svasdssvasds

6 หน่วยงาน นำร่องช่วยกลุ่มเด็กเปราะบางคืนสู่ห้องเรียน 

6 หน่วยงาน นำร่องช่วยกลุ่มเด็กเปราะบางคืนสู่ห้องเรียน 

กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) จับมือ 5 หน่วยงาน จัดกิจกรรมเสริมความพร้อมส่งน้องไปโรงเรียน ให้แก่เด็กกลุ่มเปราะบาง บนท้องถนน ที่มีแนวโน้มหลุดจากระบบการศึกษา กลับคืนสู่ห้องเรียน ต้อนรับเปิดเทอมนี้

ดร.ไกรยส ภัทราวาท รองผู้จัดการกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา เปิดเผยว่า กิจกรรมนี้จะเป็นจุดเริ่มต้นของความร่วมมือในอนาคตระหว่าง กสศ. กรุงเทพมหานคร กรมกิจการเด็กและเยาวชน กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ มูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก เครือข่ายองค์กรทำงานเพื่อเด็กเร่ร่อน และ ศูนย์วิจัยและพัฒนาด้านเด็กและเยาวชน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อวิจัยพัฒนาแนวทางการช่วยเหลือเด็กกลุ่มเปราะบาง บนวิถีชีวิตถนน ที่มีแนวโน้มจะหลุดออกนอกระบบการศึกษาที่สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่อย่างยั่งยืน ใน 3 ด้านสำคัญ

6 หน่วยงาน นำร่องช่วยกลุ่มเด็กเปราะบางคืนสู่ห้องเรียน 

คือ 1.การจัดทำระบบฐานข้อมูลสารสนเทศเพื่อบูรณาการความช่วยเหลือเด็กและเยาวชนร่วมกันระหว่างหน่วยงาน ทั้งภาครัฐ ภาควิชาการ ภาคประชาสังคม และ ภาคเอกชนในอนาคต 2.สนับสนุนการทำงานให้กับครูศูนย์สร้างโอกาสเด็ก กทม. รวมถึงครูอาสา ครูนอกระบบเพื่อติดตามช่วยเหลือ เด็กกลุ่มนี้เป็นรายกรณีอย่างเป็นระบบ (Case Management System) ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจากภาคส่วนต่างๆ และ 3.การศึกษาวิจัยแนวทางการวางแผนการศึกษาของเด็กเยาวชนกลุ่มนี้ที่มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับความถนัดและศักยภาพเป็นรายบุคคล เพื่อสนับสนุนความมั่นคงทางอาชีพและครอบครัวในอนาคต รวมทั้งเสริมศักยภาพให้กับเด็ก รวมถึงครอบครัวให้มีกิจกรรมเสริมรายได้หรืออาชีพทางเลือกที่เหมาะสมตามวัย ไม่มีความเสี่ยง ช่วยลดอุปสรรคในการไปโรงเรียนจากความยากจน แต่สามารถสร้างรายได้เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนได้

6 หน่วยงาน นำร่องช่วยกลุ่มเด็กเปราะบางคืนสู่ห้องเรียน 

" เบื้องต้นจะนำร่องเก็บข้อมูลกลุ่มเด็กที่ทำงานบนท้องถนนในพื้นที่กรุงเทพมหานครก่อน โดยเฉพาะรัศมี 10 กิโลเมตรรอบอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ โดยทำงานวิจัยด้วยความเข้าใจเข้าไปฟังเสียงจากเด็กๆ เยาวชนๆ ครอบครัวในพื้นที่โดยตรงว่า ต้องการหรือขาดสิ่งใด เราต้องเข้าไปดูปัญหาของของครอบครัว ชุมชน เพื่อหาทางออกในระยะยาว "

ด้านนางสาวทองพูล บัวศรี ผู้จัดการโครงการมูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก กล่าวว่า  การแก้ปัญหาเด็กกลุ่มนี้ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ ต้องตามติดไปถึงชุมชนเข้าไปทำความรู้จักรายครอบครัวอย่างใกล้ชิด เพื่อสร้างความไว้ใจ เพราะแต่ละครอบครัวมีปัญหาที่แตกต่างกัน

6 หน่วยงาน นำร่องช่วยกลุ่มเด็กเปราะบางคืนสู่ห้องเรียน 

ขณะที่นายกุลธร เลิศสุริยะกุล ประธานเครือข่ายองค์กรทำงานเพื่อเด็กเร่ร่อน กล่าวอีกว่า คนที่เข้าใจปัญหาเด็กเร่ร่อนที่สุด คือ ครูอาสา กระจายตัวอยู่ทั่วประเทศประมาณ 180-200 คน  ดังนั้นจึงต้องใช้กลไกครูเหล่านี้เข้ามาช่วยและถือเป็นกลไกสำคัญในการแก้ปัญหา

related