svasdssvasds

FTC สั่ง 7-Eleven ขายสาขาเกือบ 300 สาขา ป้องกันการผูกขาดตลาดในสหรัฐ

FTC สั่ง 7-Eleven  ขายสาขาเกือบ 300 สาขา ป้องกันการผูกขาดตลาดในสหรัฐ

ต้านผูกขาด! คณะกรรมาธิการการค้าแห่งสหพันธรัฐของสหรัฐอเมริกา หรือ FTC มีคำสั่ง บังคับ ให้ธุรกิจ 7-Eleven ในสหรัฐ "ต้อง"ขายสาขาเกือบ 300 แห่ง โดยเหตุผลที่นำมาอ้างในการบังคับขายสาขาครั้งนี้ก็คือ 7-Eleven ในสหรัฐ กำลังละเมิดกติกา ซึ่งจะนำไปสู่การ ผูกขาดการแข่งขันค้าปลีก

จับมัดมือ บังคับ "7-Eleven" ขาย
กลายเป็นประเด็นธุรกิจค้าปลีก ขนาดใหญ่ ที่ถูกหยิบยกมาพูดถึงในวงกว้าง เมื่อสำนักข่าวต่างประเทศ พร้อมในกันตีข่าวว่า คณะกรรมาธิการการค้าแห่งสหพันธรัฐของสหรัฐอเมริกา หรือ FTC  มีคำสั่งบังคับ ให้ธุรกิจ  “7-Eleven” ในสหรัฐ "ต้อง"ขายสาขาเกือบ 300 แห่ง เหตุผลที่นำมาอ้างในการบังคับขายสาขาครั้งนี้ก็คือ  “7-Eleven” ในสหรัฐ  กำลังละเมิดกติกา ซึ่งจะนำไปสู่การ ผูกขาดตลาดการแข่งขันค้าปลีก
.
ย้อนเข็มนาฬิกากลับไป ธุรกิจ  “7-Eleven” ในสหรัฐ บริษัทค้าปลีกรายใหญ่ เพิ่งทุ่มเงินลงทุน 21,000 ล้านดอลลาร์ (หรือราว 672,000 ล้านบาท) เข้าซื้อกิจการสปีดเวย์ ธุรกิจร้านสะดวกซื้อและสถานีบริการน้ำมัน จากบริษัทมาราธอน ปิโตรเลียม เมื่อช่วงต้นปีที่ผ่านมา
.
โดยในช่วงเวลาดังกล่าว “7-Eleven” หรือชื่อเรียกอย่างเป็นทางการนั่นคือ บริษัท เซเว่น แอนด์ ไอโฮลดิ้งส์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของร้าน 7-Eleven อยู่ใน ญี่ปุ่น ได้บรรลุข้อตกลงการเริ่มเข้ามาควบคุม และเข้าซื้อกิจการกิจการสปีดเวย์  ในเดือนสิงหาคมปีที่แล้ว  เพื่อซื้อร้านสะดวกซื้อสปีดเวย์จำนวน 3,900 แห่ง เพื่อเพิ่มส่วนแบ่งทางการตลาดให้ได้มากที่สุด เพราะแต่เดิม 7-Eleven ก็มีอยู่ทั่วสหรัฐ 9,000 กว่าสาขาอยู่แล้วนั่นเอง
.
ทั้งนี้ ในธุรกิจร้านสะดวกซื้อที่สหรัฐนั้น มีสาขาเกือบ 14,000 สาขา  ในทุกยี่ห้อ ทุกแบรนด์ ดังนั้น หาก  7-Eleven ซื้อสปีดเวย์จำนวน 3,900 สำเร็จ  7-Eleven จะสามารถผูกขาดการค้าเป็นรายใหญ่ในทันที
.
แต่สุดท้าย เรื่องราวนี้ ดูเหมือนจะไปไม่ถึงฝั่งฝัน จากเหตุล่าสุด ซึ่ง FTC  บังคับให้ “7-Eleven” ต้องขายสาขา ราวๆ 293 สาขา ใน 20 รัฐทั่วสหรัฐ  และ ทั้งนี้ คณะกรรมาธิการการค้าแห่งสหพันธรัฐของสหรัฐอเมริกา หรือ FTC  บังคับให้ 7-Eleven  ขายร้านสะดวกซื้อ และสถานีบริการน้ำมันให้แก่บริษัทคู่แข่ง ที่ประกอบด้วย อานาบี ออย 124 แห่ง ครอสส์ อเมริกา พาร์ทเนอร์ส 106 แห่งและแจ็ควัน ฟู้ด สโตร์ส 63 แห่ง

