svasdssvasds

ย้อนเหตุการณ์ "เสียสัตย์เพื่อชาติ" เกิดอะไรขึ้นกับการเมืองไทยในอดีต ?

ย้อนเหตุการณ์ "เสียสัตย์เพื่อชาติ" เกิดอะไรขึ้นกับการเมืองไทยในอดีต ?

ย้อนเหตุการณ์ "เสียสัตย์เพื่อชาติ" เกิดอะไรขึ้นกับการเมืองไทยในอดีต ? วลีนี้เกิดขึ้นในช่วงเวลาใด และทำไมถึงกลับมาถูกพูดถึงอีกครั้ง ในช่วงการจัดตั้งรัฐบาล2566

วลี "เสียสัตย์เพื่อชาติ" ถูกกลับมาพูดถึงอีกครั้งในฉากทัศน์การเมืองไทย หลังเลือกตั้ง 2566 และในช่วงการจัดตั้งรัฐบาล 

SPRiNG ขอชวนย้อนเหตุการณ์ว่า จริงๆแล้ว เหตุการณ์ "เสียสัตย์เพื่อชาติ" เกิดขึ้นตอนไหน เกิดขึ้นเมื่อไร และ มีเหตุปัจจัยใดๆ ที่ทำให้เกิดวลีนี้ ขึ้นมา 

“ผมจำเป็นต้องเสียสัตย์” ถือเป็นวาทะทอง ของ  พลเอก สุจินดา คราประยูร ที่กล่าวขึ้นต่อสาธารณะ เพื่อการก้าวขึ้นมารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ในช่วงการเมืองยุค 1990s 

ทั้งที่ ก่อนหน้า พลเอกสุจินดา คราประยูร ยืนยันปฏิเสธมาโดยตลอด ว่าจะไม่รับตำแหน่งนายกฯ หลังการเลือกตั้งในปี 2535  แต่สุดท้ายเขาต้องเสียคำพูด โดยวาทะนี้พลเอก สุจินดากล่าวไว้ ณ วันอำลากองทัพบก ที่ห้องประชุมกองทัพบก และในคราวเดียวกันนั้นก็ถึงกับหลั่งน้ำตาขณะกล่าวสุนทรพจน์ต่อหน้านายทหารอีกด้วย   
 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

โดยเหตุการณ์ "เสียสัตย์เพื่อชาติ" เกิดขึ้นในช่วงก่อนเกิด พฤษภาทมิฬ ปี 2535 

ไทม์ไลน์เกิดวาทะเด็ดข้ามกาลเวลา : เสียสัตย์เพื่อชาติ 

• 23 ก.พ. 2534 - รัฐประหาร
คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) ที่มีพลเอก สุนทร คงสมพงษ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุดเป็นประธาน และมีพลเอกสุจินดา เป็นแกนนำคนสำคัญ  ทำรัฐประหารโค่นรัฐบาลของ พล.อ. ชาติชาย ชุณหะวัณ  โดยใช้ข้ออ้างว่ามีการทุจริตและประพฤติมิชอบ พล.อ. สุจินดา สัญญาว่าจะไม่ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ใดๆ หลังจากนั้น 

โดยเหตุการณ์ "เสียสัตย์เพื่อชาติ" เกิดขึ้นในช่วงก่อนเกิด พฤษภาทมิฬ ปี 2535

• 9 ธ.ค. 2534 - รัฐธรรมนูญ 2534
ประกาศใช้รัฐธรรมนูญ 2534 ซึ่งร่างโดยคณะกรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญที่ รสช. ตั้งขึ้น

• 22 มี.ค. 2535 - วันเลือกตั้ง 2535 
ผลการเลือกตั้ง 2535 ปรากฏว่าพรรคสามัคคีธรรม ที่ก่อตั้งโดยเครือข่าย รสช. ได้คะแนนเสียงมากที่สุด  ได้ 79 สส. รวบรวมพรรคการเมืองอื่น ๆ ในสภาผู้แทนฯ เลือก พล.อ.สุจินดา คราประยูร  ที่ไม่ได้ลงสมัคร ส.ส. เป็นนายกฯ  และนี่ถือเป็นการ "เสียสัตย์เพื่อชาติ" เพราะพล.อ.สุจินดาต้องยอมผิดคำพูดตัวเอง

และนี่คือ 1 ใน 8 เหตุการณ์ ที่พรรคการเมือง ที่ได้รับคะแนนสูงสุดในปีประเทศไทย แต่หัวหน้าพรรคไม่ได้เป็นนายกฯ (นับจนถึงเลือกตั้ง 2566 มีการเลือกตั้ง 8 ครั้งในไทยที่พรรคชนะเลือกตั้งไม่ได้เป็นนายกฯ) 

• เม.ย. 2535 - เริ่มชุมนุมต่อต้านการสืบทอดอำนาจ รสช.

นักศึกษานำโดยสหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนนท.) และประชาชนซึ่งส่วนใหญ่เป็นชนชั้นกลางในกรุงเทพฯ ออกมาชุมนุมประท้วงคัดค้านการสืบทอดอำนาจของ รสช. 

มีการเรียกร้องให้ พล.อ.สุจินดา ลาออกจากตำแหน่งนายกฯ 

ผู้ชุมนุมโจมตี พล.อ.สุจินดา คราประยูร ว่าที่ขึ้นมาเป็นนายกฯ ทั้งที่เคยลั่นวาจาไว้หลังรัฐประหารว่าจะไม่รับตำแหน่งนี้ซึ่งถือว่าเป็นการ "ตระบัดสัตย์" แต่ พล.อ.สุจินดาอ้างว่า "เสียสัตย์เพื่อชาติ" การชุมนุมยืดเยื้อมาจนถึงเดือน พ.ค. ขณะที่สถานการณ์ตึงเครียดขึ้นเรื่อย ๆ จนกระทั่ง 17-21 พ.ค 2535 มีการสลายการชุมนุมฯ และเป็นเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ 

related