svasdssvasds

ทำงานจากที่บ้านกันทั้งนั้น จะป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์ได้ยังไง?

ทำงานจากที่บ้านกันทั้งนั้น จะป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์ได้ยังไง?

เปิดดูงานศึกษาวิจัยเรื่อง "สถานการณ์ระบบรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ในอาเซียน" ที่สำรวจแนวทางการรับมือต่อความท้าทายด้านระบบรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ในปี 2564 พบว่า การโจมตีทางไซเบอร์ในอาเซียน ทั้งสิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และไทย เพิ่มขึ้นทุกประเทศ!

เจอโควิด-19 เข้าไป หลายองค์กรให้พนักงานทำงานจากที่บ้าน (Work From Home) บางแห่งให้พนักงานทำงานแบบไฮบริด (เข้าออฟฟิศบ้าง อยู่บ้านบ้าง) การทำงานและติดต่อสื่อสารผ่านอินเทอร์เน็ตจากหลากหลายช่องทางโดยไม่มีระบบป้องกันที่อัปเดต หรือผู้ใช้งานไม่มีความรู้มากพอ อาชญากรไซเบอร์จึงใช้ช่องโหว่นี้เจาะเข้าระบบ เล่นงานข้อมูลสารพัด

2 ปีที่ผ่านมา ภาคธุรกิจได้รับผลกระทบอย่างมากจาก ภัยคุกคามทางไซเบอร์ พาโล อัลโต เน็ตเวิร์กส์ (Palo Alto Networks) ผู้ให้บริการระดับโลกด้านระบบรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ จึงสำรวจแนวทางรับมือของผู้นำองค์กรต่อความท้าทายด้านระบบรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ ผ่านทางออนไลน์ในเดือนพฤศจิกายน 2564 และจัดทำเป็นงานศึกษาวิจัยชื่อ สถานการณ์ระบบรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ในอาเซียน (The State of Cybersecurity in ASEAN)

Source : Unsplash

มองสถานการณ์ระบบรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ในอาเซียน ผ่านมุมของผู้ตอบแบบสำรวจ

ผู้ตอบแบบสำรวจดังกล่าวเป็นผู้มีอำนาจตัดสินใจด้านไอทีขององค์กรและผู้นำธุรกิจ จากประเทศสิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และไทย (ประเทศละ 100 คน) จาก 5 อุตสาหกรรมหลักในอาเซียน ได้แก่ บริการทางการเงิน รัฐบาล/องค์กรภาครัฐ โทรคมนาคม ธุรกิจค้าปลีก และฟินเทค พบว่า 92% ขององค์กรในอาเซียนเชื่อว่า ระบบรักษาความปลอดภัยไซเบอร์เป็นหนึ่งในปัจจัยซึ่งผู้นำธุรกิจให้ความสำคัญมากที่สุด

สอดคล้องกับข้อมูลข้างต้น ทั้ง 5 ชาติในอาเซียนลงทุนด้าน Cybersecurity เพิ่มขึ้น เนื่องจากผู้นำองค์กรให้ความสำคัญเรื่องการป้องกันภัยไซเบอร์มากขึ้น โดยมีกว่า 38% ที่ยกประเด็นนี้ขึ้นมาพูดคุยทุกเดือน 

กว่า 73% ขององค์กรในไทยเพิ่มงบประมาณด้านระบบรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ในปี 2565 ซึ่งถือว่าสูงที่สุดในอาเซียน

Source : Unsplash

5 กลุ่มธุรกิจที่ยอมรับว่า เสี่ยงเจอภัยคุกคามทางไซเบอร์มากที่สุด

  • อันดับ 1 บริการทางการเงิน 45%
  • อันดับ 2 ฟินเทค 42%
  • อันดับ 3 โทรคมนาคม 37%
  • อันดับ 4 รัฐบาล/องค์กรภาครัฐ 35%
  • อันดับ 5 ค้าปลีก 29%

เมื่อพิจารณาแบบสำรวจพบ 3 ประเด็นสำคัญ

  • เป้าหมายหลักของการโจมตีทางไซเบอร์ : สถาบันการเงิน
  • สิ่งที่กังวลมากที่สุด : การโจมตีด้วยมัลแวร์
  • ในบรรดาปัญหาทั้งหมด เรื่องที่เกี่ยวข้องกับภัยไซเบอร์โดยตรงที่สุด : จำนวนธุรกรรมดิจิทัลที่เพิ่มขึ้นกับซัพพลายเออร์หรือบุคคลภายนอก (54%)

Future of Work จะเป็นอย่างไร เมื่อเราทำงานจากที่บ้านหรือที่ไหนก็ได้

ดร.ธัชพล โปษยานนท์ ผู้อำนวยการประจำประเทศไทยและอินโดจีน ของพาโล อัลโต้ เน็ตเวิร์กส์ เผยแนวทางการทำงานในอนาคต หรือที่เรียกว่า Future of Work ดังนี้

1) คนทำงานต้องเข้าใช้งานระบบของบริษัทได้อย่างปลอดภัย แต่ปัญหาคือ บริษัทไม่มั่นใจการเข้าถึงข้อมูลด้วยอุปกรณ์จากที่บ้าน อินเทอร์เน็ตนอกสถานที่ จึงต้องอบรมให้ความรู้แก่พนักงาน

2) การทำงานจะ Collaboration ผ่านออนไลน์มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นดีลเลอร์ ผู้จัดจำหน่าย ฝ่ายหรือแผนกต่างๆ 

3) การพัฒนาแอปพลิเคชันจะเป็น Microservice มากขึ้น โดยยึดคอนเซ็ปต์ Agile และควบคุมความปลอดภัยตั้งแต่ต้นจนจบ

4) เมื่อเจอภัยคุกคาม ต้องจัดการได้ทันท่วงที หรือมีระบบอัตโนมัติคอยตรวจจับและแก้ปัญหา (Automate Response)

ทำงานจากที่บ้านกันทั้งนั้น จะป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์ได้ยังไง?

