svasdssvasds

พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม และ พ.ร.บ.คู่ชีวิต ต่างกันยังไง? และความคืบหน้าล่าสุด

พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม และ พ.ร.บ.คู่ชีวิต คืออะไร? อัพเดทความต่าง และความคืบหน้าล่าสุด (15 มิ.ย.) สภาผู้แทนราษฎร์ มีมติเสียงโหวต ผ่านร่าง วาระ1 ถือเป็นความหวังครั้งสำคัญของสิทธิ กฏหมายขั้นพื้นฐานชาว LGBTQIA+ ไทยควรยินดีและควรต้องรู้ เดี๋ยวโอ๋สรุปให้ฟัง

อัพเดตความหวังในกฏหมายที่จะรับรอง สิทธิขั้นพื้นฐาน ให้กับชาวเรา
พรบ​.คู่ชีวิต (ก.ยุติธรรม)
พรบ.สมรสเท่าเทียม (พรรคก้าวไกล)
กฏหมายใกล้จะใช้ได้ยัง? ความต่างสองอันนี้หลักๆมันยังไง ? เด่วสรุปให้ฟัง


       ความรัก การมีครอบครัว สิทธิรับรองทางกฏหมาย เป็นสิทธิ ขั้นพื้นฐาน ที่คนทุกคนบนโลกใบนี้ ควรจะได้รับ ไม่ว่าจะเพศใด ชาติใด ศาสนาใด เราทุกคนต้องการ การยอมรับ การเข้าใจทั้งสิ้น แต่ในเมื่อ ทุกคนบนโลกไม่ได้เข้าใจกัน เราจึงจำเป็นต้องมีกฏหมายรองรับเป็นลายลักษณ์อักษร แต่ชาว LGBTQIA+ ในไทย ยังไม่ได้สิทธินี้

คืบหน้าถึงไหนแล้ว?
พรบ​.คู่ชีวิต (ก.ยุติธรรม)

7 พค ครม.ไฟเขียวร่างพ.ร.บ.คู่ชีวิต และร่างพ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ป.พพ
เตรียมเสนอสภา พิจารณา วาระ 1 2 3 ต่อ ประกบ ร่างพ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม


ร่างพ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม
เตรียมกลับเข้าสู่การพิจารณาในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรอีกครั้ง 8 มิ.ย. นี้ หลังสภาผู้แทนราษฎรลงมติอนุมัติให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) นำร่างฯ นี้ไปศึกษาเพิ่มเติม 60 วัน ตั้งแต่ช่วงกลาง ก.พ. ที่ผ่านมา

เสียงเรียกร้องยังไง?
ดูจากโพสต์ใน ทวต ชาว LGBTQ ไม่น้อย
ที่สนับสนุน พรบ สมรสเท่าเทียม เพราะมองว่า

- สิทธิทางกฏหมาย  คู่ชีวิต เหมือนจะใกล้เคียง กับ คู่สมรส แต่ ยังไม่เท่า
(อุ้มบุญ,ลดหย่อนภาษี หรืออะไรที่จำกัดด้วยคำว่า คู่สมรส)

- ยิ่งตรากฏหมายมาใช้เฉพาะ ยิ่งเสมือนเป็นการ แบ่งแยกเพศ
กฏหมายนี้นะ ใช้เฉพาะชาวสีรุ้งนะ อ่าว ทำไมต้องแยกกับ ช ญ ยิ่งไปกันใหญ่

- หรือกลัวชาว LGBTQ จะมีชีวิตที่ดีกว่า ? หรือกลัวว่าจะริดรอนสิทธิของ ช ญ?
ไหนล่ะ ความเสมอภาคทางเพศ ? ทั้งที่ความจริง สิทธิช ญ ยังเหมือนเดิมเลย
แค่คุณทำให้ สิทธิของ LGBTQ มันเกิดขึ้น เท่านั้นเอง เพราะพวกเราไม่เคยมีสิทธิ ใดใดรับรองเลย
 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :

ทำไมเขาถึงไม่อยากได้ พ.ร.บ.คู่ชีวิต มันต่างกันยังไง?
 
  ฉบับหนึ่งเป็นการร่างกฏหมายแยกขึ้นมาใช้เฉพาะกลุ่ม(LGBTQ+) คนส่วนใหญ่จึงมองว่า ยิ่งเป็นการเหยียดเพศ และ แบ่งแยกเพศอย่างรุนแรงมากขึ้น 
แต่อีกฉบับหนึ่งนั้น คือการแก้ความหมายของ คำ ที่ว่าด้วยการสมรส จาก ชาย และ หญิง เป็น บุคคล กับ บุคคล สิทธิทางกฏหมายของ คู่สมรส ทุกประการที่เคยมีอยู่ จะใช้ได้ดังเดิม แต่ครอบคลุม กลุ่มคนทุกคนอย่างเท่าเทียม​
โดยทั้งสองฉบับ มีสาระสำคัญนั้นใกล้เคียง แต่ยังมีสิทธิบางประการอีกหลายอย่าง ที่ พ.ร.บ.คู่ชีวิต ยังให้ไม่เท่า พ.ร.บ. สมรสเท่าเทียม

พรบ​.คู่ชีวิต (ก.ยุติธรรม)

หน้าที่ในการอุปการะเลี้ยงดูซึ่งกันและกัน 

อำนาจจัดการแทนผู้เสียหายในคดีอาญา

สิทธิรับบุตรบุญธรรมร่วมกัน 

สิทธิรับมรดกในฐานะทายาทโดยธรรม 

สิทธิและหน้าที่ในการเป็นผู้อนุบาลหรือผู้พิทักษ์

สิทธิเซ็นยินยอมให้รักษาพยาบาลอีกฝ่าย 

สิทธิจัดการศพ 
ทรัพย์สินระหว่างคู่ชีวิต แบ่งเป็นสินส่วนตัวและทรัพย์สินร่วมกัน 
เหตุฟ้องเลิกการเป็นคู่ชีวิต ยกย่องผู้อื่นฉันคู่ชีวิต ทรมานร่างกายหรือจิตใจ  เกิน1 ปี
พรบ คู่ชีวิต อุ้มบุญไม่ได้ ลดหย่อนภาษี หรือ สิทธิที่เขียนว่า คู่สมรส เราก็จะไม่ได้

ร่างพ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม(พรรคก้าวไกล)
- ตัว พรบ สมรสเท่าเทียม แก้แค่ การสมรส ระหว่าง ช ญ เป็น บุคคล
คนที่จดทะเบียน ไม่ว่าจะเพศใด ได้รับสิทธิ เท่าเทียมกันหมดเลยทุกอย่างที่มีแล้วในกฏหมาย
(ไม่ต้องแก้ไข หรือ ร่างกฏหมายใหม่ขึ้นมาอีก ก็มันมีอยู่แล้ว)

       แต่ยังไงชาว LGBTQ น่าจะพอได้โห่ร้องแสดงความยินดี
ของก้าวแรก เพราะวันนี้(15 มิ.ย.)ถือว่าเป็นครั้งแรกในหน้าประวัติศาสตร์ ตั้งแต่ที่ พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม ถูกผลักดันเข้าสภาโดยพรรคก้าวไกล ไม่ถูกตีตก
เพราะ สภาฯมีมติ รับร่างในวาระแรก แล้ว แต่ยังไงก็ต้องรอลุ้นการพิจารณา ในวาระที 2 และ 3 อีก แต่ก็ถือเป็นเรื่องน่ายินดีมากๆของผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศในประเทศไทย

related