svasdssvasds

สมัยร้อยวัน หรือ The Hundred Days บทสุดท้ายสู่การล่มสลายของชายชื่อ นโปเลียน

สมัยร้อยวัน หรือ The Hundred Days บทสุดท้ายสู่การล่มสลายของชายชื่อ นโปเลียน

สมัยร้อยวัน หรือ 100 วันสุดท้ายของจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 กินระยะเวลาตั้งแต่วันที่ 20 มีนาคม 1815 จนถึงวันที่ 8 กรกฎาคม 1815 เริ่มตั้งแต่ถูกเนรเทศไปที่เกาะเอลบา ไปจนถึงฉากสุดท้ายของนโปเลียน หรือเป็นจุดสิ้นสุดของยุค Napoleonic Era

La mort n'est rien, mais vivre vaincu et sans gloire, c'est mourir tous les jours

การดำรงอยู่อย่างผู้แพ้และไร้ศักดิ์ศรีต่างหากคือ ความตายที่แท้จริง

หากคุณเคยเห็นภาพวาดของชายผู้หนึ่ง ที่กำลังบัญชาการรบอยู่บนหลังอาชาสีขาวผ่องและกำลังชูสองขา เขาคือ “นโปเลียน โบนาปาร์ต” เจ้าของคำกล่าวข้างต้น และอดีตจักรพรรดิผู้ยิ่งใหญ่แห่งฝรั่งเศส ที่ริเริ่มจากการเป็นสามัญชน จนกระทั่งพาตัวเองมายืนอยู่ในจุดที่เหนือกว่าใครในแผ่นดินฝรั่งเศสแห่งนี้

ชีวิตของ “นโปเลียน” มีอะไรให้หยิบมาเล่าสู่กันฟังได้ไม่รู้จบ เพราะตั้งแต่เกิดยันเสียชีวิต ชายผู้นี้ได้สร้างวีรกรรมเอาไว้ไม่น้อย ฉะนั้น วันนี้เราจะพูดถึง “The Hundred Days” หรือ “สมัยร้อยวัน” ของนโปเลียน

ชวนร่วมสำรวจว่า 100 วันสุดท้ายของ “นโปเลียน” หลังจากถูกเนรเทศไปที่เกาะเอลบาแล้ว มีอะไรเกิดขึ้นบ้าง เขากลับมานั่งบัลลังก์ของฝรั่งเศสในสมัยที่ 2 ได้อย่างไร รวมถึงฉากทัศน์สุดท้ายที่ ‘ถูกส่งไปยังเกาะห่างไกล และไร้ประชาชนให้ปกครอง’

The Hundred Days” หรือ “สมัยร้อยวัน” เป็นคำเรียกที่นักประวัติศาสตร์ใช้กล่าวถึง 100 วันสุดท้ายของนโปเลียนในฐานะผู้มีบทบาทบนแผ่นดินฝรั่งเศส ซึ่งกินระยะเวลาตั้งแต่ 20 มีนาคม 1815 จนถึงวันที่ 8 กรกฎาคม 1815 แม้ชีวิตที่ผ่านมาจะโลดโผน และผ่านอะไรมาเยอะ แต่ช่วง 100 วันสุดท้ายก็มีอะไรน่าสนใจให้เราได้แกะรอยตามไม่แพ้กัน

11 เมษายน 1814 นโปเลียนลงนามสละราชสมบัติ

ฉากทัศน์ครั้งสำคัญครั้งแรกเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 11 เมษายน 1814 จักพรรดินโปเลียนผู้ยิ่งใหญ่ ถูกบีบบังคับให้ต้องเซ็นสละราชสมบัติทั้งหมด ภายใต้สนธิสัญญาฟงแตนโบล (Treaty of Fontainebleau) ที่ พระราชวังฟงแตนโบล จากการร่วมมือกันของชาติพันธมิตร

นโปเลียนลงนามในสนธิสัญญาฟงแตนโบล (Public Domain)

สนธิสัญญาดังกล่าวระบุไว้ว่า จักพรรดินโปเลียนต้องยอมสละดินแดนของฝรั่งเศสทั้งหมด พร้อมทั้งได้รับอำนาจอธิปไตยเหนือเกาะเอลบา (Elba) ที่ตั้งอยู่ใกล้ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน นอกชายฝั่งอิตาลี และจะมอบเงินบำนาญให้ปีละ 2.5 ล้านฟรังก์ พูดง่าย ๆ คือ “จักรพรรดินโปเลียนถูกเนรเทศ”