รวมเรื่องที่ต้องรู้ เมื่อ ไทย ยืนหนึ่งในอาเซียนที่เสียหายจาก Cyber Attack

5 ชาติอาเซียนที่เสียหายเพิ่มขึ้นเพราะโดนโจมตีทางไซเบอร์

  • 18% อินโดนีเชีย
  • 19% สิงคโปร์  
  • 25% มาเลเซีย
  • 26% ฟิลิปปินส์
  • 31% ไทย

เทรนด์การทำงานจากที่ไหนก็ได้ทำให้เกิดปัญหาใหม่

โครงสร้างระบบของหลายธุรกิจไม่ได้ออกแบบมาเพื่อรองรับการทำงานจากที่ไหนก็ได้ องค์กรจึงจำเป็นที่จะต้องจัดหาโซลูชันด้านระบบรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ให้ครอบคลุมยิ่งขึ้นเพื่อป้องกันภัยคุกคามไซเบอร์ (54%) และอุปกรณ์ IoT ที่ไม่มีการเฝ้าระวังหรือไม่ปลอดภัยซึ่งเชื่อมต่ออยู่กับเครือข่ายองค์กร (51%) ขณะที่มีการระบุว่า ความเสี่ยงจากอุปกรณ์ส่วนตัวและเครือข่ายในบ้านที่เข้าถึงเครือข่ายองค์กรถือเป็นความกังวลสูงสุดประการหนึ่งขององค์กรในประเทศไทย (59%)

ยุทธศาสตร์การปรับตัวในยุคหลังโควิด

เมื่อการทำงานและกิจกรรมต่างๆ ย้ายไปอยู่บนแพลตฟอร์มออนไลน์มากขึ้น องค์กรในอาเซียนต่างก็คาดการณ์ว่า หนึ่งในแนวโน้มด้านระบบรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ที่ต้องเฝ้าระวังมากที่สุดในปี 2565 ก็คือ การโจมตีทางไซเบอร์ต่อความปลอดภัยส่วนบุคคล แต่ในอีกด้านหนึ่งองค์กรต่างๆ กลับเร่งเดินหน้าการเปลี่ยนแปลงสู่ดิจิทัลโดย

  • เพิ่มการลงทุนในแอปพลิเคชันมือถือ (58%)
  • เพิ่มบุคลากรที่ทำงานจากทางไกล (57%)
  • เพิ่มการลงทุนในอุปกรณ์อัจฉริยะต่างๆ (57%)

แผนรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ขององค์กรในไทย

  1. การใช้ระบบรักษาความปลอดภัยบนคลาวด์ (61%)
  2. การประสานงาน การรับมือ และระบบอัตโนมัติด้านการรักษาความปลอดภัย (56%)
  3. การปรับปรุงการตรวจจับภัยคุกคามและระบบ/แพลตฟอร์มที่เกี่ยวข้อง (53%)
  4. การใช้กลยุทธ์ระบบรักษาความปลอดภัย 5G (51%)
  5. การปกป้อง IoT / OT (48%) 

วิธีรับมือที่องค์กรและคนทำงานควรรู้

  • 1. องค์กร/คนทำงาน - ต้องเช็กและประเมินระบบรักษาความปลอดภัยไซเบอร์อย่างสม่ำเสมอ

โดยตรวจสอบว่าการป้องกันภัยไซเบอร์นั้นทำถูกต้องไหม ระบบอัปเดตหรือไม่ ตรวจสอบทุก Device เครือข่ายที่เชื่อมต่อกันผ่าน IoT และต้องประเมินระบบรักษาความปลอดภัยไซเบอร์เพื่อให้เข้าใจ ควบคุม และบรรเทาความเสี่ยงได้ดียิ่งขึ้น ตรงนี้จะช่วยให้องค์กรวางมาตรการรับมือได้ตามลำดับความสำคัญและกำหนดทรัพยากรที่จำเป็นต้องใช้ได้อย่างเหมาะสม

  • 2. องค์กร - ต้องยึดหลัก Zero Trust

กรอบการทำงานแบบ "ไม่วางใจทุกส่วน" (Zero Trust) จะรับมือกับภัยคุกคามระบบรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ในปัจจุบัน และออกแบบระบบด้วยแนวคิด "คาดว่าจะมีช่องโหว่" และใช้เทคโนโลยีเพื่อช่วยตรวจสอบความถูกต้องอย่างต่อเนื่องให้กับการติดต่อสื่อสารด้านดิจิทัล รวมถึงการเตรียมแผนรับมือเร่งด่วน

  • 3. องค์กรควรหาพาร์ตเนอร์มาช่วยบริหารจัดการระบบความปลอดภัยทางไซเบอร์

คือ การเลือกพันธมิตร ไม่ใช่เลือกผลิตภัณฑ์ เพราะพันธมิตรระบบรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ที่ดีจะส่งต่อข่าวสารและความรู้ด้านภัยคุกคามล่าสุด และให้คำแนะนำที่ปฏิบัติได้จริง 

ที่มา : ดร.ธัชพล โปษยานนท์ ผู้อำนวยการประจำประเทศไทยและอินโดจีน และงานศึกษาวิจัย The State of Cybersecurity in ASEAN, Palo Alto Networks

related