svasdssvasds

เกษตรกร 1 ล้านราย มีแววไม่ได้รับ เงินเยียวยาเกษตรกร

เกษตรกร 1 ล้านราย มีแววไม่ได้รับ เงินเยียวยาเกษตรกร

ติดตามข่าวสารได้ที่ https://www.springnews.co.th

เงินเยียวยาเกษตรกร เป็นมติที่เห็นชอบให้ช่วยเหลือด้วยการจ่ายเงินโดยตรง จำนวน 5,000 บาทต่อเดือน เป็นระยะเวลา 3 เดือน ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2563 - กรกฎาคม 2563 จากการเช็กรายชื่อกรมส่งเสริมการเกษตรต้องผงะ เพราะมีเกษตรกรกว่า 1 ล้านราย ยังไม่ได้ปรับปรุงทะเบียน

 

แบ่งเป็นเกษตรกร 2 กลุ่ม คือ กลุ่มแรกเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนไว้กับ กรมส่งเสริมการเกษตร กรมประมง กรมปศุสัตว์ จำนวน 8.43 ล้านราย และกลุ่มที่ 2 เกษตรกรที่อยู่ระหว่างการตรวจสอบข้อมูลการขึ้นทะเบียนเกษตรกร ไม่เกิน 1.57 ล้านราย

 

การจ่าย เงินเยียวยาเกษตรกร นั้น ในส่วนเกษตรกรผู้ปลูกพืชที่ได้ปรับปรุงเกษตรกร ปี 2563 แล้ว จจำนวน 6.3 ล้านครัวเรือน ขอให้ไปตรวจสอบรายชื่อที่ติดประกาศภายในชุมชน (ตามที่ตั้งแปลงปลูก) ภายในวันที่ 10 พฤษภาคม 2563 หากมีรายชื่ออยู่ในกลุ่มแรกนี้ ไม่จำเป็นต้องดำเนินการใดต่อ

ซึ่งเกษตรกรกลุ่มเป้าหมายแรกที่มีรายชื่อนี้ จะส่งไปคัดกรองเข้าร่วมโครงการช่วยเหลือเกษตรกร ที่ได้รับผลกระทบจาก โควิด 19 และขอให้รอผลคัดกรองตรวจสอบสิทธิในการเข้าร่วมโครงการ และ ธ.ก.ส. จะโอนเงินผ่านบัญชีธนาคารทันที

นอกจากนี้ ยังมีเกษตรกรอีก 1 ล้านราย ที่ยังไม่ได้ปรับปรุงการขึ้นทะเบียนใหม่ จะไม่เข้าสิทธิ์รัฐเงื่อนไขในการจ่ายเงินเยียวยาเกษตรกร ดังนั้นถ้าต้องการความช่วยเหลือต้องเร่งไปปรับปรุงทะเบียนภายในวันที่ 15 พ.ค. นี้

โดยมีเงื่อนไขว่าเกษตรกรที่จะได้รับ เงินเยียวยาเกษตรกร จากรัฐบาลนั้น ต้องปรับปรุงทะเบียนเกษตรกรให้เป็นปัจจุบัน ต้องรีบไปแจ้งสิทธิ์เกษตรกรอำเภอ/จังหวัก ปฏิบัติงานทุกวันไม่เว้นวันหยุด เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรให้เข้าถึงเงินเยียวยามากที่สุด หากมีข้อสงสัยสามารถโทรสอบถามได้ทันทีและเลี่ยงการเดินทาง

 

