svasdssvasds

เปิด 9 เงื่อนไข สัญญะในการโกนผมของมนุษย์ ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน

เปิด 9 เงื่อนไข สัญญะในการโกนผมของมนุษย์ ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน

การ โกนผม ของมนุษย์นั้นแตกต่างกันออกไปในแต่ละวัฒนธรรมและบริบททางสังคม โดยแฝงนัยยะทั้งทางการเมือง การแสดงออกถึงความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันหรือการปลดเปลื้องตัวตนเพื่อเป็นอิสระ จากพันธะและภาระหน้าที่ที่สวมใส่อยู่

ถ้าไม่นับกรรมพันธ์และปัญหาสภาพเส้นผม ผมร่วง ทำให้ต้องเลือกที่จะ โกนผม ทิ้งทั้งหมด มีเหตุผลอะไรบ้างที่ทำให้คนเราเลือกที่จะตัดผมที่ใครๆ ถือเป็นส่วนสำคัญ ทั้งในเรื่องของความมั่นใจและเป็นภาพลักษณ์แรกที่คนภายนอกทั่วไปจะพบเห็น 
การโกนผมบางส่วนหรือโกนทั้งหมดก็ด้วยเหตุผลต่างๆ เช่น ความสะดวก แฟชั่น สไตล์ ศาสนา วัฒนธรรม และการลงโทษ

ในยุคแรกที่มีการค้นพบบันทึกทางประวัติศาสตร์ที่เก่าแก่ฉบับนึงอธิบายไว้ว่า การโกนศรีษะนั้นมาจาก วัฒนธรรมเมดิเตอร์เรเนียนโบราณ เช่น อียิปต์ กรีซ และโรม นักบวชชาวอียิปต์จะกำจัดขนทั้งหมดตั้งแต่ศีรษะจรดปลายเท้าตามพิธีกรรมจะใช้การดึงถอนเส้นขน

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

 

แล้วอีก 9 ข้อที่เป็นบริบทเกี่ยวข้องกับการโกนผมในวัฒนธรรมของมนุษย์ มีดังนี้ 

การทหาร
การ โกนผม ด้วยเหตุผลในด้านสุขอนามัยและภาพลักษณ์ที่แสดงออกถึงความเคร่งครัดในกฎระเบียบที่เข้มงวด 
ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองทหารฝ่ายสัมพันธมิตรบุกมอร์มังดี ทำการ โกนผม ออกทั้งหมดก็เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้ฝั่งนาซีคว้าส่วนใดส่วนนึงได้เมื่อต้องต่อสู้ในระยะประชิด

ในกองทัพสหรัฐ รัสเซียและประเทศอื่นๆ โกนผม ด้วยกรรไกรต้อนรับทหารเกณฑ์น้องใหม่ ทั้งนี้เมื่ออยู่ในขณะฝึกทั้ง กองทัพอากาศ นาวิกโยธิน กองทัพบก และหน่วยยามฝั่งของสหรัฐฯจะต้องโกนผมไว้เป็นมาตรฐานตลอดจนจบ แต่เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วก็จะผ่อนคลายระเบียบให้ไว้ผาวได้มากขึ้น

ประเทศกรีซ ยกเลิกกฎระเบียบให้ โกนผม ทั้งหมด เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2525 โดยทหารเกณฑ์สามารถไว้ยาวได้ 4 ซม.

การจำคุกและการลงโทษ
เหตุผลที่นักโทษที่จำคุกในเรือนจำต้องทำการโกนหัวเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเหา และในยุคนาซีใช้เพื่อการดูหมิ่น เหยียดหยาม ชาวยิว ทั้งนี้ในระหว่างและหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ผู้หญิงฝรั่งเศสหลายพันคนถูกโกนหัวต่อหน้าประชาชนเพื่อประนามผู้ที่ร่วมมือหรือมีความสัมพันธ์กับทหารนาซี 
 

photograph
By Bundesarchiv, Bild 146-1971-041-10 / CC-BY-SA 3.0, CC BY-SA 3.0 de, Link

การศาสนา
นักบวชชาวพุทธ และ ชาวลัทธิไวษณพในศาสนาฮินดู จะเข้าทำพิธีปลงผมโกนหัว เพื่อเริ่มต้นเข้าสู่สมรรภาพใหม่ โดยความเชื่อสมัยพระพุทธเจ้ากล่าวว่าเป็นสัญลักษณ์ของเสรีชนจากภาระและวรรณะทั้ง 4 พราหมณ์ กษัตริย์ แพศย์ ศูทร พระภิกษุและแม่ชีในเกาหลีจะโกนศรีษะทุกๆ 15 วัน 

ส่วนในศาสนาอิสลาม ชายมุสลิมจะโกนศรีษะหลังเสร็จพิธีอุมเราะฮ์และฮัจญ์ เป็นประเพณีที่แสดงออกถึงการถวายตัวต่ออัลลอฮ์

