svasdssvasds

กรมทรัพยากรธรณี เผยโฉม ไดโนเสาร์สายพันธุ์ใหม่ของโลก ตัวที่ 11 ของไทย

กรมทรัพยากรธรณี เผยโฉม ไดโนเสาร์สายพันธุ์ใหม่ของโลก ตัวที่ 11 ของไทย

กรมทรัพยากรธรณี ค้นพบไดโนเสาร์กินเนื้อชนิดใหม่ของโลก "วายุแรพเตอร์ หนองบัวลำภูเอนซิส" ฉายาจ้าวลมกรด อายุ 130 ล้านปี ขุดค้นพบที่ อุทยานแห่งชาติภูเก้า-ภูพานคำ จ.หนองบัวลำภู ถือเป็นไดโนเสาร์ตัวที่ 11 ของไทย

วันที่ 12 พ.ย.2562 ที่บริเวณริมออ่างเก็บน้ำห้วยน้ำบอง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ สะพานเชื่อมฮัก@ตาดไฮ บ้านตาดไฮ ต.โคกม่วง อ.โนนสัง จ.หนองบัวลำภู นายมนตรี เหลืองอิงคะสุต รองอธิบดีกรมทรัพยากรธรณี ในฐานะโฆษกกรม นายสมเจตน์ จงศุภวิศาลกิจ ผู้ว่าราชการจังหวัดหนองบัวลำภูและ ดร.อดุลย์ สมาธิ นักวิจัยศูนย์วิจัยและการศึกษาบรรพชีวิน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ร่วมกันแถลงข่าว การค้นพบไดโนเสาร์สายพันธุ์ไหม่ของไทย ตัวที่ 11 และยังถือว่าเป็นสายพันธุ์ใหม่ของโลก

กรมทรัพยากรธรณี เผยโฉม ไดโนเสาร์สายพันธุ์ใหม่ของโลก ตัวที่ 11 ของไทย

ชื่อว่า วายุแรพเตอร์ หนองบัวลำภูเอนซิส (Vayuraptor nongbualamphuensis)  ฉายาจ้าวลมกรด เป็นไดโนเสาร์กินเนื้อขนาดกลาง สกุลใหม่และชนิดใหม่ของโลกในประเทศไทย ขนาดลำตัวยาวประมาณ 4 - 4.5 เมตร อายุ 130 ล้านปี ค้นพบที่อุทยานแห่งชาติภูเก้า-ภูพานคำ จ.หนองบัวลำภู โดยนายพลาเดช ศรีสุข เจ้าหน้าที่ศูนย์วิจัยและการศึกษาบรรพชีวิน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เมื่อปี 2531

โดยการค้นพบเนื่องจากได้มีชาวบ้าน ขึ้นไปหาของป่าและได้พบกับชิ้นส่วนของกระดูกดังกล่าว เมื่อปี 2531 จากนั้น ทาง นักวิจัยศูนย์วิจัยและการศึกษาบรรพชีวิน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้นำเอาชิ้นส่วนดังกล่าวไปทำการศึกษาวิจัยร่วมกับนักวิจัยในต่างประเทศ จนทราบว่า ชิ้นส่วนกระดูกส่วนของข้อเท้านั้น ไม่เหมือนกับกระดูกของไดโนเสาร์สายพันธุ์ใดของโลก

กรมทรัพยากรธรณี เผยโฉม ไดโนเสาร์สายพันธุ์ใหม่ของโลก ตัวที่ 11 ของไทย

สำหรับ ชื่อสกุลของ วายุแรพเตอร์ หนองบัวลำภูเอนซิส นั้น ได้มาจากภาษาสันสกฤต วายุ หรือพระพาย เทพแห่งลม ผสมกับ raptor ภาษาลาติน แปลว่า หัวขโมย สื่อถึงไดโนเสาร์ ที่มีความเร็วปราดเปรียว ตั้งขึ้นตามลักษณะขาหลังที่ยาวเรียว ส่วนชื่อชนิด ตั้งตามจังหวัดที่ค้นพบ

วายุแรพเตอร์ หนองบัวลำภูเอนซิส จัดอยู่ในกลุ่มเบชอลซีลูโรชอร์ (basal coelurosaurs)  ไดโนเสาร์กินเนื้อที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับนกมากกว่า ไดโนเสาร์กินเนื้อขนาดใหญ่อื่นๆ (อาทิ อัลโลซอรัส เมกะโลชอรัส สไปโนซอรัส)

หากเทียบหมวดหินเสาขัวแห่งเทือกเขาภูเวียงและภูวัดกับทุ่งหญ้าสะวันนา วายุแรพเตอร์ หนองบัวลำภูเอนซิส ก็เปรียบได้กับ "เสือชีต้า" ที่มีความปราดเปรียว สยามโมไทแรนนัส อิสานเอนซิส เปรียบได้กับ "สิงโต" ที่เป็นนักล่าขนาดใหญ่ และภูเวียงเวเนเตอร์ แย้มนิยมมิ ก็อาจเปรียบได้กับ "เสือดาว"

