svasdssvasds

ราคาน้ำมัน แพงขึ้น ถูกลง ผันผวนหนัก ใครเป็นคนกำหนด?

ไขข้อสงสัยความผันผวนของราคาน้ำมัน เดี๋ยวราคาขึ้น เดี๋ยวราคาถูกลง เกิดขึ้นจากสาเหตุ หรือ ปัจจัยใดบ้าง? ใครเป็นผู้กำหนด แล้วที่ว่า ราคาน้ำมันของประเทศไทยนั้น แพงกว่าหลายประเทศแถบเพื่อนบ้านจริงหรือไม่? เดี๋ยวโอ๋สรุปให้ฟัง

ารขึ้นๆ ลงๆ ของราคาน้ำมันในประเทศไทย มาจากอะไร?
ทำไมเดี๋ยวขึ้น ทำไมเดี๋ยวลง ใครเป็นคนกำหนด 
ราคาน้ำมันในไทย แพงกว่า อาเซียน จริงหรอ เดี๋ยวโอ๋สรุปให้ฟัง

ก่อนจะดูว่า สาเหตุความผันผวน หรือ การขึ้นลง ของราคาน้ำมันในไทยขึ้นอยู่กับอะไรบ้าง 
ต้องรู้ก่อนว่า ราคาน้ำมัน 1 ลิตร ประกอบด้วยค่าอะไรบ้าง?
1. ต้นทุนเนื้อน้ำมัน ราคาน้ำมันสำเร็จรูปหน้าโรงกลั่น อ้างอิงราคาตามตลาดกลางภูมิภาคเอเชีย ซึ่งก็คือสิงคโปร์นั่นเอง
2. ภาษีต่างๆ ภาษีสรรพสามิต,ภาษีเทศบาล  และ ภาษีมูลค่าเพิ่ม 
3. กองทุนต่างๆ กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน  
4. ค่าการตลาด ซึ่งยังไม่ใช่กำไรสุทธิของผู้ประกอบการ เพราะยังไม่ได้หักต้นทุนค่าใช้จ่ายต่างๆ เช่น จัดการคลังน้ำมัน การขนส่ง ค่าพนักงาน 

4 ข้อนี้เรียกว่า โครงสร้างราคาน้ำมัน 
ซึ่งแต่ละประเทศก็มีโครงสร้างราคาน้ำมันที่ไม่เหมือนกัน 
- ไทย เวียดนาม จะมีโครงสร้างราคาน้ำมันใกล้เคียงกัน
- เมียนมา นำเข้าน้ำมันที่กลั่นแล้วจากไทย แต่เก็บภาษีถูก ไม่ถึง 10% ราคาถูกกว่าไทย
- สิงคโปร์ แพงกว่าไทยเป็นเท่าตัว เพราะแม้เป็นศูนย์กลางซื้อขายน้ำมันสำเร็จรูปของอาเซียน แต่ค่าครองชีพเขาสูง เก็บภาษีสูง  ค่าดำเนินการสูง  
- บรูไน มาเลเซีย เป็นประเทศผู้ผลิตน้ำมันเองโครงสร้างราคาจึงถูกกว่าประเทศอื่น  
สรุปถ้ามองจากข้อมูลนี้ ราคาน้ำมันในบ้านเราถือว่าอยู่ระดับกลางเมื่อเทียบกับอาเซียน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :

       แต่ความผันผวนของราคาน้ำมัน ที่มีขึ้น - ลง  ยังมีปัจจัยอื่นที่เกี่ยวข้อง คือ  ราคาน้ำมันดิบโลก ความต้องการน้ำมัน และ อัตราแลกเปลี่ยน

       ราคาน้ำมันดิบโลก : ไทยเราแม้จะผลิตน้ำมันได้เองส่วนหนึ่ง แต่ปริมาณไม่เพียงพอกับความต้องการ โดยเราต้องนำเข้าน้ำมันดิบเพื่อนำมากลั่นสูงถึง 80 – 90% ในแต่ละปี น้ำมันดิบเหมือนสินค้าอุปโภคบริโภคต่างๆ ที่ตามปกติ สินค้าจะถูกจะแพง ขึ้นอยู่กับ กลไกตลาด ตามหลักเศรษฐศาสตร์  หากช่วงไหนที่การผลิต น้อยกว่าความต้องการ น้ำมันก็จะแพง ผลิตมากกว่าความต้องการ น้ำมันก็จะถูก  เช่น
        ช่วงโควิด 19 เมื่อ 2 ปีที่แล้ว ปี 2563 ราคาน้ำมันลดต่ำลงเป็นอย่างมาก เพราะตอนนั้นผู้คนเดินทางน้อย ภาคอุตสาหกรรมก็ผลิตสินค้าต่าง ๆ น้อยลง  เศรษฐกิจหยุดชะงัก ทำให้มีการใช้พลังงานและความต้องการน้ำมันลดลง 
ราคาน้ำมันก็ลดลง แต่หลังจากที่เศรษฐกิจไทยเริ่มฟื้นตัว ความต้องการน้ำมันกลับมา ผู้คนเริ่มออกเดินทาง  โรงงานต่าง ๆ กลับมาผลิต มีการซื้อ-ขายสินค้า เกิดการเดินทางขนส่ง  มีความต้องการใช้พลังงานเพิ่มขึ้น แต่การผลิตน้ำมันชะลอตัว  มีความต้องการมาก ราคาก็สูงขึ้น รวมถึงความกังวลต่อความขาดแคลนน้ำมัน ที่มาจากสงคราม เช่น รัสเซีย ยูเครน อีกด้วย

       อัตราแลกเปลี่ยน : ค่าเงินแข็ง ต้นทุนราคานำเข้าถูก ค่าเงินอ่อน ราคานำเข้าแพง
 สรุปแล้วการที่ราคาน้ำมันไทย มีความผันผวนสูง
สาเหตุมาจากหลายปัจจัย น้ำมันเป็นพลังงานสิ้นเปลืองใช้แล้วหมดไป คงจะดีกว่าถ้าเราช่วยกัน ใช้พลังงานอย่างคุ้มค่า หันมามองหาพลังงานทางเลือก  เช่น พลังงานไฟฟ้าหรือพลังงานหมุนเวียน เพื่อความยั่งยืนต่อไปในอนาคต

related