ส่วนใน ศาสนายูดาห์นิกายฮาซิด ชายชาวยิว จะโกนศรีษะเป็นครั้งคราว แต่จะเว้นจอนสอง (Payot) ข้างไว้

Young hasid.jpg
By Mgarten, CC BY-SA 3.0, Link

ส่วนผู้หญิงแต่งกายแล้วในนิกายฮาซิดที่โรมันเนียจะโกนผมทุกเดือนก่อนแช่ตัวในการอาบน้ำสำหรับพิธี mikveh 

ชนชั้น 
ช่วงศตวรรษที่ 20 ในประเทศตะวันตก การโกนศรีษะถือเป็นเรื่องผิดปกติ หรือ เป็นเครื่องบ่งบอกถึงอาชีพในชนชั้นแรงงาน เช่น ทาส

กีฬา
ในกีฬาว่ายน้ำ นักกีฬามักโกนขนบนร่างกายตั้งแต่หัวจรดเท้าเพื่อช่วยลดแรงต้านขณะว่ายน้ำ ทั้งนี้ยังใช้กับนักวิ่งทั้งระยะสั้นและวิ่งระยะยาวเช่นมาราธอน

Mo Farah Daegu 2011.jpg
By Erik van Leeuwen - <a rel="nofollow" class="external text" href="http://www.erki.nl/pics/main.php?g2_itemId=57383">www.erki.nl</a>, GFDL, Link

นิยายสมัยใหม่
ตัวละครที่ โกนหัว จะมีลักษณะนิสัยที่บ่งบอกถึงความเข้มงวด ไม่ยอมอ่อนข้อ เช่น คาแรคเตอร์ Mace Windu ในภาพยนตร์เรื่อง Star war และเป็นแสดงสัญลักษณ์ถึงการถูกกดขี่ในนวนิยายไซไฟเรื่อง Metropolis (1927) 

สกินเฮด
วัยรุ่นชนชั้นแรงงานชาวอังกฤษให้กำเนิดทรงผม สกินเฮด นี้ขึ้นมาใน ทศวรรษที่ 1960 แม้จะไม่ได้โกนจนสั้นเกรียนติดหนังตัว ลุคนี้ได้รับอิทธิพลบางส่วนมาจากนักร้อง นักดนตรี สไตล์ Rude boy จากจาไมก้า สกินเฮดกลับมาฮิตอีกครั้งเมื่อเกิดวัฒนธรรมดนตรีพังค์ และในดนตรีแบล็กเมทัล, เมทัลคอร์, นูเมทัล, ฮิปฮอป, เทคโน และนีโอนาซี

เพศ
ความกระตุ้นเร้าทางเพศที่เกี่ยวกับเส้นผมโดยเฉพาะมีคำศัพท์ที่เรียกว่า เรียกว่า trichophilia (ไม่ว่าจะเป็น ผมยาว-สั้น สีผม หรือ โกนผม ) การโกนผมของผู้ชายถูกมองไปถึงการแสดงความเป็นชายและสัญลักษณ์ของอำนาจ ในชุมชนของคนที่มีรสนิยมแบบ BDSM (B = bondage พันธนาการ. D = discipline การลงโทษ. S = sadism การมีความสุขจากการทำร้ายผู้อื่น. M = masochism) บางครั้งการโกนหัวของทาสแสดงถึงความไร้อำนาจหรือการยอมต่อผู้มีอำนาจเหนือกว่า 

การระดมทุนและการสนับสนุน
โครงการที่เกี่ยวกับโรคมะเร็งในต่างประเทศมักใช้วิธีการโกนหัว เพื่อระดมเงินบริจาคสมทบทุนและสร้างความตระหนักถึงอันตราย เพราะการที่ศรีษะล้านนั่นเป็นผลข้างเคียงหนึ่งที่เห็นได้ชัดจากเคมีบำบัดซึ่งเป็นกระบวนการหนึ่งในการรักษาโรคมะเร็ง หลายคนจึงโกนหัวก่อนเข้ารับการรักษา หรือบางครั้งเพื่อนฝูง ญาติพี่น้องก็ยอมที่จะ โกนผม เป็นเพื่อนร่วมและให้กำลังใจกับผู้ป่วยมะเร็ง 

เช่น คลิปช่างผมที่เป็นไวรัลใน tiktok โกนผม เมื่อรู้เหตุผลที่ลูกค้าสาวมาตัดผมกับเขาเพราะเตรียมพร้อมรับการรักษาโรคมะเร็ง 

ทั้งหมดนี้ บอกได้ว่าการมีหรือไม่มีผม นอกจากมีในเรื่องภาพลักษณ์ภายนอกแล้ว ยังมีนัยยะซ่อนอยู่ในบริบทต่างๆ ของแต่ละสังคมและวัฒนธรรม ซึ่งเกี่ยวโยงสืบเนื่องกับมนุษย์ในเรื่องความคิดและความเชื่อต่อไป 

ที่มา
1 2