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ไม่มีผลกระทบกับร้านในไทย

เรื่องราวทั้งหมดนี้ เป็นการอ้างความเห็นของเจ้าหน้าที่ระดับสูง 2 รายของคณะกรรมาธิการการค้าแห่งสหพันธรัฐของสหรัฐอเมริกา หรือ FTC  ซึ่งเคยบอกว่า ข้อตกลงนี้มีความเป็นไปได้ที่จะไม่ชอบธรรมตามกฎหมาย ด้วยพวกเขามีความกังวลว่ามันจะทำให้เกิดการผูกขาดทางการค้า  อย่างไรก็ตาม การบังคับขายสาขาในสหรัฐ ยังไม่ได้ส่งผลต่อ สาขาในประเทศไทย ใดๆ ในทางตรง  เพราะ จากข้อมูล เมื่อ 3 ปีที่แล้ว  “7-Eleven” ในไทย ยังครองตลาดคอนวิเนียน สโตร์ ถึง 70 เปอร์เซนต์ในไทย และ มีสาขาอยู่ในไทยราวๆ  12,225 สาขา โดยมีเป้าหมายจะเปิดให้ครบ 13,000 สาขาภายในสิ้นปี 2021  และ “7-Eleven” แห่งแรกในไทยนั่น สาขาแรก อยู่ที่ถนนพัฒน์พงษ์ เมื่อปี 1989 (2532) ก่อนที่จะขยายมาถึงทั่วหัวระแหง อย่างทุกวันนี้มาเป็นเวลา 32 ปีแล้ว
.
ขณะที่ทั่วโลก กิจการ “7-Eleven”  ข้อมูลจากปี 2020 ระบุว่า มีกระจายไป 17 ประเทศ ส่วนใหญ่อยู่ในเอเชีย อาทิ ไทย,ญี่ปุ่น,สิงคโปร์,มาเลเซีย,ฮ่องกง,เกาหลีใต้,ไต้หวัน  มีสาขาทั่วโลกอยู่ที่ราวๆ  71,100 สาขา
.
ส่วน กิจการ “7-Eleven” แท้จริงแล้ว เริ่มต้นมานานแล้ว ตั้งแต่ 1927  โดยเริ่มต้นที่ ดัลลัส สหรัฐอเมริกา ก่อนจะกระจายไปทั่วโลกอย่างทุกวันนี้

7-eleven

ไม่ใช่ครั้งแรก ที่ FTC  ไล่บี้ภาคธุรกิจ
สำหรับ การไล่บี้ บังคับให้  “7-Eleven” ต้องขายกิจการให้คู่แข่งครั้งนี้ ถือว่าไม่ใช่ครั้งแรก ที่คณะกรรมาธิการการค้าแห่งสหพันธรัฐของสหรัฐอเมริกา หรือ FTC ออกมา Take action เพราะก่อนหน้านี้ก็เคยมี กรณีที่เป็นข่าวใหญ่  เพราะในอดีต  FTC ได้ร่วมกับอัยการของรัฐต่างๆ กว่า 46 รัฐและ 2 เขตพิเศษทั่วประเทศ เพื่อฟ้อง Facebook ในข้อหาผูกขาดตลาดโซเชียลมีเดีย
.
โดยมุ่งเป้าไปยังการเข้าซื้อ Instagram ในปี 2012 และ Whatsapp ในปี 2014 จนทำให้ทุกวันนี้ Facebook ยิ่งใหญ่มหาศาล ซึ่งถือเป็นการลดคู่แข่งในอนาคต เข้าข่ายผูกขาดตลาด และจำกัดโอกาสในการแข่งขันของผู้ประกอบการรายอื่นๆ
.
ข้อเสนอของ FTC คือต้องการให้ศาลสั่ง Facebook แยกกิจการของ Instagram และ Whatsapp ออกจากบริษัทแม่ (ซึ่งก็คือ Facebook) และหลังจากนี้ หาก Facebook จะเข้าซื้อกิจการใดๆ ต้องผ่านความเห็นชอบและอนุมัติจาก FTC ก่อนเสมอ
.
แต่ Facebook ก็มองว่า การกระทำของ FTC ไม่เป็นธรรม เพราะการกลับไปเอาผิดกับการอนุมัติการเข้าซื้อกิจการในอดีต ถือเป็นการสร้างมาตรฐานใหม่ทางกฎหมาย และไม่ได้เอาประโยชน์ของผู้บริโภคเป็นที่ตั้ง เนื่องจากพุ่งเป้าจะลงโทษ Facebook แต่ฝ่ายเดียว

related