svasdssvasds

ชุด "เหยี่ยวดง" กรมอุทยานฯ เข้มจับกุม! ซื้อขายสัตว์ป่าคุ้มครองผ่านสื่อออนไลน์

ชุด "เหยี่ยวดง" กรมอุทยานฯ เข้มจับกุม! ซื้อขายสัตว์ป่าคุ้มครองผ่านสื่อออนไลน์

กรมอุทยานฯ แจงหลังองค์กรประเมินผลการซื้อขายสัตว์ป่าคุ้มครองผ่านสื่อออนไลน์ในไทย หลังถูกพบว่าเป็นศูนย์กลาง 9 ใน 12 เพจค้าสัตว์ป่ายังเคลื่อนไหว ยันชุด “เหยี่ยวดง”จับกุมอย่างเข้มข้น

กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช แจงหลังองค์กรประเมินผลการซื้อขายสัตว์ป่าคุ้มครองผ่านสื่อออนไลน์ในไทย หลังถูกพบว่าเป็นศูนย์กลาง 9 ใน 12 เพจค้าสัตว์ป่ายังเคลื่อนไหว ยันชุด “เหยี่ยวดง”จับกุมอย่างเข้มข้น แถมสายด่วน 1362 มีข้อมูลจากประชาชนเพียบ ส่วนปัญหากฎหมายไม่ขลัง ปรับถูก ลงโทษเบาล่าสุด ครม.โดยกระทรวงทรัพย์ฯอยู่ระหว่างส่งเรื่องให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ แก้ไขกฏหมายแล้ว

ปัญหาค้าสัตว์ป่าทางสื่อออนไลน์ยังมีอย่างต่อเนื่องทั้งนี้จากการสำรวจขององค์กรประเมินผลการซื้อขายสัตว์ป่าคุ้มครองในประเทศไทยผ่านทางสื่อออนไลน์หรือเฟซบุ๊ก (TRAFFIC ) ได้ระบุว่าผลวิจับและสำรวจข้อมูลการซื้อขายสัตว์ป่าผิดกฎหมายผ่านสื่อสังคมออนไลน์พบว่าประเทศไทยยังคงเป็นศูนย์กลางค้าสัตว์ป่าผิดกฎหมาย และมีแนวโน้มเติบโตมากขึ้น ปัญหาต่อมาคือกว่าครึ่งของสัตว์ป่าเป็นชนิดพันธุ์ที่ได้รับการคุมครองตาม พรบ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535

จากการสำรวจพบว่าในประเทศไทย มีผู้ค้าสัตว์ป่าออนไลน์ 12 กลุ่มเหลืออยู่ 9 กลุ่มยังมีการเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่อง ส่วนประเด็นสุดท้ายที่ TRAFFIC ห่วงใยและสนับสนุนให้แก้ไขคือ พรบ.สงวนและคุ้มครองสัตวืป่า พ.ศ.2535 มีช่องโหว่อยู่มาก ลงโทษเบา ไม่สามารถจัดการกับขบวนการค้าสัตว์ป่าอย่างมีประสิทธิภาพจึงสนับสนุนให้ประเทยไทยปฏิรูป พรบ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 โดยคำนึงถึงชนิดพันธุ์ที่ถูกคุกคามที่ยังไม่ถูกบรรจุไว้ในกฎหมายให้มากขึ้น รวมทั้งให้การคุ้มครองชนิดพันธุ์ต่างประเทศที่อยู่ในบัญชีอนุสัญญาไซเตส ด้วย

จากประเด็นดังกล่าวนายธัญญา เนติธรรมกุล อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช ได้ชี้แจงเมื่อวันที่ 14 ก.ย.2561 โดยมีรายละเอียดว่า

ประเทศไทยเป็นประเทศภาคี อนุสัญญา CITES มีความมุ่งมั่นที่จะป้องกันปราบปรามการลักลอบค้าสัตว์ป่าที่ผิดกฎหมายทุกรูปแบบทั้งในระดับชาติ และนานาชาติ ดังจะเห็นได้จากผลการปราบปรามจับกุมที่ผ่านมาตามลำดับ การลักลอบซื้อขายสัตว์ป่าผิดกฎหมายผ่านสื่อสังคมออนไลน์นับว่าเป็นปัญหาที่สำคัญในปัจจุบัน เนื่องจากกระทำได้ง่าย รวดเร็วและติดตามจับกุมได้ยาก สัตว์ป่าที่เสนอซื้อขายในสื่อสังคมออนไลน์ พบว่าส่วนใหญ่เป็นสัตว์ป่าต่างประเทศที่ไม่ได้อยู่ในบัญชีสัตว์ป่าสงวนและสัตว์ป่าคุ้มครอง โดยพบว่ามีชนิดสัตว์ป่าทั้งในและนอกบัญชีอนุสัญญา CITES ซึ่งกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ได้มีแนวทางในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว ดังนี้

