svasdssvasds

กระจกตาชีวภาพ ไม่ต้องรอบริจาค ความหวังใหม่ในการมองเห็น

กระจกตาชีวภาพ  ไม่ต้องรอบริจาค ความหวังใหม่ในการมองเห็น

การผ่าตัดเปลี่ยนกระจกตา เป็นหนึ่งวิธีหลัก ที่ทำให้ผู้ป่วยที่ตาบอดกลับมามองเห็นได้อีกครั้ง ซี่งมีราคาค่อนข้างสูง และการปลูกถ่ายกระจกตานั้นมีความเสี่ยงที่ล้มเหลวได้เหมือนกัน อาจเกิดการแทรกซ้อนรุนแรงหลังผ่าตัดได้

เนื่องจากอวัยวะที่ปลูกถ่ายเข้ากันไม่ได้บางกรณีต้องใช้กระจกตาเทียม ร่วมกับที่ได้รับบริจาคมา แต่ก็ไม่ได้ช่วยให้ความเสี่ยงเหล่านี้ลดลงเลย

 

ReLIFE จึงได้สร้างโรงงานผลิตกระจกตาเทียมจากวัสดุชีวภาพแบบฝัง Stem cell และ Growth เพื่อลดต้นทุนค่ารักษา ลดเวลารอรับบริจาคกระจกตาเทียม เร่งช่วยคนไข้ที่มีปัญหาทางสายตาจนถึงตาบอด ร่วมด้วยนักวิจัยที่ศึกษา ด้านวิศวกรรมเนื้อเยื่อ Tissue engineering/ Bioengineering  จาก Cambridge และ สวทช. และทีมจักษุแพทย์จุฬาฯ โดยมี ฟรุตต้า ไบโอเมด ร่วมลงทุน ทุ่มเงินถึง 50 ล้านบาท

ข่าวที่น่าสนใจ

 

ปัจจุบันมีผู้ป่วยด้วยโรคทางกระจกตามากกว่า 10 ล้านคนทั่วโลก และรอการบริจาคกระจกตา เพื่อใช้ในการรักษาจำนวนมาก ซึ่งหลายประเทศทั่วโลกรวมถึงประเทศไทยมีปัญหาขาดแคลนกระจกตาบริจาค ไม่เพียงพอต่อความต้องการ

จึงได้มีการ พัฒนาไฮโดรเจล หรือ เจลลี่ทำจากวัสดุชีวภาพ ให้มีความใสและความโค้งเหมือนกับกระจกตามนุษย์ โดยไฮดรเจลชนิดพิเศษนี้จะมี Stem Cell (เซลล์ต้นกำเนิด) จากผู้ป่วยและ Growth Factor (สารธรรมชาติที่กระตุ้นการเจริญเติบโตของเซลล์) ที่กระตุ้นให้เกิดการสร้างเนื้อเยื่อกระจกตาใหม่ และยังเสริมความแข็งแรงด้วยเส้นใยนาโนเลียนแบบคอลลาเจน ทำให้กระจกตาเทียมชีวภาพมีความเหนียวเท่ากระจกตามนุษย์  ซึ่งสามารถนำไปปลูกถ่ายและรักษากระจกตาผู้ป่วยได้ทันทีไม่ต้องรอกระจกตาบริจาค

 

จากความสำเร็จนี้ ทีมวิจัย จึงได้ตัดสินใจ Spin-off เป็นบริษัท ReLIFE เพื่อผลักดันกระบวนการทดสอบผลิตภัณฑ์กับคนไข้จริงในระดับ Clinical Trial และกระบวนการรับรองผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์จาก อย. อเมริกา ให้สามารถนำเทคโนโลยีนี้ไปใช้ในการรักษาผู้ป่วยทั่วโลกได้เร็วที่สุด โดยการจัดตั้งบริษัทในครั้งนี้ได้รับการสนับสนุนจาก ดร.วรรณพ วิเศษสงวน ผู้อำนวยการศูนย์ BIOTEC และศูนย์บริหารจัดการเทคโนโลยี สวทช. และที่สำคัญบริษัท ฟรุตต้า ไบโอเมด ได้ให้การสนับสนุนเงินลงทุน และเข้ามาช่วยวางกลยุทธ์ทางธุรกิจเพื่อผลักดันให้ ReLIFE เป็นบริษัทแรกของโลกที่สามารถสร้างกระจกตาเทียมด้วยเทคโนโลยีวิศวกรรมเนื้อเยื่อ (Tissue Engineering) ได้สำเร็จ