svasdssvasds

วิธีสังเกตสัญญาณเตือนโรคมะเร็งปอด พร้อมแนะการดูแลสุขภาพให้ห่างไกลโรคนี้

วิธีสังเกตสัญญาณเตือนโรคมะเร็งปอด พร้อมแนะการดูแลสุขภาพให้ห่างไกลโรคนี้

นับเป็นการสูญเสียครั้งใหญ่ในวงการบันเทิงไทย ที่ได้สูญเสียนักแสดงชื่อดังระดับตำนาน สรพงศ์ ชาตรี จากไปอย่างสงบด้วยโรคมะเร็งปอด

โรคมะเร็งปอด เป็นโรคที่เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ นอกจากการสูบบุหรี่แล้วยังมีปัจจัยอื่นอีก มาดูกันดีกว่าว่ามีอะไรบ้างสัญญาณเตือนของโรคนี้คืออะไร พร้อมวิธีการดูแลสุขภาพให้ห่างไกลโรคนี้

มะเร็งปอด

วิธีสังเกตสัญญาณเตือนโรคมะเร็งปอด

การสังเกตอาการของโรคมะเร็งปอดสามารถสังเกตได้จากอาการของระบบทางเดินหายใจและอื่นๆ

อาการของระบบทางเดินหายใจ เช่น
- อาการไอเรื้อรัง อาจมีหรือไม่มีเสมหะก็ได้
- อาการไอเป็นเลือด
- หอบเหนื่อย หายใจลำบากเนื่องจากก้อนมะเร็งโตขึ้น ทำให้เนื้อที่ปอดสำหรับหายใจเหลือน้อยลง หรือก้อนมะเร็งนั้นกดเบียดหลอดลม
- เจ็บหน้าอกเวลาหายใจ
- ปอดอักเสบ มีไข้

ซึ่งอาการเหล่านี้อาจเกิดจากโรคอื่นที่เกี่ยวกับปอดได้เช่นกัน บางทีอาจไม่ใช่อาการของมะเร็งปอดเสมอไป

สังเกตจากอาการของระบบอื่นๆ ในร่างกาย เช่น
- เบื่ออาหาร น้ำหนักตัวลดลงโดยไม่ทราบสาเหตุ
- บวมที่หน้า แขน คอ และทรวงอกส่วนบนเนื่องจากมีเลือดดำคั่ง
- เสียงแหบเพราะมะเร็งลุกลามไปยังเส้นประสาทบริเวณกล่องเสียง
- ปวดกระดูก
- กลืนลำบากเนื่องจากก้อนมะเร็งกดเบียดหลอดอาหาร
- อัมพาตเนื่องจากมะเร็งแพร่กระจายไปยังสมองหรือไขสันหลัง
- มีตุ่มหรือก้อนขึ้นตามผิวหนัง

ซึ่งอาการเหล่านี้ก็ไม่จำเพาะต่อโรคมะเร็งปอดเช่นกัน  หากมีอาการดังกล่าวข้างต้นควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจหาอาการ

เนื้อหาที่น่าสนใจ :

ปัจจัยเสี่ยงและวิธีดูแลสุขภาพให้ห่างไกลโรคมะเร็งปอด

-ไม่ควรสูบบุหรี่หรืออยู่ใกล้ชิดผู้สูบบุหรี่ เพราะบุหรี่เป็นสาเหตุหลักของโรคมะเร็งปอดถึงร้อยละ 80 – 90 และการสูบบุหรี่ก็ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของเซลล์หลอดลม ทำให้เกิดการกลายพันธุ์เป็นเซลล์มะเร็งได้

-หลีกเลี่ยงการอยู่ในพื้นที่ที่มีมลภาวะมากๆ เช่น การอยู่หรือทำงานในที่ที่มีฝุ่นควันมาก หรือเหมืองแร่ โดยไม่มีเครื่องมือหรือหน้ากากป้องกัน

-การสัมผัสสารแอสเบสตอสหรือแร่ใยหิน ซึ่งใช้ในวงการอุตสาหกรรมรถยนต์ ฉนวนกันความร้อน การก่อสร้าง โครงสร้างอาคาร ผ้าเบรค คลัช และอุตสาหกรรมสิ่งทอ ก็ส่งผลกับระบบทางเดินทางใจได้

-ควรหลีกเลี่ยงที่ที่มีฝุ่นเยอะ ฝุ่นขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอนหรือ PM2.5 และควรสวมใส่หน้ากากอนามัยทุกครั้งเมื่อต้องออกไปข้างนอก ซึ่ง PM2.5 ก็อาจส่งผลกับระบบทางเดินหายใจได้เช่นกัน

 

-ควรหาโอกาสออกไปสูดอากาศบริสุทธิ์ ในที่ที่อากาศดีเพื่อฟอกปอดบ้าง

-หมั่นตรวจเช็กร่างกายเป็นประจำ

-รับประทานอาหารที่มีประโยชน์เพื่อให้ร่างกายแข็งแรงอยู่เสมอ

-โรคมะเร็งปอดยังมีปัจจัยอื่นเสริมอีก เช่น อายุที่มากขึ้น การใช้สารเสพติดบางประเภท เช่น กัญชาและโคเคน

 

Cr. www.roche.co.th