svasdssvasds

หัวหน้าแบบไหน ที่ลูกน้องต้องการ ในยุคดิจิทัล จาก รวิศ Mission to the Moon

หัวหน้าแบบไหน ที่ลูกน้องต้องการ ในยุคดิจิทัล จาก รวิศ Mission to the Moon

เมื่องานมีเต็มไปหมด ทำอย่างไร คนเก่ง ๆ ถึงอยากมาอยู่กับเรา ? หัวหน้าแบบไหนที่ลูกน้องต้องการ จากมุมมองของ รวิศ หาญอุตสาหะ Mission to the Moon

รวิศ หาญอุตสาหะ ซีอีโอ ของ Srichand และผู้ก่อตั้ง Mission to the Moon ระบุ ภายในงาน Creative Talk Conference (CTC) 2023 กับหัวข้อ “Leader Vision: People you need in the World of Change เมื่อโลกเปลี่ยนคนแบบไหนที่ต้องมี” ว่า ปัจจุบันทักษะที่หลายหน่วยงานต้องการ มักใช้หลายทักษะที่ควรมีในคนเดียว เช่น การทำงานเก่ง แต่มนุษย์สัมพันธ์ดีด้วย เป็นต้น

ปัจจุบันมีองค์กรทั่วโลกกว่า 2 พันล้านบริษัท นั่นหมายความว่าจะมีองค์กรต่าง ๆ มากมายเป็นหาตัวคนที่มีทักษะที่ดีและรอบด้าน นั่นหมายความว่าลูกจ้างมีสิทธิที่จะเลือกองค์กรที่จะทำงานได้มากกว่าเดิม ประกอบกับสังคมผู้สูงอายุ จึงทำให้แรงงานใหม่ ๆ ลดลงด้วย

รวิศ หาญอุตสาหะ ซีอีโอ ของ Srichand และผู้ก่อตั้ง Mission to the Moon

รวิศ มองว่า จำนวนบริษัททั่วโลกที่จำนวนมากขณะนี้ ทำให้ลูกจ้างมีตัวเลือกในการเข้าทำงานมากยิ่งขึ้นซึ่งหนึ่งในปัจจัยหลักที่ทำให้ลูกจ้างเลือกที่จะทำงานในองค์กรใดองค์กรหนึ่ง คือ เจ้านาย หรือหัวหน้างาน

อ่านเรื่องราวที่เกี่ยวข้อง

ทำอย่างไรให้ตัวเองเป็นหัวหน้า-เจ้านายที่ดี จนลูกน้องอยากทำงานด้วย 

รวิศ เล่าว่า ผู้บริหาร หัวหน้าและเจ้านายที่ดีนั้น ขึ้นอยู่กับผู้บริหารขององค์กร ว่า ให้คุณค่าในตัวเองและคุณค่าในตัวพนักงานมากน้อยแค่ไหน ไม่ว่าจะเป็นในด้านบุคลิกภาพ , ครอบครัว , สังคม , เศรษฐกิจ , การเมือง และอื่น ๆ ก็ตาม แต่ต้องอยู่บนความเหมาะสมด้วย เช่น องค์กรที่ให้คุณค่าด้านความโปร่งใสมาก ๆ เปิดเรทเงินเดือนของพนักงานทุกคนให้ดูหมดเลย มันก็สร้างความแตกแยกในหมู่พนักงานได้ไม่น้อย

ดังนั้นอะไรที่มากเกินไปก็ไม่ดี

สิ่งหนึ่งที่ปฏิเสธไม่ได้คือลักษณะนิสัยของผู้บริหารในระดับ C level จะต้องเชื่อมต่อและสามารถพูดคุยกับลูกน้องได้ นอกจากนี้ยังต้องจัดการให้มีการทำงานร่วมกันระหว่างแผนกได้ (Cross-functional Working) เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ด้วยการทำให้พนักงานแต่ละฝ่ายที่ไม่ถูกกันมาเรียนรู้งานซึ่งกันและกัน

รวิศ หาญอุตสาหะ ซีอีโอ ของ Srichand และผู้ก่อตั้ง Mission to the Moon

ขณะเดียวกันผู้บริหารเองก็จะต้องเรียนรู้ทั้งจากข้อผิดพลาดและเรื่องราวใหม่ ๆ ตลอดเวลา ซึ่งสิ่งที่สำคัญที่สุดอีกอันหนึ่งที่จะทำให้ทั้งหมดเกิดขึ้นไม่ได้คือ เราเปิดกว้างมากพอที่ลูกน้องกล้าที่จะ feedback เรื่องราวที่ไม่ดีเกี่ยวกับการบริหารของเรากลับมาหรือเปล่า ถ้าหากไม่เราอาจจะกลายเป็นผู้นำที่ไม่ดีก็ได้

"การรับ Feedback ที่ดี ห้ามเซ็นต์เอกสารไปด้วยและห้ามพูดสวน แม้คำพูดจากลูกน้องจะทำเราโกรธก็ตาม แต่ผมอยากให้กลับไปคิดสักครู่หนึ่งก่อน ขณะที่เราเองต้องแยก Noise กับ Feedback ให้เป็น เช่น เกรียนคีย์บอร์ด ที่ด่าคนอื่นไปทั่ว โดยไม่สนถึงแก่นสาร นั่นคือตัวอย่าง Noise ที่เราเห็นได้ชัดเจนที่สุด" รวิศ กล่าว

นอกจากนี้หัวหน้าที่ดีจะต้องทำตัวไม่ให้เป็นภาระของลูกน้อง เช่นเรื่องที่ลูกน้องพูดไหนที่ประชุมแล้วหัวหน้าไม่เข้าใจเพียงเพราะหัวหน้าศึกษามาไม่มากเพียงพอ ซึ่งการที่หัวหน้าจะเรียนรู้เรื่องราวใหม่ๆทุกๆวันได้ ะต้องใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ มาใช้ในการเรียนรู้ เช่น Podcast และ ChatGPT เป็นต้น

รวิศ หาญอุตสาหะ ซีอีโอ ของ Srichand และผู้ก่อตั้ง Mission to the Moon

"ผมขอทำนายว่าอีก 4 ปีต่อจากนี้ประเทศไทยจะคล้ายกับสหรัฐอเมริกาในแง่ที่ว่า ผู้บริโภคจะเริ่มมีการเรียกร้องสิทธิในฐานะผู้บริโภคมากยิ่งขึ้น เพื่อให้หน่วยงานที่รับผิดชอบออกมาทำหน้าที่ของตนให้เข้มแข็งมากยิ่งขึ้น เพราะวันนี้ คุณค่าทางการเมืองของประเทศไทยกำลังจะเปลี่ยน" รวิศ คาดการณ์อนาคตประเทศไทยไว้ช่วงหนึ่งในการพูด

related