svasdssvasds

น้ำเหลือน้อย! กรมชลประทานเผย 4 เขื่อนหลักลุ่มเจ้าพระยาเหลือน้ำใช้ 18 %

น้ำเหลือน้อย! กรมชลประทานเผย 4 เขื่อนหลักลุ่มเจ้าพระยาเหลือน้ำใช้ 18 %

กรมชลประทาน เผย สถานการณ์น้ำใน 4 เขื่อนหลัก ลุ่มน้ำเจ้าพระยา เหลือน้ำในอ่างร้อยละ 40 แต่มีน้ำใช้การได้ 3,357 ล้านลบ.ม. หรือร้อยละ 18

ภัยแล้ง- วันที่ 22 ก.พ. 2563 ศูนย์ปฎิบัติการน้ำอัจฉริยะ (SwOC) กรมชลประทาน รายงานสรุปสถานการณ์ลุ่มน้ำเจ้าพระยา ประจำวันศุกร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ 2563 สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำ 4 เขื่อนหลักลุ่มน้ำเจ้าพระยา ปริมาณน้ำรวมทั้งสิ้น 10,053 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 40 (ปริมาณน้ำใช้การได้ 3,357 ล้าน ลบ.ม.คิดเป็นร้อยละ 18) ปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯ จำนวน 2.14 ล้าน ลบ.ม. ปริมาณน้ำระบาย จำนวน 18.48 ล้าน ลบ.ม. สามารถรับน้ำได้อีก 14,818 ล้าน ลบ.ม. โดยแยกเป็น

1.เขื่อนภูมิพล ปริมาณน้ำ 5,134 ล้าน ลบ.ม. (38% ของความจุอ่างฯ) น้ำใช้การได้ 1,334 ล้าน ลบ.ม. ไหลลงอ่างฯ 0.00 ล้าน ลบ.ม. ระบาย 7.00ล้าน ลบ.ม. รับน้ำได้อีก 8,328 ล้าน ลบ.ม.

2.เขื่อนสิริกิติ์ ปริมาณน้ำ 4,366 ล้าน ลบ.ม. (46% ของความจุอ่างฯ) น้ำใช้การได้ 1,516 ล้าน ลบ.ม. ไหลลงอ่างฯ 1.68ล้าน ลบ.ม. ระบาย 9.49 ล้าน ลบ.ม. รับน้ำได้อีก 5,144 ล้าน ลบ.ม.

3.เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน ปริมาณน้ำ 372 ล้าน ลบ.ม. (40% ของความจุอ่างฯ) น้ำใช้การได้ 329 ล้าน ลบ.ม. ไหลลงอ่างฯ 0.46ล้าน ลบ.ม.ระบาย 1.12 ล้าน ลบ.ม. รับน้ำได้อีก 567 ล้าน ลบ.ม.

4.เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ปริมาณน้ำ 181 ล้าน ลบ.ม. (19% ของความจุอ่างฯ) น้ำใช้การได้178 ล้าน ลบ.ม. ไหลลงอ่างฯ 0.00 ล้าน ลบ.ม. ระบาย 0.87 ล้าน ลบ.ม. รับน้ำได้อีก 779 ล้าน ลบ.ม.

ทั้งนี้ แผนจัดสรรน้ำลุ่มน้ำเจ้าพระยาฤดูแล้งปี 2562/63 ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2562 ถึงวันที่ 30 เมษายน 2563 มีความต้องการน้ำตลอดฤดูแล้งปี 2562/63 จำนวน 5,434 ล้าน ลบ.ม. แบ่งเป็นแผน จัดสรรน้ำฤดูแล้ง พ.ย.62 – เม.ย.63 จำนวน 4,000 ล้าน ลบ.ม. (ผันน้ำจากลุ่มน้ำแม่กลอง 500 ล้าน ลบ.ม.)

ในปัจจุบัน (21 ก.พ.63) จัดสรรน้ำฤดูแล้ง (4,000 ล้าน ลบ.ม.) ไปแล้ว 2,854 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 63 ของแผน

ทั้งนี้เนื่องจากสภาพน้ำต้นทุนมีจำกัด ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน และปฏิบัติตามแผนอย่างเคร่งครัด เพื่อให้การบริหารจัดการน้ำเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

สถานการณ์ความเค็มในแม่น้ำเจ้าพระยา (ณ วันที่ 21 ก.พ. 63)

1.สถานีประปาสำแล ค่าความเค็ม 0.19 กรัม/ลิตร อยู่ในเกณฑ์ปกติ

2.สถานีท่าน้ำนนท์ค่าความเค็ม 1.64 กรัม/ลิตร สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน

3.สถานีกรมชลประทานสามเสน ค่าความเค็ม 2.53 กรัม/ลิตร สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน

(ค่าความเค็มของน้ำสำหรับการเกษตรไม่เกิน 2 กรัม/ลิตร และ สำหรับการผลิตน้ำประปาไม่เกิน 0.50 กรัม/ลิตร)

related