svasdssvasds

เปิดหลักฐานชัด แพทย์ชนบท ชี้ องค์การเภสัชกรรม ส่อ
ทุจริตจัดซื้อ ATK 


การจัดซื้อ ATK ของ องค์การเภสัชกรรม ดูเหมือนไม่จบ หลังเซ็นสัญญาจัดซื้อกับ บริษัท เวิลด์ เมดิคอล จำกัดแล้ว แต่เกิดการตั้งข้อสังเกตว่า ทำไมบริษัทที่เซ็นซื้อ กับบริษัทที่ชนะการประมูล คนละเจ้า ส่อทุจริตหรือไม่? ชมรมแพทย์ชนบท งัด 3 ข้อชี้ จี้หน่วยงานรัฐตรวจสอบ

เปิดหลักฐานโต้กันให้ชัด ชมรมแพทย์ชนบท กับ องค์การเภสัชกรรม ปมทุจริตจัดซื้อ ATK 8.5 ล้านชิ้น
       การจัดซื้อ ATK 8.5 ล้านชิ้น ของ องค์การเภสัชกรรม ที่เซ็นสัญญาจัดซื้อไปแล้วกับ บ.เวิล เมดิคัล  ดูเหมือนว่ายังไม่จบ มีประเด็นที่สังคมสงสัย

ทำไม ชื่อ บ.ชนะการประมูล กับ บ.เซ็นสัญญา ไม่ตรงกัน
ผู้เปิดประเด็นชัด คือ ชมรมแพทย์ชนบท ชี้
วันยื่นซองประมูล คือ บริษัท ออสท์แลนด์ แคปปิตอล จำกัด
แต่วันเซ็นสัญญาจัดซื้อ กลับเป็น บริษัท เวิลด์ เมดิคอล อัลไลแอนซ์ (ประเทศไทย) จำกัด 

แบบนี้ ผิดกฏหมายหรือไม่?
.
ทางอภ. ยืนยัน จัดซื้อโปร่งใส บริษัท เวิลด์ เมดิคอลฯ เป็นผู้ยื่นซองประมูล
.

ซึ่งทั้ง แพทย์ชนบท และ อภ. ต่างก็มีหลักฐานเด็ด 
เดี๋ยวโอ๋สรุปให้ฟัง
.
ชมรมแพทย์ชนบท ชี้ 3 จุด ชวนสงสัย อภ.ส่อทุจริต ดังนี้
หนังสือเชิญประมูล

1.จดหมายเชิญประมูล เชิญ บริษัท ออสท์แลนด์ฯ ชัดเจน ชี้ ถ้ามีตัวแทนจำหน่าย ต้องมีเอกสารการแต่งตั้งมาแสดงในวันยื่น ซึ่งถ้าแต่งตั้งมานานแล้ว ทำไม บ.ออสท์แลนด์ฯ ต้องเป็นผู้ยื่นซองประมูล ทำไมไม่ใช้ บริษัท เวิลด์ เมดิคอล 

 

วันเปิดซองประมูล

2.วันเปิดซองประมูล 10 สิงหาคม มีการเขียนผลการเปิดซองบนกระดานชัดเจนเรียงว่า บริษัทไหน เสนอราคา ATK เท่าไหร่ ต่อหน้า เจ้าหน้าที่ อภ. และ ตัวแทนแต่ละบริษัท มีแค่ชื่อ บ.ออสท์แลนด์ เท่านั้น

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :

เว็บอภ

3.ข้อมูลสอดคล้อง กับ ข้อมูลข่าวบนเว็บ องค์การเภสัชกรรม 11 ส.ค.64  ระบุชัด
“บริษัท ออสท์แลนด์ แคปปิตอล จำกัด เป็นผู้ที่เสนอราคาต่ำที่สุด” เป็นผู้ชนะการประมูลไป ไม่ใช่ บริษัท เวิลด์ เมดิคอล 

ชมรมแพทย์ชนบท เรียกร้อง 4 หน่วยงาน ตรวจสอบด่วน
1.โรงพยาบาลราชวิถี
2. กระทรวงสาธารณสุข 
3.กรมบัญชีกลาง
4.สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน 
ว่าเข้าข่าย
- ผิดกฏหมายและเอื้อเอกชน
- มีการแก้ไขเอกสาร สร้างหลักฐานเท็จ หรือไม่

 

ด้าน นางศิรินุช ชีวันพิศาลนุกูล 
รองผู้อำนวยการ องค์การเภสัชกรรม ได้ชี้แจง ว่า


- ทำไมเซ็นสัญญา กับ บริษัท เวิลเมดิคัล ทั้งที่ไม่ใช่บริษัทที่เปิดซองประมูล?
ออสท์แลนด์
อภ. ยืนยัน  10 ส.ค. 64 บริษัท เวิลด์ เมดิคอลฯ เป็นผู้ยื่นซองเสนอราคา เนื่องจาก เป็นผู้แทนจำหน่ายอย่างเป็นทางการของ บ.ออสท์แลนด์ ตั้งแต่ 23 กรกฎาคม 2564 แล้ว แต่ บ.ออสท์แลนด์ ยื่นซองประมูลแทนในนาม บ.เวิลด์ เมดิคอล เพราะเป็นผู้ได้รับอนุญาติให้นำเข้า ATK จาก อย.ไทย นั่นเอง

       งานนี้ทั้ง 2 ฝ่าย มีหลักฐานชี้แจงในมุมตัวเองทั้งคู่ ซึ่งยังไม่รู้ว่าเรื่องนี้จะจบอย่างไร ต้องรอติดตามว่า
หน่วยงานที่ แพทย์ชนบทร้องให้ตรวจสอบจะตรวจสอบไหม เพราะหากว่ากันด้วยน้ำหนักของหลักฐาน ของทั้งคู่ ไม่ใช่เอกสารทางราชการไทยทั้งหมด แต่ต่างฝ่ายต่างพูดข้อเท็จจริงในมุมตัวเองที่เกิดขึ้น

สุดท้ายไม่ว่า ข้อเท็จจริง จะเป็นอย่างไร ขอให้การจัดซื้อ ATK ครั้งนี้ ยึดผลประโยชน์ของประชาชนมากที่สุด และคุณภาพได้มาตรฐาน เพราะ ATK จะเป็นหนึ่งในกุญแจสำคัญ ที่จะทำให้การตรวจเชิงรุก มีประสิทธิภาพ และสามารถควบคุมการระบาด และเดินหน้าเปิดเมืองได้ต่อไป

related