svasdssvasds

เปิดผลงาน พลังประชารัฐ วันที่ พล.อ.ประวิตร ลาออกจากหัวหน้า- กลับมาเป็นใหม่

เปิดผลงาน พลังประชารัฐ วันที่ พล.อ.ประวิตร ลาออกจากหัวหน้า- กลับมาเป็นใหม่

เปิดผลงาน พลังประชารัฐ ในวันที่ พล.อ.ประวิตร ลาออกจากหัวหน้า และกลับมาเป็นหัวหน้าใหม่ทันที! แต่กรรมการบริหารพรรคต้องเปลี่ยน ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า กลับมานั่งเลขาฯ ขยับ ‘สันติ’ รองหัวหน้าพรรค

พรรคพลังประชารัฐ กลายเป็นที่พูดถึงอีกครั้ง เนื่องจากในช่วงเช้าของวันที่ 29 กรกฎาคม 2566 เนื่องจาก  มีการประชุมใหญ่สามัญประจำปี ครั้งที่ 3/2566 ของพรรค พปชร. เพื่อกำหนดกิจกรรมของพรรค โดยเฉพาะเกี่ยวกับการประชุม ส.ส. และประชุมรัฐสภาเพื่อเลือกนายกรัฐมนตรี โดยมี นายไพบูลย์ นิติตะวัน รองหัวหน้าพรรค พปชร. ทำหน้าที่เป็นประธานการประชุม ตามที่ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะหัวหน้าพรรค พปชร.มอบหมาย และในที่ประชุม มีการอ่านจดหมาย "ขอลาออก" จากตำแหน่งหัวหน้าพรรคของ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ

อย่างไรก็ตาม นายไพบูลย์ได้แจ้งให้กับที่ประชุมรับทราบว่า อย่าเพิ่งตื่นตระหนกเพราะว่า พล.อ.ประวิตรได้แจ้งไว้ เมื่อการประชุมครั้งที่แล้วว่าจะอยู่กับพรรคไปตลอดชีวิต และดูแลไปตลอด ซึ่งวันนี้ วันที่ 29 ก.ค. 2566 มีการเลือกกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่ เนื่องจากการลาออกของ พล.อ.ประวิตร มีผลทำให้กรรมการบริหารพรรคชุดเดิมต้องพ้น จากตำแหน่งไปด้วย 

เปิดผลงาน พลังประชารัฐ ในวันที่  พล.อ.ประวิตร ลาออกจากหัวหน้า และกลับมาเป็นหัวหน้าใหม่ทันที!

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

จากนั้นเมื่อเข้าสู่วาระการเลือกตำแหน่งหัวหน้าพรรคนายอรรถกร ศิริลัทธยากร ส.ส.ฉะเชิงเทรา ได้เสนอชื่อ "ลุงป้อม" พล.อ.ประวิตร เป็นหัวหน้าพรรคอีกครั้งเพียงชื่อเดียว  โดยไม่มีใครเสนอชื่ออื่นแข่งขัน ส่วนตำแหน่งเลขาธิการพรรค ได้มีการเสนอชื่อ  ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า ส.ส.พะเยา ให้ดำรงตำแหน่งเพียงชื่อเดียวเช่นกัน ขณะที่นายสันติ พร้อมพัฒน์ ได้ขยับขึ้นไปเป็นรองหัวหน้าพรรค

นั่นหมายความว่า ตำแหน่งหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ ยังเป็นของ  "ลุงป้อม" พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณอยู่เหมือนเดิม

สำหรับ พรรคพลังประชารัฐ ที่มี พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ เป็นหัวหน้าพรรคนั้น แม้จะไม่ใช่พรรคการเมืองเก่าแก่ เพราะเพิ่งตั้งได้เมื่อ 2561 หรือเมื่อ 5 ปีที่แล้วนี่เอง แต่ก็ถือว่า เป็นพรรคการเมืองที่สำคัญในประวัติศาสตร์การเมืองไทยยุคใหม่ เพราะอย่างน้อยๆ พรรคนี้ แม้จะยังไม่เคยชนะเลือกตั้ง ( "ชนะ" ในที่นี่หมายถึง เป็นพรรคได้เสียง สส.มากที่สุดเป็นอันดับ 1 ) แต่ก็เคยเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลมาแล้ว เมื่อปี 2562 

เปิดผลงาน พลังประชารัฐ ในวันที่  พล.อ.ประวิตร ลาออกจากหัวหน้า และกลับมาเป็นหัวหน้าใหม่ทันที!

