svasdssvasds

ไขข้อข้องใจ โควิด 19 แพร่กระจายในอากาศได้ จริงหรือไม่

ไขข้อข้องใจ โควิด 19 แพร่กระจายในอากาศได้ จริงหรือไม่

เราคงเคยได้ยินข่าวที่เผยแพร่ออกมาว่า เชื้อไวรัสโควิด 19 สามารถแพร่กระจายในอากาศ หรือที่เราเรียกว่า Airborne ได้จริงหรือไม่ วันนี้มาไขข้อข้องใจในเรื่องนี้กัน

ไขข้อข้องใจ โควิด 19 แพร่กระจายในอากาศได้ จริงหรือไม่ 

รศ.นพ.นิธิพัฒน์ เจียรกุล หัวหน้าสาขาโรคระบบการหายใจและวัณโรค ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า ในช่วงนี้เราคงเคยได้ยินข่าวที่เผยแพร่ออกมาว่า เชื้อไวรัสโควิด 19 สามารถแพร่กระจายในชนิดที่เป็นละอองฝอย หรือที่เราเรียกว่า Airborne

Airborne คือ อนุภาคที่มีขนาดเล็กมากๆ มันล่องลอยอยู่ได้นาน คนที่อยู่ห่างๆ ก็อาจจะหายใจเข้าไปได้

เกิดคำถามขึ้นว่า การล่องลอยของอนุภาคขนาดเล็กมากๆ เกิดขึ้นได้จริงมากน้อยขนาดไหน เกิดภายใต้เงื่อนไขอย่างไร แล้วต้องเตรียมตัวสำหรับสิ่งเหล่านี้อย่างไร

การติดต่อของเชื้อโรคในระบบการหายใจ จะมี 3 ทางหลักๆ ด้วยกัน

Contact การสัมผัส

สารคัดหลั่ง จากการ ไอ จาม น้ำมูก น้ำตา ไปติดอยู่บนพื้นผิว เมื่อไปสัมผัสหรือไปจับสารคัดหลั่งเหล่านั้นโดยไม่รู้ตัว ด้วยความเคยชิน ก็เอามือไปป้ายตา ป้ายจมูก แล้วสูดเข้าไป นี่ก็คือการสัมผัส นี่จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้เน้นในเรื่องของการล้างมือให้สะอาด

Droplets

เมื่อเราไอแล้วมีละอองออกไป แต่ละอองยังไม่ทันตกพื้น เกิดไปติดที่หน้า ติดที่ลำตัว ติดที่ด้านหลังของใครคนหนึ่ง แล้วเอามือไปป้าย โอกาสติดเชื้อก็จะเกิดขึ้น

droplets จะขนาดประมาณ 5 ไมครอน หรืออาจใหญ่กว่านั้นหน่อย โดยน้ำหนักและขนาดจะไปได้ประมาณ 1 เมตร แล้วตกลงพื้น เชื้อโรคที่จะไปแบบนี้ ได้แก่ ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ โรคซาร์ส โรคเมอร์ส และ โควิด 19 ที่เรากำลังเจอกันอยู่

Airborne

ละอองฝอยขนาดเล็กนี้ เป็นแบบที่เรากลัวที่สุด พวกนี้จะมีขนาดที่เล็กกว่า 5 ไมครอนลงมา อาจจะอยู่ที่ 2.5 ไมครอน หรือ 1 ไมครอน โดยสามารถฟุ้งกระจายได้ 1-2 เมตร ถ้าล่องลอยอยู่ในอากาศพร้อมกับละอองฝอย ก็จะอยู่ได้นาน 1-2 ชั่วโมง หรืออาจจะมากถึง 8 ชั่วโมง ถ้าสภาพเอื้ออำนวย

ปัจจัยที่จะเอื้ออำนวยให้เกิด Airborne ก็คือ ต้องมีคนที่ไอเยอะ มีคนจำนวนมากๆ รวมกันอยู่ในที่เดียวค่อนข้างแออัด สถานที่นั้นต้องเป็นระบบปิด อากาศไม่สามารถติดต่อกับภายนอก มีการหมุนเวียนอากาศไม่ดี

