svasdssvasds

เรื่องร้อนรอบวัน : หอศิลป์ใครควรดูแล

เรื่องร้อนรอบวัน : หอศิลป์ใครควรดูแล

ติดตามข่าวสารได้ที่ https://www.springnews.co.th

หลังจากที่ พล.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมนาคร ออกมาระบุว่า พรุ่งนี้ (15 พ.ค.61) จะเสนอต่อสภากทม.ให้พิจารณา กรณีดึงหอศิลป์กรุงเทพฯ กลับมาทำการบริหารเอง จากเดิมที่ได้มอบหมายให้มูลนิธิหอศิลปวัฒนธรรมกรุงเทพมหานคร ดำนินการบริหารจัดการ โดยลงนามในสัญญาเป็นเวลา 10 ปี และจะหมดสัญญาในปี 2564 โดยให้เหตุผลอ้างว่า การบริหารจัดการของบอร์ดล้มเหลว ไร้ประสิทภาพ เห็นได้จากการที่เด็กนักเรียนไปเยี่ยมชมแต่กลับไม่มีที่นั่ง ต้องนั่งกับพื้น

เรื่องร้อนรอบวัน : หอศิลป์ใครควรดูแล

พร้อมกันนี้ กทม.ได้ตั้งงบสนับสนุนปีละ 45 ล้าน แต่ก็พบว่าผลประกอบการกลับขาดทุนตลอด จึงเกิดคำถามขึ้นอย่างกว้างขวาง ว่า ที่ผ่านมา มูลนิธิฯบริหารงานจนขาดทุน-ล้มเหลวจริงไหม? และ หากดึงมาให้ข้าราชการ กทม.บริหารจัดการ จะดีกว่าเก่าหรือไม่

เรื่องร้อนรอบวัน : หอศิลป์ใครควรดูแล

อย่างไรก็ตาม เราจะย้อนกลับไปดู คณะกรรมการมูลนิธิหอศิลป์ฯ ตั้งแต่ 2559-ปัจจุบัน

-นายอภิรักษ โกษะโยธิน

-นายปัญญา วิจินธนสาร

-นายไกรศักดิ์ ชุณหะวัณ

-นางชฎาทิพ จูตระกูล

-ศ.ดร.อภินันท์ โปษยานันท์

-นายเพชร โอสถานุเคราะห์

-นายจุมพล อภิสุข

-นายฉัตรชัย พรหมทัตตเวที

-นางวรรณพร พรประภา

-นายภราเดช พยัฆวิเชียร

ซึ่งถือเป็นส่วนผสมที่น่าสนใจ เพราะมีทั้งนักการเมือง นักวิชาการ นักธุรกิจ และ ผู้บริหาร

  เรื่องร้อนรอบวัน : หอศิลป์ใครควรดูแล

ขณะที่คณะกรรมการบริหาร ประกอบด้วย

-ผศ.สรรเสริญ มิลินทสูต

-สุภัทร วนกำจร

-มานิต ศรีวานิชภูมิ

-ธวัชชัย สมคง

-เจตน์ โศภิษฐ์พงศธร

-จักรพันธ์ วิลาสินีกุล

-วิภว์ บูรพาเดชะ

-วิโรจน์ ใจอารีรอบ

-ผศ.ประวิทย์ มหาสารินันทน์

เรื่องร้อนรอบวัน : หอศิลป์ใครควรดูแล

“บิ๊กวิน” ยืนยัน ไม่คิดทำลาย-แปรสภาพหอศิลป์!

พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร โพสต์ข้อความแฟนเพจเฟซบุ๊กชื่อ “ผู้ว่าฯ อัศวิน” ระบุว่า ” “Ars longa vita brevis” ประโยคดังกล่าวได้รับการแปลอย่างลึกซึ้ง โดย ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี มีใจความว่า “ศิลปะยืนยาว ชีวิตสั้น” แสดงถึงความสำคัญของศิลปะ ผมก็เป็นคนหนึ่งที่ต้องการสนับสนุนให้ประชาชนมีพื้นที่สาธารณะปราศจากการแทรกแซงเพื่อสร้างสรรค์งานศิลป์ ไม่ว่าจะใช้เพื่อการแสดงออก เพื่อศึกษาหรือร่วมแบ่งปันงานศิลป์ และหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร เป็นหนึ่งในจุดสำคัญของประเทศที่ใช้ในการทำกิจกรรมเหล่านี้

เรื่องร้อนรอบวัน : หอศิลป์ใครควรดูแล

จากการที่มีกระแสข่าวในทำนองว่า กทม.จะนำพื้นที่ในหอศิลป์ฯทั้งหมดไปทำอย่างอื่น?หรือ แม้กระทั่งนำไปทำห้างสรรพสินค้า!? รวมไปถึงแคมเปญออกมา คัดค้านการที่กทม.จะเข้ามาบริหารจัดการหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานครด้วยตนเองนั้น

ผมคงต้องตอบว่า กทม. ไม่เคยคิด และไม่มีทางที่จะทำลายสถานที่แสดงศิลปะและวัฒนธรรมของประเทศเรา เพียงแต่เราต้องการพัฒนาสถานที่แห่งนี้ให้ได้ใช้ประโยชน์สูงสุด ปัจจุบันพื้นที่บางส่วนของหอศิลป์ฯ ยังไม่ได้มีการใช้ประโยชน์ เราต้องการนำพื้นที่เหล่านั้นมาพัฒนาให้เกิดประโยชน์ หนึ่งในแนวทางที่อยากจะปรับปรุงก็คือ การนำพื้นที่เหล่านั้นมาปรับเป็นให้เป็นสถานที่ที่ทุกคนได้เข้ามาใช้ สร้างสรรค์งานศิลป์ ทำงาน พบปะ และ แลกเปลี่ยนความคิดเห็น หรือที่เรียกกันว่า co-working space ในส่วนนิทรรศการก็ยังจะต้องใช้เพื่อแสดงงานศิลปะและวัฒนธรรมอย่างเดิม

เรื่องร้อนรอบวัน : หอศิลป์ใครควรดูแล

แต่การที่กทม.จะเข้าไปพัฒนาพื้นที่ส่วนที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์นั้น อาจติดด้วยระเบียบและกฎหมายการมอบกิจการให้มูลนิธิ กทม.จึงมีเป้าหมายที่จะพัฒนาพื้นที่เหล่านั้น เพื่อให้ทุกคนมีพื้นที่ที่ให้ทุกคนได้ใช้ประโยชน์ร่วมกันและดึงดูดให้ประชาชนสนใจงานศิลป์มากขึ้น สำหรับแนวทางการพัฒนานั้นอาจมีการดึงผู้ที่เกี่ยวข้องและมีประสบการณ์หรือความเชี่ยวชาญ มาช่วยพัฒนา

ผมเชื่อมั่นว่า ศิลปะเป็นเรื่องของอิสระทางความคิดและจินตนาการ ศิลปะเป็นสิ่งจรรโลงใจหาใช่เพื่อวัตถุประสงค์ใด และ สถานที่แสดงศิลปวัฒนธรรมอันทรงคุณค่าแห่งนี้จะต้องยังคงอยู่เพื่อประชาชนทุกคนครับ สุดท้ายนี้ ถ้าประชาชนไม่เห็นด้วย กทม.ก็จะไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับพัฒนาในพื้นดังกล่าวครับ ”

 

related