ขณะที่เลขาธิการสภาเครือข่ายเกษตรกรชาวสวนยางแห่งประเทศไทย (สคยท.) และในฐานะกรรมการการยางแห่งประเทศไทย (บอร์ด กยท.) เผยว่า เห็นข่าวที่สับสนเรื่องเกษตรกรชาวสวนยางกับการเยียวยาผลกระทบจากโควิด จึงขอแสดงความคิดเห็นจากความเข้าใจส่วนตัว ดังต่อไปนี้ กรมส่งเสริมการเกษตร กรมประมง และกรมปศุสัตว์ ส่วนข้อมูลจากการยางแห่งประเทศไทย แค่เอามาประกอบการพิจารณาความซ้ำซ้อน ดังนั้นรายชื่อเกษตรกรชาวสวนยาง กยท.ก่อน 1 เม.ย.2563 มีทั้งสิ้น 1,756,759ราย ที่มีทั้งเจ้าของสวนยาง ผู้ทำสวนยาง ผู้เช่า ที่มีเอกสารสิทธิ์(บัตรสีเขียว) และไม่มีเอกสารสิทธิ์(บัตรสรชมพู) รวมทั้งคนกรีดยาง(บัตรสีเขียว)

“ขอย้ำว่ายังไม่มีคนกรีดยางบัตรสีชมพู ซึ่งมีหมายเลขบัตรประชาชนในสมุดเล่มเขียว(ทบก.) 1,478,621 ราย แต่เป็นหัวหน้าครัวเรือนเพียง 1,114,713 ราย เป็นสมาชิกครัวเรือนเกษตรกร(ทบก.) 363,908 ราย และที่ไม่มีชื่อในสมุดเล่มเขียวอีก 278,138 ราย แต่ส่วนนี้ไปมีชื่อในทะเบียนบ้านของเกษตรกรที่มี ทบก.อีก 168,102 ราย ดังนั้นเหลือรายชื่อเกษตรกรชาวสวนยางที่ไม่อยู่ใน ทบก.และทะเบียนบ้านของเกษตรกรที่มี ทบก.อีกเพียง 110,036 รายเท่านั้น”

การจ่ายเงินเยียวยาผลกระทบจากโควิด จ่ายให้หัวหน้าครัวเรือนเกษตรกรที่ลงทะเบียนเกษตรกับกรมส่งเสริมการเกษตร(สมุดเล่มเขียว) สรุปง่ายๆครัวเรือนละ 5,000 บาท ระยะเวลา 3 เดือน ดังนั้นอย่าเข้าใจผิด ว่า จ่ายเป็นรายให้เกษตรกรชาวสวนยางตามทะเบียนของ กยท.

 

ส่วนคนกรีดยางที่มีสมุดเล่มเขียว โดยเป็นหัวหน้าครัวเรือน 51,190 ราย และเป็นสมาชิกครัวเรือนเกษตรกร 61,822 ราย ก็คงไปแจ้งการปลูกพืชชนิดอื่น และยังไม่รู้ว่าคนกรีดยางไปแจ้งการทำการประมงและปศุสัตว์อีกกี่ราย การได้รับเงินเยียวยา ได้เพียง 1 สิทธิเท่านั้น

"ยังมีคนกรีดยางที่ไม่มีเอกสารสิทธิ์ที่ไปลงทะเบียนอาชีพอิสระ คนไทยไม่ทิ้งกัน ก็ได้รับเงินเยียวยาแต่ไม่ทราบจำนวน เพราะคนกลุ่มนี้ตอนแรกไม่มีชื่อในสารบบเกษตรกรของหน่วยงานใดๆเลย จึงลงเป็นอาชีพลูกจ้างกรีดยางและมีนายจ้าง เลยได้รับการเยียวยา ดังนั้นจะมีเกษตรกรที่ยังคงตกค้าง ทั้งเจ้าของสวนยาง คนทำสวนยาง ผู้เช่า และคนกรีดยาง ที่ไม่มีชื่อใน ทบก.และทะเบียนบ้านของเกษตรที่มี ทบก.อีกจำนวนหนึ่งต้องรอความชัดเจนหลังวันที่ 15 พ.ค.2563 จึงจะสรุปได้ว่าต้องดำเนินการต่ออย่างไร แต่ สคยท.กำลังประสานงานผลักดันเพื่อให้เกษตรกรชาวสวนยางทุกครัวเรือนได้รับ เงินเยียวยาเกษตรกร อย่างทั่วถึง"

 

ข้อมูล ฐานเศรษฐกิจ

related