20 เมษายน 1814 นโปเลียนถูกส่งไปยังเกาะเอลบา

ผ่านมา 9 วัน หลังจากที่ลงนามในสนธิสัญญาฟงแตนโบล จักรพรรดินโปเลียนถูกนำตัวไปที่เรือ HMS Undaunted ของอังกฤษ โดยบนเรือลำนั้นมีราชคองรักษ์ขึ้นไปอารักษ์ขาถึง 600 นาย เพื่อปกป้องให้จักรพรรดินโปเลียนปลอดภัยจากโจรสลัดบาร์บารีแห่งแอฟริกาเหนือ (the Barbary pirates of North Africa)

ใช้เวลาเดินทางแค่ไม่กี่วัน เรือก็แล่นมาถึงที่ท่าเรือของเกาะ Portoferraio ในวันที่ 3 พฤษภาคม ถึงจุดนี้ หลายฝ่ายเห็นพ้องเป็นเสียงเดียวกันว่า จักรพรรดินโปเลียน น่าจะไร้คมดาบมาต่อกรกับฝรั่งเศสได้อีก

เพราะในวันเดียวกันนั้นเอง พระเจ้าหลุยส์ที่ 18 ผู้เป็นพระเชษฐาพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ผู้ที่ถูกตัดสินประหารชีวิตด้วยเครื่องกิโยตินในช่วงปฏิวัติฝรั่งเศส (French Revolution) ก็ได้เข้ามาทวงสิทธิในราชบัลลังก์เช่นกัน หลังจากที่ถูกเนรเทศมาเกือบ 2 ทศวรรษ

ชีวิตของนโปเลียนบนเกาะเอลบา

แม้นโปเลียนจะถูกคุมขังอยู่ในลูกกรงเป็นเวลากว่า 9 เดือน แต่ระหว่างนั้นสมองก็มิได้ถูกจองจำไปด้วย จักรพรรดินโปเลียนได้ศึกษาแนวป้องกันและเหมืองเหล็กของท่าเรือ Portoferraio นอกจากนี้ พระองค์ยังสร้างโรงพยาบาล วางโครงสร้างพื้นฐานเช่น ถนน สร้างสะพาน หรือแม้กระทั่งปลูกไร่องุ่นเพื่อเอาไว้ทำไวน์รสชาติอร่อย

ชีวิตบนเกาะ Elba ของนโปเลียน

ชีวิตจักรพรรดิผู้ยิ่งใหญ่ มองเผิน ๆ ราวกับว่า พระองค์ละทิ้งคมดาบ สงคราม และการนองเลือดไปเป็นที่เรียบร้อย และดูท่าจะพอใจกับอาณาจักรเล็ก ๆ บนเกาะเอลบาที่พระองค์ได้วางแผนสร้างขึ้นแล้ว

แต่ ‘นโปเลียน’ ก็คือ ‘นโปเลียน’ ภายใต้ภาพที่แสร้งว่ายอมรับชะตากรรมเช่นนี้ของชีวิต จักรพรรดินโปเลียนยังเงี่ยหูฟังข่าวคราวที่ถูกส่งมาจากแผ่นดินฝรั่งเศสอยู่เรื่อย ๆ โดยมีเป้าหมายใหญ่ที่ฝั่งเอาไว้เบื้องลึกคือ

“ข้าจักต้องทวงบัลลังก์ของฝรั่งเศสกลับคืนมา”

ภายใต้จิตใจที่ลุ่มลึกของนโปเลียน มีเรื่องเล่าว่าก่อนหน้าที่จักพรรดินโปเลียนจะยอมร่วมลงนามในสนธิสัญญาฟงแตนโบล แล้วสละราชบัลลังก์ แล้วถูกเนรเทศมายังเกาะเอลบา

นโปเลียนพยายามอัตวินิบาตกรรมตัวเองด้วยการกระดกน้ำที่ผสมยาพิษเข้าไป แต่ปริมาณยาพิษที่ผสมอยู่ในน้ำก็เจือจางไป สรุปว่าพระองค์ก็มิได้รับอันตรายใดใด

2 ปัจจัยสำคัญสู่การตัดสินใจหวนคืนแผ่นดินฝรั่งเศส

  1. เหตุการณ์ความไม่สงบทางการเมืองของฝรั่งเศส
  2. ความสัมพันธ์ระหว่างมหาอำนาจใหญ่ในยุโรปกำลังสั่งคลอน

ด้วยปัจจัยสองข้อนี้ประกอบกัน ซึ่งสื่อว่า ฝรั่งเศสกำลังตกอยู่ในที่นั่งลำบาก และต้องการใครสักคนที่แข็งแกร่ง และเก่งกล้ามากพอที่จะกลับมานำฝรั่งเศสให้กลายเป็นมหาอำนาจดังเดิม และจักพรรดินโปเลียนคิดว่าเขาคือคนนั้น

