svasdssvasds

ถนนต้นแบบจากพลาสติก ลดปัญหาขยะรีไซเคิลไม่ได้ มช. ใช้จริงแล้วที่แม่เหียะ

ถนนต้นแบบจากพลาสติก ลดปัญหาขยะรีไซเคิลไม่ได้  มช. ใช้จริงแล้วที่แม่เหียะ

ขยะพลาสติก ถือเป็นปัญหาสำคัญ และเป็นตัวการที่ทำให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม ทำให้ในแต่ล่ะปี มีขยะมากถึง 27-28 ล้านตัน มีขยะเพียงจำนวน 11.70 ล้านตันเท่านั้นที่ถูกกำจัดโดยวิธีการฝังกลบ เป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมละประชาชนอย่างมาก

ถึงแม้มีการรณรงค์ให้ลดการใช้และแยกพลาสติกแต่ก็ยังคงมีขยะพลาสติกเกิดขึ้นมากอยู่ดี ในแต่ละวัน

ทางมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คณะวิศวกรรมศาสตร์ โดย พัฒนางานวิจัยการเพิ่มความแข็งแรงของถนนโดยสร้างจากขยะพลาสติกมาผสมกับยางมะตอย นอกจากช่วยบรรเทาปัญหาในการจัดการขยะแล้ว ยังสามารถลดค่าใช้จ่ายในการสร้างถนนได้อีกทางหนึ่ง

 จากผลการวิจัยถนนพลาสติกที่ผ่านมา พบว่า มีความแข็งแรง ทนทาน และช่วยยืดอายุการใช้งานของถนนจากเดิม 7 ปี เป็น 8 ปี โดยจะเป็นการช่วยลดต้นทุนในการซ่อมบำรุงถนนได้ประมาณปีละ 5% หรือประมาณ 1,500 ล้านบาทต่อปี จากปกติงบซ่อมบำรุงจะอยู่ที่ประมาณ 30,000 ล้านบาท”

 

ข่าวที่น่าสนใจ :

 

ซึ่งขั้นตอนการทำถนนพลาสติกรีไซเคิลนี้ เริ่มจากการคัดแยกขยะ ผ่านโครงการศูนย์บริหารจัดการชีวมวลครบวงจร โดยนำพลาสติกที่ผ่านการคัดแยก อาทิ ถุงพลาสติกหูหิ้ว และถุงใส่อาหาร มาผ่านกระบวนการบดย่อยให้มีขนาดเล็ก เข้าสู่กระบวนการผลิตโดยผสมกับยางมะตอย แล้วจึงนำยางมะตอยที่มีส่วนผสมของพลาสติกบดแล้วมาปูถนนด้วยวิธีปกติทั่วไป

ผลลัพธ์ของงานวิจัยถนนพลาสติกรีไซเคิล ได้เปรียบเทียบถนนพลาสติกรีไซเคิลกับถนนยางมะตอยทั่วไป พบว่าถนนพลาสติกรีไซเคิลที่มีขยะพลาสติกเป็นส่วนประกอบนั้น มีคุณสมบัติของผิวถนนที่แข็งแรงขึ้นกว่าเดิมประมาณร้อยละ 15-30 และประสิทธิภาพด้านการยึดเกาะถนนที่เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 6  ซึ่งทำให้วิธีการนี้นอกเหนือจากช่วยลดขยะพลาสติกในประเทศ แล้วยังหมายถึงการพัฒนาประยุกต์ใช้ขยะพลาสติกให้เกิดประโยชน์สำหรับการทำถนนยางมะตอยที่มีคุณภาพอีกด้วย

 

โดยถนนพลาสติกนี้มีความแข็งแรงขึ้น ในขณะเดียวกันสามารถลดการใช้ยางมะตอยได้ ทำให้ต้นทุนของการทำถนน หรือการทำพื้นผิวทางโยธาถูกลง ความสำคัญอีกประการในการวิจัยครั้งนี้คือการทดสอบความทนทานของท้องถนน สร้างความมั่นใจว่าถนนสามารถใช้งานได้จริง รองรับต่อการเสียดสีในระยะยาว 7 – 8 ปี 

ถนนต้นแบบที่ได้มาตรฐานทางวิศวกรรมของการทำทางทั้งจากกรมทางหลวง และกรมทางหลวงชนบท เป็นถนนสาธารณะที่เปิดให้ชุมชนโดยรอบได้ใช้สัญจร ตั้งอ ยู่ ณ บริเวณ ศูนย์วิจัย สาธิตและฝึกอบรมการเกษตรแม่เหียะ 

โดยกำหนดเป็นวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ขององค์กร ร่วมกับการทำงานกับชุมชน เพื่อคืนคุณค่าความดีงามสู่สังคม สร้างประโยชน์ ทั้งในระดับประเทศและระดับโลกได้ ถนนแห่งนี้ไม่เพียงแต่ได้เป็นทางเดินรถเท่านั้น แต่เป็นสิ่งที่สะท้อนว่าถึงการจัดการปัญหาที่สั่งสมมานานได้อย่างเป็นรูปธรรม