svasdssvasds

8 ปี รัฐบาลประยุทธ์ : ผลงานไซเบอร์ดี แต่ยังขาดแม่งาน Pr - บังคับใช้จริงจัง

8 ปี รัฐบาลประยุทธ์ : ผลงานไซเบอร์ดี แต่ยังขาดแม่งาน Pr - บังคับใช้จริงจัง

ปริญญา หอมเอนก วิเคราะห์ 8 ปี รัฐบาล ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผลงานไซเบอร์ดี แต่ยังขาดหน่วยงานรับผิดชอบ-งบประมาณด้านการประชาสัมพันธ์ให้ความรู้กับประชาชนทั่วไป และขาดการบังคับใช้อย่างจริงจัง เพราะโควิด-19

ดร. ปริญญา หอมเอนก ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เอซิส โปรเฟสชั่นนัล เซ็นเตอร์ จำกัด และ ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยไซเบอร์ (Cybersecurity) วิเคราะห์ผลงาน 8 ปี ของรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ด้านดิจิทัล ว่า ที่ผ่านมา นโยบายด้านความปลอดภัยไซเบอร์ หรือ Cybersecurity เราทำได้ดี สำเร็จในระดับหนึ่ง โดยเฉพาะระดับองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน แต่ในระดับประชาชนควรมีหน่วยงานรับผิดชอบโดยตรงและมีงบประมาณสนับสนุนในการประชาสัมพันธ์ข้อมูลด้านไซเบอร์เพื่อให้ความรู้ประชาชน

สำหรับประเทศไทยเมื่อเทียบกับประเทศอื่น ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ดีเลย ไม่แพ้ใคร เพราะหลายประเทศไม่มีแบบแผน ไม่มีนโยบายและไม่มีกฎหมายรองรับ ไทยขาดแค่การบังคับใช้ที่จริงจังเพราะการระบาดของโควิด-19

วัคซีนไซเบอร์สำหรับคนไทย

ดร. ปริญญา ระบุว่า วันนี้ประเทศไทยไม่มีข้อจำกัดเรื่องเทคโนโลยีแล้ว ประชากรส่วนใหญ่เข้าถึงสมาร์ทโฟนและเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แต่สิ่งที่ขาดไปคือความรู้เรื่องความปลอดภัยไซเบอร์ ทำอย่างไรไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของแฮกเกอร์ด้วยกลวิธีง่าย ๆ ทำอย่างไรให้คนตื่นตัว เหมือน พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หรือ PDPA  

ดร. ปริญญา เรียก การให้ความรู้ด้านความปลอดภัยไซเบอร์ว่า “วัคซีนไซเบอร์” เพราะต่อให้ระบบทุกอย่างป้องกันดี เช่น iOS ของ Apple ก็ยังกันข้อความจากมิจฉาชีพไม่ได้ ดังนั้นถ้าคนไทยไม่มีความรู้ทุกอย่างที่ลงทุนมาก็สูญเปล่า

3 เดือนที่ผ่านมา คนไทยสูญเสียเงินให้กับมิจฉาชีพบนโลกออนไลน์ไปถึง 3 พันล้าน เฉพาะที่แจ้งความประมาณเดือนละ 10,000 เคส

8 ปี รัฐบาลประยุทธ์ : ผลงานไซเบอร์ดี แต่ยังขาดแม่งาน Pr - บังคับใช้จริงจัง

อ่านเรื่องราวที่เกี่ยวข้อง

ตัวอย่างการประชาสัมพันธ์ที่ทำให้ประชาชนตื่นตัวได้ดีเลยคือ กฎหมาย PDPA ซึ่งทั้งภาคองค์กรและภาคประชาชนต่างตื่นตัวเป้นอย่างมาก ว่าจะทำถูกกฎหมายไหม จะผ่านเกณฑ์ไหม ซึ่ง ดร. ปริญญา แสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมว่า เรื่อง PDPA เป็นตัวอย่างที่ดี แต่จริง ๆ แล้วเราควรกลับมามองที่เรื่องพื้นฐานอย่าง Cybersecurity ด้วย เพราะถ้าพื้นฐานไม่ดีมี PDPA ไปก็เท่านั้น

ที่ผ่านมา คณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (กมช.) อาจจะติดในแง่ของการบังคับใช้อย่างจริงจัง และการประชาสัมพันธ์ในระดับประชาชน เพราะปัจจุบันระดับพนักงานปฎิบัติการและผู้บริหารเข้าใจแล้วแต่ภาคประชาชนยังขาดความรู้อยู่มาก ซึ่งส่วนตัวมองว่าในปีหน้า กมช. ก็คงต้องเข้มงวดมากขึ้น มีเกณฑ์ขั้นต่ำไว้บังคับใช้

ซึ่งความละเอียดอ่อนของกฎหมายไซเบอร์คือถ้าเราไปบังคับองค์กรมาก ๆ ก็ไม่มีใครอยากทำ แต่ถ้าหากมีการจัดอันดับกฎเกณฑ์บางอย่างที่ทุกคนต้องมี ภาคประชาชนก็จะเห็นแล้วว่าองค์กรไหนไม่ทำตามและไม่ผ่านเกณฑ์ เป็นการบังคับใช้กฎหมายแบบนุ่มนวล

ถ้าประเทศไทยเป็นพีระมิด ฐานรากเรานี่แหละไม่มั่นคง

ดร. ปริญญา เปรียบเทียบว่า ถ้าหากประเทศไทยเปรียบเป็นพีระมิด รากฐานเป็นประชาชนส่วนด้านบนเป็นระดับองค์กร-ผู้บริหารระดับสูง และระดับรัฐบาล ซึ่งฐานพีระมิดของไทยมีกว่า 70 ล้านคน การบังคับใช้กฎหมายของรัฐบาลเองก็ยังไม่พอ ต้องให้ความรู้ประชาชนมากขึ้น

ไทยมี สสส. ในการให้ความรู้และโทษของ บุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ แต่ด้านไซเบอร์หละ ประเทศไทยยังไม่มีใครเป็นเจ้าภาพ ดร. ปริญญา ระบุว่า “ผมขอเลย สสส. ไซเบอร์ ผมพูดมา 5 ปีแล้ว อยากให้มันเป็นจริง” กลายเป็นหน่วยงานที่ให้ความรู้ประชาชนด้านไซเบอร์โดยเฉพาะ

ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี

ดร. ปริญญา มองว่า ในกรอบที่เป็นแผนใหญ่ในระยะยาวถือว่าดีแล้ว แต่แผนการปฎิบัติจริงอาจต้องมาปรับทุก 1-3 ปี เพราะโลกทุกวันนี้หมุนไปเร็ว ต้องปรับให้ทันสมัยอยู่เสมอ แม้ว่าเรื่อง Cybersecurity จะน้อยไปหน่อยก็ตาม

related