นโปเลียนออกจากเกาะเอลบา (Public Domain)

1 มีนาคม 1815 จักพรรดินโปเลียนเหยียบแผ่นดินฝรั่งเศสอีกครั้ง

เหตุการณ์ในวันนั้นนับว่าเป็นเรื่องที่แปลกมาก เมื่ออดีตจักรพรรดิแห่งฝรั่งเศสที่ถูกเนรเทศออกนอกแผ่นดินฝรั่งเศสไปนานถึง 4 ปี เมื่อทอดเรือเทียบชายฝั่งที่เมืองคานส์ (Cannes) แล้ว กลับมีประชาชนมาล้อมวงต้อนรับอย่างเนืองแน่น

ท่ามกลางฝูงชน มีนายกเทศมนตรีคนหนึ่งกล่าวออกมาว่า  มีถ้อยคำที่บันทึกไว้ในประวัติศาสตร์ว่า “แผ่นดินฝรั่งเศสเงียบงันและกำลังอิ่มสุข แต่พระองค์จะปลุกเร้าผืนแผ่นดินนี้อีกครั้ง

นโปเลียนเยือนแผ่นดินฝรั่งเศสอีกครั้ง (Public Domain)

เหตุการณ์จากนี้เป็นต้นไปเปรียบได้กับฉากในภาพยนตร์สักเรื่อง ขณะที่จักรพรรดินโปเลียนเดินทางถึงเมือง Laffrey กองพันทหารกองหนึ่งได้ประชันหน้ากับจักรพรรดินโปเลียน และแน่นอนว่า นโปเลียนถูกจักรพรรดิตีวงล้อมรอบ และเอาปืนจ่อไปที่หน้าอก

Soldiers, I am your emperor

ทหาร ข้าคือจักรพรรดิของพวกเจ้า” นโปเลียน กล่าว

กองทหารที่ยังรับฟังคำสั่งจากพระเจ้าหลุยส์ที่ 18 อยู่ก็ได้สั่งระดมยิงใส่ชายผู้นี้เสีย ทว่าเหล่าทหารกลับพุ่งเข้าไปหา จักรพรรดินโปเลียน พร้อมตะโกนว่า ​

Vive l'empeurer” หรือแปลว่า “จักรพรรดิจงเจริญ

จักรพรรดินโปเลียนกลับมาแล้ว! วันที่ 7 มีนาคม ประชาชนที่ยังจงรักภักดีกับจักพรรดิของตัวเองอยู่ได้พังทลายประตูเมืองเข้าไป จนกระทั่งวันที่ 20 มีนาคม จักรพรรดินโปเลียนก็สามารถเข้าสู่กรุงปารีสได้สำเร็จ

ภายในระยะเวลาไม่ถึง 1 เดือน ชายผู้นี้ก็สามารถยึดบังลังก์ของแผ่นดินฝรั่งเศสกลับมาเป็นของตัวเองได้สำเร็จ ช่วงเวลานี้เอง พระเจ้าหลุยส์ที่ 18 ก็หลบหนีออกจากเมืองไป และลี้ภัยไปยังเบลเยียม

ความปราชัยที่สมรภูมิ Waterloo

ช่วงเวลานี้ เป็นช่วงเวลาที่นโปเลียนกลับมามีอำนาจอีกครั้ง ซึ่งสร้างความไม่พอใจให้แก่บรรดามหาอำนาจในยุโรปในขณะนั้นอาทิ อังกฤษ ปรัสเซีย ออสเตรีย และรัสเซีย

แม้ในรัชสมัยนี้ของนโปเลียน มีเป้าประสงค์ว่าจะครองแผ่นดินฝรั่งเศสอย่างเที่ยงธรรม และจะไม่ทำการรบกับดินแดนใดอีก แต่ดินแดน หรือประเทศอื่น ๆ ที่ต้องการล้มล้างนโปเลียนออกจากแผ่นดินฝรั่งเศสเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว จึงชวนตีเสียหน่อย

นโปเลียนปราชัยที่สมรภูมิ Waterloo (Waterloo)

อังกฤษกรีทาทัพมากว่า 100,000 คน นำโดยนาลพลอาร์เธอร์ เวลส์ลีย์ ดยุคแห่งเวลลิงตัน กองทัพปรัสเซียอีก 120,000 คน นำโดยนายพลเกบฮาร์ด เลเบอเร็ซ ฟอน บลือเชอร์ ได้รวมตัวกันเพื่อวางแผนเข้าโจมตีฝรั่งเศส

