svasdssvasds

ยังห่วงนะ!! 13 ชีวิตรอดมาแล้ว ต้องเฝ้าดูอาการ “โรคติดเชื้ออุบัติใหม่”

ยังห่วงนะ!! 13 ชีวิตรอดมาแล้ว ต้องเฝ้าดูอาการ “โรคติดเชื้ออุบัติใหม่”

แพทย์ชี้ สภาพร่างกายเด็กติดถ้ำ คาดสุขภาพน่าจะทนรับไหว แต่ห่วง “โรคติดเชื้อ” จากในป่า ที่ไม่รู้จักสัมผัสสิ่งมีชีวิต หวั่นระบาดได้ จึงควรเฝ้าระวังอาการป่วยอย่างน้อย 7 วัน เป็นการตัดตอนตัไม่ให้แพร่ระบาด

ที่ห่วงเพราะกลัวเด็กๆ ติด"เชื้อไวรัส" พันธุ์ใหม่

ศาสตราจารย์ นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ผู้เชี่ยวชาญด้านสมอง ภาควิชาอายุรศาสตร์ (ประสาทวิทยา) คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ กล่าวถึงการช่วยเหลือเด็กและโค้ช 13 ชีวิตทีมหมูป่าอะคาเดมีแม่สาย ที่ติดอยู่ในถ้ำเขาหลวง ขุนน้ำนางนอน จ.เชียงรายว่า  สภาพร่างกายเด็กที่ติดอยู่ในภายในถ้ำ อาจบอกได้ลำบาก เนื่องจากขึ้นกับสภาพพื้นที่และภูมิอากาศในพื้นที่ ทั้งอยู่ที่แพทย์และเจ้าหน้าที่ดูแล ทุกคนหวังว่า สภาพร่างกายเด็กๆ น่าจะทนทานไหว โดยปกติมนุษย์เรามีน้ำดื่มสามารถประทังชีวิตได้ แต่หากอดอาหาร ร่างกายจะนำเนื้อเยื่อที่มีพลังงานสะสมอยู่ ในรูปไขมันตามอวัยวะต่างๆ ถูกกนำออกมาใช้ ทำให้ชีวิตอยู่รอดได้

 

เมื่อถามถึงสภาพเด็กๆ ที่ต้องอยู่ในความมืดภายในถ้ำนานๆ นพ.ธีระวัฒน์ ตอบว่า  สำหรับเด็กโต ระยะเวลา 5-6 วัน การรับสภาพประสาทตามองเห็นไม่ถูกกระทบมากนัก สามารถปรับตัวได้ แต่ที่กรมอุทยานพันธุ์พืชและสัตว์ป่า  และกระทรวงสาธารณสุข รวมถึงบุคลากรทางการแพทย์เป็นห่วงคือ สภาพภายในของถ้ำ กรมอุทยานฯ ประสานมาทางสำนักระบาดวิทยา กระทรวงสาธารณสุข แจ้งว่าในถ้ำมีสัตว์ป่า ทั้งค้างคาว แมลง ยุง เหลือบ ไร ริ้น ตรงนี้แพทย์เป็นห่วง หากช่วยเหลือได้แล้ว เด็กๆ รวมถึงเจ้าหน้าที่กู้ภัยฝ่ายต่างๆ ที่เข้าไปช่วยและอยู่ในถ้ำ จากที่ได้ทำงานกับกรมอุทยานฯ ระยะเวลา 14 – 15 ปีที่ผ่านมา ทราบว่า ในสัตว์ป่านั้นเป็นตัวเพาะบ่มเชื้อโรคได้หลายชนิด มีทั้งที่ยังไม่ระบาดถึงคน อย่างเชื้อโรคที่เรารู้จักกัน ดังนั้น จึงต้องเฝ้าดูเด็กๆ และเจ้าหน้าที่  เมื่อออกจากถ้ำมาแล้ว หากเกิดมีอาการเจ็บไข้ได้ป่วย มีไข้ ทางคณะแพทย์เตรียมพร้อมจะตรวจสอบ ซึ่งไม่ใช่เพียงแค่ตรวจหาเชื้อโรคชนิดที่เรารู้จักกัน แต่ต้องขยายขอบเขต ต้องเฝ้าดูเด็กๆ แสดงอาการเจ็บป่วยหรือไม่ ซึ่งหมายถึงติดเชื้อที่อยู่ในตัวหรือบ่มเพาะในสัตว์ต่างๆ โดยอาจยังไม่เคยแพร่ระบาดจากถิ่นนั้น ติดต่อ จนอาจแพร่ระบาดออกมาภายนอกหรือไม่

 

“ช่วงเวลาที่ผ่านมา แพทย์ไทยพยายามศึกษาเรื่องของเชื้อโรค โดยเฉพาะไวรัสที่อยู่ในสัตว์ป่า ค้างคาว จะมีไวรัสที่อยู่ในตระกูลต่างๆ ไม่มีใครรู้จัก อาจมีความสามารถถ้าสิ่งมีชีวิต หรือคนได้สัมผัส อาจเข้ามาในสัตว์บก อย่างค้างคาวในถ้ำ ก็สามารถติดต่อมาถึงมนุษย์ได้ สิ่งที่เราเตรียมการและประสานกัน กระทรวงสาธารณสุขพร้อม หากเด็กๆ และเจ้าหน้าที่ในพื้นที่เข้าไปอยู่ในถ้ำหลายวัน มีความผิดปกติ หมอก็จะตรวจทันทีเพราะได้วางกลไกไว้ทั้งหมดแล้ว จากข้อมูลที่ไทยเก็บไว้อยู่แล้ว  ทั้งนี้ โดยหลักการ เด็กและเจ้าหน้าที่ถ้ำ ก็ควรอยู่ในการเฝ้าดูอาการ อย่างน้อย 7 วัน อยากเรียนถึงประชาชนและญาติที่อยู่ในพื้นที่โถงหน้าถ้ำ เป็นพื้นที่ที่อาจปนเปื้อนเชื้อโรคได้ด้วย” แพทย์เชี่ยวชาญด้านโรคอุบัติใหม่กล่าว

 

นพ.ธีระวัฒน์ กล่าวอีกว่า สำหรับหน่วยซีลของไทย เท่าที่ทราบทหารไม่ได้เก่งเฉพาะด้านพละกำลัง เรื่องการหลบหลีกอันตรายจากภูมิประเทศ แต่ยังได้รับการฝึกตนให้ต้องมีความระมัดระวังตัว เมื่อเจอกับเห็บ ไร ริ้น แมลง อีกทั้ง กระทรวงกลาโหม มีหน่วยงานสำรวจพวกเชื้อโรคต่างๆ ในกลุ่มสัตว์ฟันแทะ หนู ค้างคาว ตามบริเวณของตะเข็บชายแดนที่มีหน่วยทหารลาดตระเวน เป็นข้อมูลการสำรวจเก็บไว้ ทำให้ไทยเรามีแผนที่สำหรับเชื้อโรคทางภูมิศาสตร์และฤดูกาล จุดนี้เป็นเครื่องมืออีกอันที่เจ้าหน้าที่เข้าไปช่วยเด็ก โดยมีความรู้ ความชำนาญในการป้องกันตัวระดับหนึ่ง

related