svasdssvasds

เช็กอิน : ชุมพร หนึ่งเดียวในไทย โรงเรียนไม้ไผ่โฮมสเตย์กลางป่า [คลิป]

ติดตามข่าวสารwได้ที่ https://www.springnews.co.th

ธาดา อินทอง หรือ ที่ใครๆเรียกว่า พี่เชษฐ อายุ 46 ปี เล่า ว่า ตนเองเดิมเป็นลูกจ้างกรมป่าไม้ แต่ด้วยความฝันของตัวเองเลยลาออกมาทำโฮมสเตย์ โดยใช้ชื่อว่า "เชษฐโฮมสเตย์" ในที่ดิน 20ไร่ ที่ปลูกพืชผัก ผลไม้ พร้อมกับมีบ้าน 1 หลัง สร้างเป็นที่พักริมธารที่ได้สัมผัสกับธรรมชาติ มีลำธารไหลผ่าน อยู่ท่ามกลางอ้อมกอดของขุนเขา โฮมสเตย์แห่งนี้ไม่ได้มีที่พักกว้างขวางมากมาย ไม่ได้มีความสะดวกสบาย ไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวกใดๆทั้งสิ้น ที่สำคัญคือทุกอย่างในโฮมสเตย์แห่งนี้ พี่เชษฐ เป็นคนทำเองทุกอย่าง แม้กระทั่งอาหารที่แขกที่มาพักจะได้ทานก็จะเป็นฝีมือพี่เชษฐเช่นกัน แขกที่มาส่วนใหญ่จะมาจากกรุงเทพ อาหารที่แขกที่มาพักแล้วติดใจคือคั่วกลิ้งรสชาติอาหารใต้ ซึ่งพี่เชษฐจะลงมือตำเครื่องแกงเองทุกครั้ง

[gallery columns="1" size="full" ids="427219,427220"]

พี่เชษฐ ยังเล่าให้ฟังอีกว่าในช่วงที่ไม่มีแขกมาพัก ว่างจากงานในสวนตนเองก็จะปลูกผักและชอบประดิษฐ์สิ่งของต่างๆจากไม้ไผ่ เพราะพื้นที่ในสวนและในหมู่บ้านมีไม้ไผ่จำนวนมาก ซึ่งหากไม่นำไม้ไผ่มาใช้ เมื่อไม้ไผ่ออกดอกก็จะตาย และหากไม้ไผ่แห้งตายก็จะเกิดไฟไหม้ได้ง่ายเพราะใบไผ่ติดไฟง่ายมาก พี่เชษฐเริ่มทำตุ๊กตาจากไม้ไผ่ และค่อยๆคิดประดิษฐ์สิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ จากไม้ไผ่ขึ้นเพิ่มขึ้นเรื่อยเช่น ศาลาที่พัก ตะกร้าใส่ของ อุปกรณ์ชงกาแฟสด ไม้แขวนเสื้อ ห้องน้ำ ที่นั่งเล่นทรงหยดน้ำ การที่ตนเองนำไม้ไผ่ใช้ประโยชน์ส่วนหนึ่งเพราะพื้นฐานครอบครัวมีความรู้ความชำนาญในการจักรสานจากไม้ไผ่อยู่แล้ว และที่สำคัญพี่เชษฐมองว่าต้องเริ่มจากสิ่งที่มีและพึ่งตนเองให้ได้ และเอาต้นทุนที่มีอยู่ในมือหยิบมาทำประโยชน์ จนผลิตภัณฑ์เป็นที่สนใจของหลายๆคนที่เห็น รวมถึงนักท่องเที่ยวที่มาพัก ที่สำคัญไม่ใช่แค่คนไทยที่สนใจในผลงาน แต่ชาวต่างชาติที่เห็นผลงานต่างพากันมาชื่นชมและมาพักที่โฮมสเตย์แห่งนี้

[gallery columns="1" size="full" ids="427233"]

หลายๆคนที่เห็นผลงานต่างพากันขอซื้อ สั่งทำ และแนะนำให้พี่เชษฐจดลิขสิทธิ์เพื่อไม่ให้ใครเอาไปลอกเลียนแบบได้ แต่พี่เชษฐกลับมองกลับกันโดยไม่คิดที่จะจดลิขสิทธิ์และยินดีให้ลอกเลียนแบบได้ และเหตุผลที่ไม่ทำขาย แต่อยากสอนให้คนที่อยากได้เพราะอยากให้ทุกคนทำเป็น และเป็นผลงานของตัวเอง

พี่เชษฐ เปิดเผยถึงแนวคิดที่ไม่ทำชิ้นงานวางขายอีกว่า การที่ตนเองทำชิ้นงานมาวางขายก็ไม่ต่างกับการที่ตนเองทำงานโรงงาน ที่หากโรงงานสั่งให้ผลิตรองเท้าแตะตนเองก็จะต้องผลิตรองเท้าแตะไปตลอด แต่ความมุ่งมั่นของพี่เชษฐคือต้องการสร้างผลงานใหม่ๆ ไอเดียใหม่ๆ ไปเรื่อยๆไม่หยุดที่จะคิดและลงมือทำ และเมื่อมีแขกมาพักเห็นผลงานจึงมีความสนใจอยากทำเป็น พี่เชษฐจึงสอนให้ทำผลิตภัณฑ์ง่ายๆจากไม้ไผ่อย่างเช่น ตะกร้าใส่ผลไม้ ชะลอม จนในที่สุดเมื่อมีผู้คนให้ความสนใจในการเรียนทำผลิตภัณฑ์จากไม้ไผ่มากขึ้น พี่เชษฐจึงเปิดสอน เรียนรู้การทำไม้ไผ่

[gallery columns="1" size="full" ids="427239,427240,427241"]

น.ส.ศันสนีย์ กองอู๋ หรือ จั๊กจั่น อายุ 40 ปี ามน้ำข้ามทะเลมาอยู่ในป่าเมืองพะโต๊ะเพื่อเรียนรู้เรื่องการทำบ้านไม้ไผ่ ซึ่งการเรียนนั้นพี่เชษฐจะเริ่มต้นสอนจากการพาไปตัดไม้ไผ่ เลือกไม้ไผ่ เพื่อเริ่มเรียนรู้ตั้งแต่ต้น พี่เชษฐได้เริ่มทำบ้านไม้ไผ่ พร้อมกับนางสาวศันสนีย์ เพียงสองคนกับบ้านไม้ไผ่หนึ่งหลัง สาวออฟฟิตที่มาจากกรุงเทพเพียงคนเดียว พกพาความตั้งใจเพื่อมาเรียนรู้เรื่องการทำบ้านจากไม้ไผ่ไม่ใช้เรื่องง่าย แต่บ้านไม้ไผ่ก็เสร็จสมบูรณ์ด้วยระยะเวลา 4 วัน ใช้งบประมาณในการทำบ้าน 450 บาท บ้านทั้งหลังทำจากไม้ไผ่ ไม่มีสิ่งอื่นเป็นตัวประกอบ ไม่ง่ายแต่สุดท้ายก็สำเร็จ

related