1. การจัดตั้งชุดปฏิบัติการ “เหยี่ยวดง” เพื่อเป็นชุดปฏิบัติการภาคสนามในการป้องกันปราบปรามการซื้อขายสัตว์ป่าผิดกฎหมายในสื่อสังคมออนไลน์โดยตรง ซึ่งภายหลังจากการจัดตั้งชุดปฏิบัติการเหยี่ยวดง สามารถจับกุมดำเนินคดีผู้กระทำผิด ได้ทั้งสิ้นจำนวน 79 คดี ผู้ต้องหา 81 คน นก 752 ตัว สัตว์เลื้อยคลาน 925 ตัว สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม 29 ตัว งาช้าง 10 กิ่ง เกล็ดลิ่น 900 กรัม ซากสัตว์ป่า 668 ซาก

2. ร่วมกับองค์กรต่าง ๆ รณรงค์ การไม่ซื้อ ไม่ขายสัตว์ป่าผิดกฎหมายอย่างต่อเนื่อง นอกจากนั้นยังได้ร่วมมือกับ โครงการ USAID WILDLIFE ASIA ดำเนินโครงการติดตามแจ้งเตือนการซื้อขายสัตว์ป่าผิดกฎหมายออนไลน์ ผ่านการค้นหาข้อมูลใน Google เพื่อให้ความรู้กับผู้ใช้ระบบออนไลน์ไม่ร่วมมือหรือทำการซื้อขายสัตว์ป่าผิดกฎหมาย

3. เพิ่มประสิทธิภาพ ศูนย์สายด่วนผู้พิทักษ์ป่า 1362 เพื่อรับการแจ้งเหตุ การแจ้งเบาะแส การกระทำผิดกฎหมายเกี่ยวกับสัตว์ป่าและพืชป่า จากประชาชน จากการปฏิบัติงานที่ผ่านมาสามารถใช้ข้อมูลที่ได้รับแจ้งนำไปเป็นเบาะแสในการจับกุมได้จำนวนมาก

4.สำหรับประเด็นที่กล่าวว่าพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 ยังมีช่องโหว่และบทกำหนดโทษที่เบานั้น ขณะนี้กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ได้เสนอร่างพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. ......... เพื่อปรับปรุงแก้ไขกฎหมายดังกล่าว ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ตลอดจนการเพิ่มบทกำหนดโทษให้หนักขึ้นแล้ว พร้อมทั้งได้มีการแก้ไขปัญหาการจัดการสัตว์ป่าต่างประเทศที่อยู่ในประเทศให้ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย โดยกำหนดให้สัตว์ป่าต่างประเทศที่อยู่ในบัญชีของอนุสัญญา CITES เป็น “สัตว์ป่าควบคุม” เพื่อให้การบริหารจัดการ การครอบครอง การเพาะเลี้ยง และการค้า สอดคล้องกับข้อกำหนดในอนุสัญญา CITES โดยคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2560 อนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติละสิ่งแวดล้อมเสนอแล้ว ขณะนี้อยู่ในชั้นการพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ทั้งนี้เมื่อผ่านการพิจารณาจากสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาแล้ว คณะรัฐมนตรีจะส่งเรื่องให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาตามขั้นตอน ต่อไป

ชุด "เหยี่ยวดง" กรมอุทยานฯ เข้มจับกุม! ซื้อขายสัตว์ป่าคุ้มครองผ่านสื่อออนไลน์ ชุด "เหยี่ยวดง" กรมอุทยานฯ เข้มจับกุม! ซื้อขายสัตว์ป่าคุ้มครองผ่านสื่อออนไลน์ ชุด "เหยี่ยวดง" กรมอุทยานฯ เข้มจับกุม! ซื้อขายสัตว์ป่าคุ้มครองผ่านสื่อออนไลน์ ชุด "เหยี่ยวดง" กรมอุทยานฯ เข้มจับกุม! ซื้อขายสัตว์ป่าคุ้มครองผ่านสื่อออนไลน์

related