svasdssvasds

"ดูแลคอมมูนิตี้" อาชีพใหม่ของชาว Gen Z ที่จะสร้างโอกาสรอยัลตี้ของแบรนด์

"ดูแลคอมมูนิตี้" อาชีพใหม่ของชาว Gen Z ที่จะสร้างโอกาสรอยัลตี้ของแบรนด์

สิ่งที่แบรนด์ต่างๆ ต้องการ นอกจากเรื่องของการขายสินค้าแล้ว ก็คือการสร้างความภักดีต่อแบรนด์ (Brand Loyalty) ที่กลายเป็นเรื่องยากสำหรับองค์กรที่อยู่มานานและมีการแข่งขันสูง และชาว Gen Z ก็คือความหวังในอนาคต

เหตุผลสำคัญที่องค์กรต้องเร่งปรับตัวให้ทันพฤติกรรมของชาวเจน Z นั้น เป็นเพราะพวกเขาเชื่อในความเป็น Community มากกว่าการสื่อสารในรูปแบบเดิม รวมถึงเชื่อการบอกเล่าหรือ บอกต่อเกี่ยวกับแบรนด์จากบุคคลอื่น มากกว่าแบรนด์ ทำให้องค์กรต้องปรับกลยุทธ์ให้มากกว่ากลยุทธ์ทางการตลาดแบบเดิมๆ

หากจะให้เอ่ยตัวอย่างเช่น Xiaomi แบรนด์มือถือน้องใหม่ ที่เติบโตขึ้นมาได้ เพราะการสร้างคอมมูนิตี้ของแบรนด์ และมีแฟนคลับเข้ามาแชร์ประสบการณ์ใช้งาน พูดคุยเกี่ยวกับเทคโนโลยีต่างๆ และสื่อสารกันด้วยเรื่องที่น่าสนใจ จนทำให้แบรนด์เป็นที่รู้จักและสร้างยอดขายได้ดีกว่าแบรนด์ใหญ่ที่มีการเปิดตัวสินค้าใหม่ในช่วงเวลาใกล้เคียงกัน
 

อ่านข่าวอื่นๆ เพิ่มเติม

 

โดยปกติแล้ว แบรนด์จะมีแอดมินสำหรับดูแลคอมมูนิตี้บนแชนแนลของแบรนด์เอง แต่การมี “community managers” ซึ่งเป็นใครก็ไม่รู้เข้ามาเป็นตัวกลางเชื่อมโยงระหว่างแบรนด์กับลูกค้า สิ่งที่น่าสนใจคือ คนกลางคนนี้ช่วยเพิ่มโอกาสได้ทางการขายได้ดีด้วย 

มีข้อมูลบอกว่า 76% ของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตจะมีปฏิสัมพันธ์กับชุมชนเหล่านี้ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง และ 82% ของผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตยอมรับว่า พวกเขาเปิดใจรับฟังสิ่งที่แบรนด์ต้องการบอกภายใน Community มากกว่าให้แบรนด์เป็นผู้บอกเอง

อย่างไรก็ตาม จากผลการวิจัยของ Led Community ระบุว่า ตั้งแต่ปี 2020 องค์กรต่างๆ ก็วางแผนเพิ่มทีมในส่วนของคอมมูนิตี้แล้ว โดยมีตัวแทนผู้นำคอมมูนิตี้ (ที่ไม่บอกว่าเป็นพนักงานบริษัท) เพิ่มขึ้น 25%

Alexis Ohanion ผู้ร่วมก่อตั้ง Reddit กล่าวว่า ภายในปี 2030 บริษัทที่ติดอันดับ Fortune 500 จะมีการเพิ่มผู้บริหารฝ่ายคอมมูนิตี้ (Chief Community Officer) ขึ้นมา เพราะองค์กรต้องการคนที่จะมาเดินหน้ากลยุทธ์คอมมูนิตี้มากขึ้นกว่าเดิม นี่เป็นตัวอย่างขององค์กรที่จะปรับเปลี่ยนกลยุทธ์สำหรับธุรกิจเพื่อชาวเจน Z

"ดูแลคอมมูนิตี้" อาชีพใหม่ของชาว Gen Z ที่จะสร้างโอกาสรอยัลตี้ของแบรนด์

Community is King สำหรับชาวเจน Z 

ชาวเจน Z นิยมใช้เวลาว่างในการแชทผ่าน Discord ซึ่งเป็นการแชทแบบเรียลไทม์ โดยยังดูแลชุมชนในเวลาว่าง จากข้อมูลของ Amity พบว่า

48% ของเจน Z เชื่อถือการบอกต่อภายในคอมมูนิตี้มากกว่าการอ่านข้อมูลจากเว็บไซต์ข่าวแบบเดิม และเชื่อมากกว่าการสื่อสารผ่านโซเชียลมีเดียของแบรนด์ด้วย

หลังจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 เบาลงเชื่อว่าชาวเจน Z น่าจะใกล้จบการศึกษาหรือกำลังจะจบมัธยมปลาย นั่นยิ่งทำให้พวกเขามีส่วนร่วมกับคอมมูนิตี้เพิ่มขึ้นถึง 81% และมีศักยภาพในการบริหารจัดการคอมมูนิตี้ได้ดี


*** Discord คือแอปสื่อสารฟรีที่ให้คุณแบ่งปันเสียง วิดีโอ และข้อความกับเพื่อนๆ ชุมชนเกม และนักพัฒนา แอปนี้มีผู้ใช้หลายล้านคน ซึ่งเป็นหนึ่งในวิธีการสื่อสารกับผู้คนออนไลน์นิยมมากที่สุด 

บริหารเก่งเงินเดือนยิ่งสูง

ค่าเฉลี่ยเรื่องเงินเดือนสำหรับผู้บริหารที่ดูแลคอมมูนิตี้ อยู่ที่ 75,000 ดอลลาร์ หรือประมาณ 2.6 ล้านบาทต่อปี แต่คนที่มีความรู้เกี่ยวกับด้านคอมมูนิตี้อย่างแท้จริงยังมีน้อย จึงจำเป็นมาก สำหรับคนที่สนใจจะเปลี่ยนงานมาทำด้านคอมมูนิตี้ ที่จะต้องทราบอย่างชัดเจนเกี่ยวกับพฤติกรรมต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ของชาวเจน Z หรือรุ่นใหม่ๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตด้วย

เพราะการบริหารจัดการคอมมูนิตี้สำหรับชาวเจน Z จะต้องไม่ใช่ผู้ที่มีภูมิหลังการสื่อสารแบบดั้งเดิม รวมทั้งต้องให้ความสำคัญกับ Soft Skill และการสื่อสารที่มากกว่าแค่ข้อมูลส่วนตัวของลูกค้า ส่วนชาวเจน Z ที่หวังจะก้าวขึ้นเป็นผู้บริหารในตำแหน่งนี้ ก็ต้องรู้ให้มากกว่าการนำทักษะที่มีอยู่เดิมมาใช้งาน แต่ต้องใช้ความรู้และทักษะที่ได้รับมาตลอดช่วงที่เป็นวัยรุ่นนำมาปรับใช้กับลูกค้าอย่างเหมาะสม
 

related