18 มิถุนายน 1815 ฝรั่งเศสเป็นฝ่ายเปิดหน้าก่อน นโปเลียนสั่งโจมตีทองทัพของอังกฤษ ทว่าโชคร้าย กองทัพปรัสเซียก็เข้ามาเสริมทัพร่วมกับอังกฤษอีกแรง ทำให้กำลังพลของฝรั่งเศสร่อยหรอ จนกระทั่งได้รับความพ่ายแพ้ ถือเป็นการแพ้ครั้งสุดท้ายภายใต้การนำทัพของนโปเลียน

นโปเลียนถูกเนรเทศไปที่เกาะ St. Helena

หลังจากที่นโปเลียนปราชัยที่สงคราม Waterloo ในวันที่ 21 มิถุนายน เขาได้มุ่งหน้ากลับปารีส และยอมสละราชบัลลังก์เป็นครั้งที่ 2 เพื่อเตรียมให้โอรสของตัวเองอย่าง นโปเลียนที่ 2 ขึ้นครองบัลลังก์ในวัยเพียง 4 ขวบ

25 มิถุนายน นโปเลียนพร้อมกับทหารอีกจำนวนหนึ่งหลบหนีออกจากปารีส และมุ่งหน้าไปยัง Rochefort ซึ่งเป็นเส้นทางที่เขาสามารถใช้เพื่อเดินทางไปที่สหรัฐอเมริกาได้ แต่เมื่อไปถึงที่นั่นก็ต้องพบกับความจริงที่ว่า มีกองทัพเรือมากมายปิดเส้นทางการเดินเรือเอาไว้ทั้งหมด

หลังจากนั้นไม่นาน พระเจ้าหลุยส์ที่ 18 ซึ่งลี้ภัยไปที่เบลเยียมก็ได้ถูกอันเชิญกลับสู่บัลลังก์ของจักรวรรดิฝรั่งเศส

ล่วงเลยไปถึงวันที่ 15 กรกฎาคม ปี 1815 นโปเลียนพินิจแล้วว่า ไร้หนทางหลบหนีอีกต่อไป เขาจึงได้ยุติการหลบหนี และยอมจำนนต่อกัปตัน Frederick Lewis แห่งเรือหลวง Bellerophon

ข้อแลกเปลี่ยนแรกของนโปเลียนคือ ขอลี้ภัยไปที่ลอนดอน ทว่าฝ่าย สัมพันธมิตรปฏิเสธคำขอดังกล่าว โดยมองว่า นโปเลียนอยู่ในฐานะเชลยศึก ฉะนั้น เห็นสมควรว่าควรถูกกักขังอยู่ในสถานที่ ซึ่งมิอาจหลบหนีออกมาได้อีก

สถานที่สุดท้ายของชีวิตนโปเลียนก็คือ เกาะ St. Helena ซึ่งเป็นเกาะที่ตั้งอยู่อย่างโดดเดี่ยวในแถบมหาสมุทรแอตแลนติกใต้ ห่างจากชายฝั่งออกไป 2,500 กิโลเมตร เพื่อให้แน่ใจว่าจะไม่มีไม้เด็ด หรือกลเม็ดเด็ดพลายใดใด เพื่อทำการหลบหนีและออกมารวบรวมกองกำลังอีก

นโปเลียนบนเกาะ St.Helena (Public Domain)

ฉากทัศน์สุดท้ายของ ‘นโปเลียน’ เกิดขึ้นบนเกาะแห่งนี้ ท่ามกลางบรรยากาศที่ไม่น่าอภิรมย์แถมชวนหดหูจิตใจเป็นอย่างยิ่ง เพราะนอกจากจะตั้งอยู่บนเกาะอันไกลโพ้นแล้ว ยังมีทหารจากอังกฤษ เดินเพ่นพ่าน จับตาดูเขาชนิดไม่ห่างสายตา

จนกระทั่งลมหายใจสุดท้ายของ นโปเลียน โบนาปาร์ต หมดลง ในวันที่ 5 พฤษภาคม 1821 เป็นอันสิ้นสุด "สมัยร้อยวัน" และเส้นทางชีวิตของสามัญชน ที่องอาจไถลเส้นแบ่งทางสังคมขึ้นเป็นจักรพรรดิของฝรั่งเศสผู้ยิ่งใหญ่ และถูกพูดถึงมาจวบจนปัจจุบัน

นโปเลียนเสียชีวิตวันที่ 5 พฤษภาคม 1821 (Public Domain)

ที่มา: worldhistory

        Silpa-mag

        Britainnica

เนื้อหาที่น่าสนใจ

related