• ประวัติพรรคพลังประชารัฐ 

ชวน ชูจันทร์ ประธานประชาคมตลาดน้ำคลองลัดมะยม และ สุชาติ จันทรโชติกุล อดีต ส.ส. สงขลา พรรคความหวังใหม่ และอดีตสมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศเป็นผู้จดจองชื่อพรรคพลังประชารัฐต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง เมื่อวันศุกร์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2561 ชื่อพรรค "พลังประชารัฐ" เป็นชื่อนโยบายช่วยเหลือคนยากจนที่สำคัญของรัฐบาลประยุทธ์ พรรคได้รับการสนับสนุนจากกลุ่ม "สามมิตร" ซึ่งมีแกนนำเป็นอดีตรัฐมนตรีในรัฐบาลทักษิณ ได้แก่ สมศักดิ์ เทพสุทิน สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ และสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ ซึ่งยังดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีอยู่ 

กลุ่มดังกล่าวพยายามดึงตัวสมาชิกรัฐสภาทั้งจากพรรคเพื่อไทย พรรคไทยรักไทย พรรคพลังประชาชน และพรรคประชาธิปัตย์ กลุ่มดังกล่าวสามารถเคลื่อนไหวทางการเมืองได้ขณะที่ยังมีคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ห้ามดำเนินกิจกรรมทางการเมืองอยู่ในขณะนั้น

ในช่วงเวลา 5 ปีที่ผ่านมา พรรคพลังประชารัฐ มีหัวหน้าพรรคมาแล้ว 2 คน นั่นคือ 
1. อุตตม สาวนายน ดำรงตำแหน่ง 29 กันยายน พ.ศ. 2561 จนถึง 27 มิถุนายน พ.ศ. 2563
2. พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ ดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2563 จนถึง ปัจจุบัน 

เปิดผลงาน พลังประชารัฐ ในวันที่  พล.อ.ประวิตร ลาออกจากหัวหน้า และกลับมาเป็นหัวหน้าใหม่ทันที!

ผลงานพรรคพลังประชารัฐ และจำนวน สส. ของพรรค

ในช่วงการเลือกตั้ง 2562 ถือว่า พรรคพลังประชารัฐประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก โดยถึงแม้จะเป็นพรรคตั้งใหม่ แต่ก็สามารถกวาด สส. ได้ถึง 116 ที่นั่ง  ขณะที่ เพื่อไทย ได้ 136 ที่นั่ง ในการเลือกตั้ง 2562 , อย่างไรก็ตาม หากนับคะแนนเสียง พรรคพลังประชารัฐ ได้ถึง 8,441,274 เสียงเลยทีเดียว  หรือคิดเป็นสัดส่วน 23.74% ของคะแนนเสียงทั้งหมด ในการเลือกตั้ง 2562 

และจากผลการเลือกตั้งครั้งนั้น พรรคพลังประชารัฐ ได้เสนอชื่อให้ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกฯรัฐมนตรี

อย่างไรก็ตาม ในช่วง 4 ปี ถัดมา , พรรคพลังประชารัฐ ได้จำนวนสส. น้อยลงจนน่าตกใจ เพราะผลการเลือกตั้ง 2566 พรรคพลังประชารัฐ เหลือ สส. 40  ซึ่งนั่นหมายความว่า จำนวนสส. ลดลงจากการเลือกตั้งครั้งก่อนถึง 76 ที่นั่งเลยทีเดียว

 

related