กรมทรัพยากรธรณี เผยโฉม ไดโนเสาร์สายพันธุ์ใหม่ของโลก ตัวที่ 11 ของไทย

นายสมเจตน์ จงศุภวิศาลกิจ ผู้ว่าราชการจังหวัดหนองบัวลำภู กล่าวว่า พื้นที่ที่มีการค้นพบไดโนเสาร์สายพันธุ์ใหม่ของไทย ตัวที่ 11 วายุแรพเตอร์ หนองบัวลำภูเอนซิส ถูกค้นพบในบริเวณอุทยานแห่งชาติภูเก้า-ภูพานคำ เทือกเขาภูเก้าเป็นเทือกเขาสองชั้น ชั้นนอกเป็นภูเขาสูงและมีความลาดชันมาก ทำให้ที่ภูเก้ามีจุดชมวิวลักษณะเป็นลานหินกว้างขนาดใหญ่สวยงามมากมาย มีเนื้อที่รวมทั้งสิ้นประมาณ 201,250 ไร่ หรือ 322 ตารางกิโลเมตร ในพื้นที่ จ.หนองบัวลำภู มีแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญในแถบเทือกเขาภูเก้า มีพิพิธภัณฑ์แหล่งซากดึกดำบรรพ์ บริเวณภูเก้า และแหล่งรอยตีนไดโนเสาร์ภูเก้า นอกจากนี้ยังมีพิพิธภัณฑ์หอยหิน ที่ ต.โนนทัน อ.เมือง ซึ่งเป็นหอยสองฝาน้ำจืด อายุ 130 ล้านปี

กรมทรัพยากรธรณี เผยโฉม ไดโนเสาร์สายพันธุ์ใหม่ของโลก ตัวที่ 11 ของไทย

จากการศึกษาถึงวิวัฒนาการของไดโนเสาร์กลุ่มเบซอลซีลูโรซอร์นี้ นับว่ามีจำนวนและการศึกษาวิจัยน้อย อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มจำนวนและข้อมูลซากดึกดำบรรพ์ให้แก่ไดโนเสาร์ในหมวดหินเสาขัว ของประเทศไทย (หมวดหินเสาขัว มีการค้นพบไดโนเสาร์กินเนื้อขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ได้แก่ สยามโมไทแรนนัส อิสานเอนซิส, สยามโมซอรัส สุธีธรนิ, ภูเวียงเวเนเตอร์ แย้มนิยมมิ, คาคาร์โรดอนโตซอร์ และวายุแรพเตอร์ หนองบัวลำภูเอนซิส)

หากไดโนเสาร์กินเนื้อเหล่านี้อยู่ในยุคและแหล่งอาศัยเดียวกัน ก็มีความเป็นไปได้ว่า พวกมันจะมีพฤติกรรมที่ต่างกัน เช่น วิธีการล่าเหยื่อ ช่วงเวลาในการล่า รวมถึงการกินอาหารที่แตกต่างกัน ดังเช่นในทุ่งหญ้าสะวันนาที่มีสัตว์นักล่าที่หลากหลายทั้งขนาดและพฤติกรรม เช่น สิงโต เสือดาว เสือชีต้า และไฮยีน่า เป็นต้น

กรมทรัพยากรธรณี เผยโฉม ไดโนเสาร์สายพันธุ์ใหม่ของโลก ตัวที่ 11 ของไทย

นอกจากนี้ กรมทรัพยากรธรณียังได้พัฒนาแหล่งซากดึกดำบรรพ์ให้เป็นแหล่งเรียนรู้และแหล่งท่องเที่ยว โดยจัดสร้างพิพิธภัณฑ์และอาคารคลุมหลุมขุดค้น 2 แห่ง ในบริเวณอุทยานแห่งชาติภูเก้า-ภูพานคำ ที่เป็นแหล่งค้นพบซากดึกดำบรรพ์หลากหลายประเภท ได้แก่ กระดูกไดโนเสาร์ ฟันฉลามน้ำจืด เกร็ดปลา กระดองเต่า จระเข้ หอยน้ำจืด รอยตีนไดโนเสาร์ และไม้กลายเป็นหิน และมอบให้ทางอุทยานฯ เป็นผู้ดูแลใช้ประโยชน์ต่อไป

กรมทรัพยากรธรณีจะดำเนินการประกาศให้เป็นซากดึกดำบรรพ์ขึ้นทะเบียน ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองซากดึกดำบรรพ์ พ.ศ.2551 ต่อไป

ขอบคุณภาพและข้อมูล กรมทรัพยากรธรณี

related