svasdssvasds

จับแพะชนแกะ!! สีรองเท้า ไม่เกี่ยวกับ “ซีกสมอง” ถนัดศาสตร์และศิลป์

จับแพะชนแกะ!! สีรองเท้า ไม่เกี่ยวกับ “ซีกสมอง” ถนัดศาสตร์และศิลป์

เป็นกระแสไวรัลไปทั่วโลก เมื่อภาพรองเท้า ถามหาความชัดเจนว่าสีอะไร? ข้อเท็จจริง เป็นเรื่องของสมอง ปรับค่าแสงตามสภาพแวดล้อมเท่านั้น ซึ่งแต่ละคนมีการปรับค่าแตกต่างกันไป ไม่ใช่เหตุผลการใช้สมองซีกซ้ายซีกขวา เป็นศิลปิน หรือตรรกะใดๆ

เรื่องนี้ รศ.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อธิบายเรื่องนี้ไว้ว่า "คุณเห็นรองเท้านี้เป็นสีอะไร ชมพูคาดขาว หรือ เทาคาดเขียว" คำตอบคือ สีชมพู-ขาว ... ภาพนี้ เริ่มจากการที่สาวนางหนึ่ง ชื่อ Nicole Coulthard โพสต์รูปรองเท้าลงในเฟซบุ้ค Girlsmouth เนื่องจากเพื่อนของเธอไปซื้อรองเท้ามา แล้วถ่ายรูปส่งไปให้คุณแม่ดู ซึ่งคุณแม่ไม่เห็นเป็นสีชมพูด้วย แต่เห็นเป็นสีเทาคาดเส้นสีเขียวอมฟ้า?

เกิดอะไรขึ้นกับรองเท้าสีปริศนานี้ ... ถ้าเราเอาภาพดังกล่าวไปเข้าโปรแกรมอย่าง Photoshop เพื่อเช็คค่าสี คำตอบที่ได้ กลับเป็นสีเทา-เขียว ? .. แต่ถ้าสังเกตดูดีๆ ที่มือของคนที่ถือรองเท้านั้นไว้ จะเห็นว่าสีของมือมันเพี้ยนๆ ออกไปทางอมเขียว ... และถ้าใครลองปรับสีของมือให้กลับเป็นสีธรรมชาติขึ้น รองเท้ากลับจะมาเป็นสีชมพูตามความเป็นจริงอีกครั้ง

คำสรุปของเรื่องนี้ ที่สีรูปรองเท้าเพี้ยนจากสีชมพู-ขาว มาเป็นสีเทา-เขียวได้ ก็เป็นผลมาจากสภาพแสงที่ไม่ค่อยดีในการถ่ายภาพจากการใช้แฟลชในที่มืด รวมทั้งคุณภาพของกล้องเองที่บันทึกสีเพี้ยนไป

จับแพะชนแกะ!! สีรองเท้า ไม่เกี่ยวกับ “ซีกสมอง” ถนัดศาสตร์และศิลป์

จับแพะชนแกะ!! สีรองเท้า ไม่เกี่ยวกับ “ซีกสมอง” ถนัดศาสตร์และศิลป์

 

แต่ เอ๊ะ แล้วทำไมบางคนที่เห็นเป็นสีชมพูได้ถูกต้องล่ะ ? ... เรื่องนี้ก็อธิบายได้เหมือนกรณีของชุดเดรสเลยนะ ดังนี้

จับแพะชนแกะ!! สีรองเท้า ไม่เกี่ยวกับ “ซีกสมอง” ถนัดศาสตร์และศิลป์

ดวงตาของเรานั้นมีเนื้อเยื่ออยู่ด้านหลัง ที่เรียกว่า เรติน่า (retina) ซึ่งมีเซลล์รับแสง (photoreceptor) อยู่ เซลล์รับแสงจะส่งสัญญาณผ่านระบบประสาทไปยังสมองเพื่อตีความรูปหรือภาพที่เราเห็น เซลล์รับแสงนั้นมี 2 แบบคือแบบแท่ง (rod) และแบบกรวย (cone) เซลล์รับแสงแบบแท่งจะรับภาพแบบกลางคืน ที่เป็นเฉดของสีเทาและความสว่าง ... ขณะที่เซลล์แบบกรวยจะรับภาพแบบกลางวัน ที่เป็นสีสันต่างๆ โดยเซลล์แบบกรวย จะแบ่งเป็น 3 พวก รับแสงที่ความยาวคลื่นต่างกัน หรือก็คือรับสีต่างกัน คือ รับสีเขียว สีแดง สีฟ้า ซึ่งสมองของเราจะประเมินว่าภาพที่เห็นนั้นเป็นสีอะไร ก็จากการผสมกันของสัญญาณที่มาจากเซลล์ทั้ง 3 พวกนี้

จากการที่กระบวนการรับสัญญาณของเซลล์รับภาพแบบกรวยในแต่ละคนนั้น มีความแตกต่างกันไป ภาพที่ถ่ายออกมาแล้วมี "ความสว่างต่ำ" และ "การเหลือบของสี" อย่างภาพรองเท้านี้หรือภาพชุดเดรสก่อนหน้านี้ ก็จะทำให้สมองแต่ละคนประมวลผลภาพออกมาต่างกันไปด้วย

โดยถ้าสมองของบางคน ตีความภาพนั้นว่ามีแสงสว่างเพียงพอแล้ว ก็มีแนวโน้มที่จะมองภาพรองเท้าไปเป็นสีเทาคาดเขียว (หรือชุดเดรส เป็นสีน้ำเงิน-ดำ) ขณะที่ถ้าสมองของใคร ตีความว่าภาพนี้ยังมืดเกินไป ก็มีแนวโน้มจะมองภาพนั้นให้ชดเชย "แสงสว่าง" มากขึ้น เห็นภาพรองเท้าเป็นสีชมพูคาดขาว (หรือชุดเดรส เป็นสีขาว-ทอง)

 

ขณะที่การที่ภาพนี้มีสีเหลือบไปในทางฟ้าอมเขียวตั้งแต่แรก สมองของคนที่เซนซิทีฟกับภาพที่มีสีเหลือบ ก็จะพยายามชดเชย "สี" ให้มีการอมฟ้าน้อยลง ภาพที่จะได้ก็จะออกมาสีชมพูมากขึ้น

ดูจากภาพสุดท้ายก็ได้นะ ที่เป็นแถบสีน้ำเงินสลับกับสีอื่นๆ โดยด้านบนของภาพนั้น เรามักจะเห็นแถบสีน้ำเงินสว่างขึ้นกว่าปรกติ ขณะที่ด้านล่างของภาพนั้น เรามักจะเห็นแถบสีน้ำเงินเข้มขึ้นมืดขึ้น ทั้งที่ จริงๆ แล้ว แถบสีน้ำเงินนี้เป็นสีเดียวกันหมดทั้งภาพเลย

จับแพะชนแกะ!! สีรองเท้า ไม่เกี่ยวกับ “ซีกสมอง” ถนัดศาสตร์และศิลป์

 

related