ยกตัวอย่างสถานที่แออัด เช่น

- สนามมวย มีใครก็ไม่รู้ป่วยเป็นโควิด แล้วการที่เราเฮเชียร์ คือการแพร่เชื้อไปในอากาศทั้งในรูป droplets และ Airborne สิ่งที่มีในละอองฝอยแทนที่จะมีน้อย ก็จะกลายเป็นมีเยอะ ละอองฝอยไม่ตกลงพื้น ด้วยระบบถ่ายเทอากาศไม่ดี ก็จะหมุนเวียน สภาพเอื้ออำนวยให้เกิดการติดเชื้อได้

- ผับ ที่บอกว่าติดกัน เพราะไปสูบบุหรี่มวนเดียวกัน หยิบดื่มแก้วเดียวกัน นั่นเป็นแค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น สิ่งที่สำคัญก็คือ ระบบหมุนเวียนอากาศ ผับคนแน่นไม่ต่างกับสนามมวย

- สถานที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา ส่วนใหญ่แล้วจะรวมกันเป็นหมื่นคนในสถานที่เดียว จะค่อนข้างแออัด ทำให้สภาพเอื้อต่อการติดเชื้อได้

ทั้ง 3 ที่ ปัจจัยเอื้ออำนวยที่จะทำให้มี airborne ไม่ปฏิเสธว่าที่ติดกันคงเป็น droplets เป็นส่วนใหญ่ การเกิด airborne ของโควิด 19 นั้นไม่ได้เกิดง่ายๆ จะเกิดได้ต้องมีปัจจัยเอื้ออำนวย มีจำนวนคน มีสถานที่ เข้ามาเกี่ยวข้อง

รศ.นพ.นิธิพัฒน์ กล่าวไขข้อข้องใจถึงข่าวที่ส่งต่อกันว่า เชื้อโควิด 19 ติดได้ทางอากาศด้วยฝอยละอองขนาดเล็ก หรือ Airborne นั้น ตอบว่า จริง ภายใต้เงื่อนไขจำกัด และไม่ใช่ส่วนใหญ่ของการกระจายเชื้อของโรคโควิด 19

ข้อดีของข่าวนี้ คือ การที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องออกมาเตือน เพื่อที่จะได้ทำให้คนที่มีโอกาสที่จะไปสภาพแวดล้อมแบบนั้นได้ระมัดระวังตัวอย่างเต็มที่ สิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือ บุคลากรทางการแพทย์ก็มีโอกาสที่จะอยู่ในสภาพแวดล้อมนั้นได้ ประชาชนทั่วไป มีโอกาสเช่นกัน แต่น้อยมาก หากไม่ไปรวมกันในสถานบันเทิงที่มีคนรวมตัวกันเยอะๆ ที่ที่มีสภาพแออัด

ข้อเสียของข่าว airborne ก็คือ ประชาชนจะตระหนกกันมากยิ่งขึ้น ทำให้วิ่งหา N95 มาตุน จึงทำให้หมอกับพยาบาลที่จำเป็นต้องใช้ N95 มีใช้ไม่เพียงพอ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องทำให้ตื่นตัว หรือตระหนักกับช้อมูล แต่ต้องไม่ใช่ตระหนกจนเกินเลยกว่าความเป็นจริง จนกลายเป็นผลลบ

สุดท้าย รศ.นพ.นิธิพัฒน์ ย้ำว่า ถ้าทำล็อกดาวน์และเว้นระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) ได้ดี ปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้เกิดสถานการณ์แบบนั้นแทบจะไม่มีแล้ว

เรื่องน่ารู้จาก COVID-19

อ่านข่าวแนะนำ >>> วิธี กักกันตัวเอง ที่บ้าน ทำอย่างไรให้ปลอดภัยที่สุด

https://www.springnews.co.th/alive/lifestyle/630786

อ่านข่าวแนะนำ >>> Social Distancing ระยะห่างทางสังคม ลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ

https://www.springnews.co.th/alive/lifestyle/631471

อ่านข่าวแนะนำ >>> วิธีรับมือ ความวิตกกังวลจากการระบาดของไวรัสโควิด-19

https://www.springnews.co.th/alive/lifestyle/634538

อ่านข่าวแนะนำ >>> How To ดูแล สุขภาพจิต เด็กและเยาวชน ระหว่างโรคระบาด

https://www.springnews.co.th/alive/lifestyle/635009

อ่านข่าวแนะนำ >>> How to ทำงานจากบ้าน พร้อมเลี้ยงลูกไปด้วย แบบไม่เสียสติ

https://www.springnews.co.th/alive/edutainment-alive/636779