svasdssvasds

5 อันดับ Smart City 2022 เอเชียเข้าวิน 3 เมือง นำขบวนด้วยเซี่ยงไฮ้ ตามด้วยโซล

5 อันดับ Smart City  2022 เอเชียเข้าวิน 3 เมือง นำขบวนด้วยเซี่ยงไฮ้ ตามด้วยโซล

เปิดชื่อเมือง 5 อันดับ Smart City ประจำปี 2022 เซี่ยงไฮ้ และ โซล นำขบวนสามเมืองในเอเชีย ปักกิ่งตามมาที่อันดับสี่ เอเชียมาแรง ครองไปแล้วสามอันดับ

เมืองที่ได้ขึ้นว่าเป็น สมาร์ทซิตี้ 2022 นอกจากคำนึงถึงเทคโนโลยีที่ช่วยให้ชีวิตประชากร ผู้อยู่อาศัย สะดวกสบาย ปลอดภัย แล้วนั้นยังไม่พอต้องใส่ใจกับสิ่งแวดล้อมและหัวใจผู้คนด้วยเช่นกัน 

ระบบไอซีทีอัจฉริยะ ที่เป็นหนึ่งในเทคโนโลยีที่สำคัญที่เป็นส่วนประกอบของเมืองอัจฉริยะ ภาพจาก freepik

จากรายงาน การจัดอันดับของ Juniper Research องค์กรที่บริการด้านการวิจัยและการวิเคราะห์แก่ภาคการสื่อสารไฮเทคทั่วโลก ที่ทำการสำรวจเจาะลึกข้อมูลประเทศต่างๆ รอบโลก โดยใช้เกณฑ์ ในการให้คะแนนดังนี้

  • การคมนาคม 
  • โครงสร้างพื้นฐาน 
  • พลังงานและแสงสว่าง
  • การจัดการเมือง
  • เทคโนโลยี 
  • การเชื่อมต่อในเมือง 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Citizen Cloud ของ เซี่ยงไฮ้ ได้รับการยกย่องจากงานวิจัยว่าเป็นแพลตฟอร์มที่มีระบบจัดการข้อมูลสาธารณะในระบบดิจิทัลได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถเข้าถึงบริการด้านต่างๆ ได้กว่า 1 พันรายการผ่านระบบ Cloud โดยทางรัฐบาลออกมาระบุว่า ชาวเมืองกว่า 10 ล้านคนใช้ระบบนี้เพื่อเข้าถึงบริการต่างๆ เช่น การจดทะเบียนการเกิดและการแต่งงาน ในด้านของวัฒนธรรมและการท่องเที่ยว การศึกษา ประกันสังคม การขนส่ง การรักษาพยาบาลและสุขภาพ ตลอดจนบริการด้านกฎหมายและการดูแลผู้สูงอายุ 

ทั้งนี้ยังสามารถเก็บเอกสารสำคัญๆ เข้าสู่ระบบ Cloud เช่น ทะเบียนสมรส บัตรประจำตัว ใบอนุญาตประกอบธุรกิจ ใบขับขี่และอื่นๆ 
 
โดยประเทศในเอเชียสามารถนำเทคโนโลยีมาปรับใช้กับการชีวิตประจำวันได้อย่างแนบเนียนและรวดเร็ว ทำให้ไต่อันดับขึ้นมาอยู่บนลิสต์ห้าอันดับแรกได้ถึง 3 เมือง

รายชื่อ เมืองอัจฉริยะ 5 อันดับแรก ประกอบด้วย

  1. เซี่ยงไฮ้
  2. โซล
  3. บาร์เซโลน่า
  4. ปักกิ่ง
  5. นิวยอร์ก

เทคโนโลยีเข้ามาส่งเสริมหน่วยงานท้องถิ่นในการให้ข้อมูลกับประชาชนโดยเฉพาะในเรื่องของสิ่งแวดล้อมและการใช้พลังงานที่ยั่งยืน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับพลเมืองที่อยู่อาศัย 

เมือง สมาร์ท ซิตี้ เป็นการลงทุนเพื่อโอกาสที่มีมูลค่า เจ็ดหมื่นล้านดอลล่าห์ ภายในปี 2569 เพิ่มขึ้นจากปี 2564 ที่อยู่ที่ประมาณ สามหมื่นล้านดอลล่าห์โดยจะมุ่งเน้นริเริ่มในการสร้าง สมาร์ทกริด (โครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ) ซึ่งคาดการณ์ว่าในปี 2569 จะช่วยประหยัดไฟฟ้าไปได้กว่า 1,000 TWh โดยเทียบเท่ากับการใช้พลังงานในระยะเวลา 5 ปีของลอนดอนในปัจจุบัน

ทั้งนี้การพัฒนาเมืองที่เรียกว่า สมาร์ท ซิตี้ นี้ยังคงอยู่ในอยู่เริ่มต้นโดยเฉพาะเมืองชั้นนำต่างๆ ของโลก โดยในรายงานการวิจัยได้ตั้งข้อสังเกตว่า เมืองจะมุ่งเน้นไปในการประหยัดพลังงาน ซึ่งคาดการณ์ว่า เมืองที่มีการเตรียมพร้อมในเรื่องเทคโนโลยีระดับสูงต่างๆนี้ จะสามารถประหยัดพลังงานไปได้ถึงกว่า เก้าหมื่นล้านดอลล่าห์ ในปี 2569  

ส่วนไทยมี สำนักงานเมืองอัจฉริยะ เป็นหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจ เป็นองค์กรที่ดูแล วางแผนแม่บท กำหนดทิศทางการพัฒนาประเทศภายใต้แนวทางยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี โดยมี มีมิติที่สำคัญ 7 ด้านคือ 

  1. สิ่งแวดล้อมอัจฉริยะ (Smart Environment) 
  2. การเดินทางและขนส่งอัจฉริยะ (Smart Mobility) 
  3.  การดำรงชีวิตอัจฉริยะ (Smart Living) 
  4. พลเมืองอัจฉริยะ (Smart People) 
  5. พลังงานอัจฉริยะ (Smart Energy) 
  6. เศรษฐกิจอัจฉริยะ (Smart Economy) 
  7. การบริหารภาครัฐอัจฉริยะ (Smart Governance)

โดยในปี 2565 วางแผนไว้ว่าประเทศไทยจะมีเมืองที่ก้าวเข้าสู่การเป็นเมือง สมาร์ท ซิตี้ หรือ เมืองอัจฉริยะ 100 เมือง จาก 76 จังหวัดทั่วประเทศรวมถึงกรุงเทพมหานคร ทั้งนี้ทั้งนั้นผู้เขียนเองในฐานะที่เกิดและเติบโตในกทม. ก็ยากที่จะบอกได้ว่าสัมผัสถึงความเป็น  สมาร์ท ซิตี้ ตามแผนที่วางไว้แล้วหรือยัง อาจจะเป็นเพราะขาดการประชาสัมพันธ์ความคืบหน้าหรือบริการสาธารณะที่เตรียมไว้ให้ ทำให้ผู้ใช้งานไม่ได้เข้าถึงบริการเหล่านั้นและได้ใช้ประโยชน์จริงๆ เสียที 

ที่มา

1 2 3