสะท้อนกลับจากส่วนอื่นๆ ในวัฏจักรคาร์บอน”

เมืองแห่งความหวังที่พร้อมจะล่มสลาย

หลายเมืองทั่วโลก พยายามที่จะขยายขอบเขตความเป็นเมืองออกไปยังพื้นที่ธรรมชาต และธรรมชาติก็จะนำมันกลับคืนมาด้วยการนำภัยพิบัติมาทวงคืนพื้นที่จากมนุษย์ เช่นเหตุการณ์ระดับน้ำทะเลกำลังเพิ่มสูงขึ้นทุกๆปีจากการละลายของแผ่นน้ำแข็งทั่วโลก ปริมาณน้ำทะเลที่หนุนขึ้นมานั้นมีโอกาสทำให้ประเทศที่อยู่ติดกับชายฝั่งทะเลจมไปใต้น้ำในอีกไม่กี่สิบปีข้างหน้านี้ตามการคาดการณ์ทางวิทยาศาสตร์

แก้ไขทันไหม

นักวิทยาศาสตร์หลายคนที่ร่วมเขียนรายงานนี้ยังคงเชื่อว่าเราในพื้นฐานมนุษย์ที่มีวัฒนธรรมชั้นสูงแบบนี้จะสามารถหาทางแก้ไขปัญหาได้ทัน แต่ก็อาจจะไม่ทันหากเราไม่ทำอะไรกันเลย ทุกอย่างอาจจบลงด้วยน้ำมือของพวกเราเอง หากวันนั้นมาถึง เราก็คงโทษใครไม่ได้นอกจากตัวเรา

ทั้งนี้ผู้เขียนหวังว่า รายงานนี้จะเป็นการอธิบายถึงมุมมองปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมคร่าวๆเพื่อให้ผู้อ่านทำความเข้าใจกับวิกฤตการณ์การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ซึ่งในอนาคตอาจนำพาให้เราเดินทางไปถึงจุดสิ้นสุดของอารยธรรมมนุษย์และเราจะเริ่มตระหนักอะไรได้บ้างในการรับรู้ข้อมูลเหล่านี้ อย่างน้อยก็มีหลายองค์ประกอบหรือวิธีแก้ไขปัญหาที่สามารถเริ่มได้จากตัวเราง่ายๆ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น การทำข้อกำกับหรือการเคร่งครัดทางกฎหมายนั้นเป็นสิ่งที่จะทำให้พฤติกรรมของเรานั้นอยู่ในขอบเขตที่เป็นไปได้มากขึ้นในการลดความรุนแรงของการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ

ที่มาข้อมูล

https://www.bbc.com/news/science-environment-60541816

https://www.livescience.com/ipcc-climate-report-we-are-not-ready

related