svasdssvasds

ก้าวต่อไปของ พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม ก่อนประกาศใช้ เป็นกฏหมาย อีกกี่ขั้นตอน

หลังข่าวน่าดีใจของชาว LGBTQ+ ที่เมื่อวานที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร มีมติรับร่าง พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม ที่เสนอโดย พรรคก้าวไกล แม้เป็นก้าวแรกที่สำคัญ แต่ก็เป็นเพียงจุดเริ่มต้นเท่านั้น ชวนส่องก้าวต่อไป ก่อนประกาศเป็นกฏหมายในประเทศไทย ต้องผ่านอะไรบ้าง เดี๋ยวโอ๋สรุปให้ฟัง

ขั้นต่อไปของ พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม ผ่านวาระแรกแล้ว
บังคับใช้เป็นกฏหมายได้เมื่อไหร่ เดี๋ยวโอ๋สรุปให้ฟัง


เมื่อวานดีใจมากจริงๆ แทนชาว LGBTQ ทุกคน ก้าวแรกในสิทธิทางกฏหมาย ที่เราเรียกร้องกันมา 2 ปี เริ่มเห็นผล
เมื่อวาน สภามีมติผ่านร่าง พรบ สมรสเท่าเทียม ที่เสนอโดย สส.ธัญวัจน์ กมลวงวัฒน์ ก้าวไกล

เห็นน้ำตา ครูธัญ และ สส ท่านอื่น รู้เลยว่าดีใจและเหนื่อยกันมาแค่ไหน
ขอบคุณนะคะ  ที่ทำงานและต่อสู้แทนประชาชนอย่างเราที่อยู่ข้างนอก


แต่จริงๆ เมื่อวานสภาโหวตรับหลักการ 4 ร่าง ที่เกี่ยวกับ
 LGBTQ นะ ไปสู้กันต่ออีก มีทั้ง
ร่างพ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม
ร่างพ.ร.บ.คู่ชีวิต พ.ศ… ที่ ครม. เสนอ
ร่าง พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์  ครม. เป็นผู้เสนอ
ร่างพ.ร.บ.คู่ชีวิต พ.ศ. … ที่เสนอโดยนายอิสระ เสรีวัฒนวุฒิ พรรค ปชป. 

แปลว่า แม้ผ่าน วาระแรก แต่อะไรก็ยังไม่แน่นอน สู้อีกนาน
แล้ว พ.ร.บ. สมรสเท่าเทียม จะใช้ได้จริง เมื่อไหร่ล่ะ?
การออกเป็นกฏหมาย มีขั้นตอนต่อไปนี้

ข้าใจหลักนิติบัญญัติ
คนที่จะเสนอกฏหมายได้ มีใครบ้าง?

ครม. , ส.ส. 20 คน, ประชาชน 10,000 คน  เข้าชื่อเสนอกฎหมายเข้าสภา

ไปสู่การพิจาณากฎหมาย แบ่งเป็น 3 วาระ

วาระแรก (เมื่อวาน) รับหลักการ
ผู้เสนอร่าง ยกเหตุจำเป็นในการต้องมีกฏหมายนี้ โดยมี สส ในสภา
อภิปรายสนับสนุน หรือ ค้าน
สุดท้ายขอมติที่ประชุม รับ ไม่รับ? ไม่รับ ตกทันที ถ้ารับ

วาระสอง  ขั้นกรรมาธิการ แปรญัติ
พิจารณาร่างกฎหมายเป็นรายมาตรา เพิ่ม ตัด ได้แต่ต้องไม่ขัดร่างเดิม
โดย สส ทั้งสภา หรือ ตั้งกรรมาธิการเฉพาะ หรือ เชิญบุคคลภายนอกมาร่วมพิณาด้วยก็ได้
เมื่อกรรมาธิการพิณาเสด นำร่างเข้าสภา เพื่อ อภิปรายอีกครั้ง และลงมติ ถ้าผ่าน

วาระสาม ลงมติเห็นชอบ
ถ้าไม่เห็นชอบ ตกไป ถ้าเห็นชอบ
 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :

จากนั้นไปถึง การพิจารณาของ สว.ต่อ อีก 3 วาระ ภายใน 60 วัน

       สว.ไม่มีอำนาจปัดตก กฏหมาย   มีแค่ เห็นชอบ ไม่เห็นชอบ แก้ไขเพิ่มเติม ไม่เห็นชอบ สส. นำกลับมาพิณาใหม่ได้หลังพ้น 180 วัน
ถ้ารอบนี้ สส เกินกึ่งหนึ่ง เห็นชอบ ผ่าน สว. ได้เลยถือว่าเห็นชอบแล้ว ผ่านเป็นกฏหมายได้เลย แก้ไขเพิ่มเติม ส่งร่างแก้ให้ สส ถ้า สสไม่เห็นชอบ ก็ตั้งกรรมาธิการร่วมมา พิณาร่วมกันได้ ถ้าไม่เห็นชอบอีก ก็ยกมาพิจารณาใหม่ได้ หลังพ้น 180 วัน

ถ้าเห็นชอบ เข้าสู่ขั้นตอน การประกาศใช้เป็นกฏหมาย
       
 ส่งศาลรัฐธรรมนูญ ทูลเกล้า และ ประกาศในราชกิจจาได้ การพิจารณาน่าจะแล้วเสร็จ ในสมัยประชุมนี้ คือช่วงก่อน ก.ย. เราคงต้องรอติดตาม
 

related