svasdssvasds

ภัยไซเบอร์ 2024 ไทยยังโดนโจมตีหนัก หน่วยงานรัฐ-ทหาร ตัวท็อป

ภัยไซเบอร์ 2024 ไทยยังโดนโจมตีหนัก หน่วยงานรัฐ-ทหาร ตัวท็อป

หน่วยงานภาครัฐ อุตสาหกรรมการเงินและบุคคลทั่วไป ถือว่าเป็นกลุ่มเป้าหมายสำคัญที่มีการโจมตีทางไซเบอร์อย่างหนัก เนื่องจากไทยเข้าสู่การปรับตัวธุรกิจและชีวิตสู่ออนไลน์ และการหลอกให้ลงทุนกับการเจาะระบบก็เป็นอันดับต้นๆ ของการขโมยทั้งข้อมูลและเงิน

บริษัทด้านระบบรักษาความปลอดภัยบนโลกออนไลน์อย่าง Kaspersky และ Check Point Technology ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการคาดการณ์ภัยไซเบอร์ปี 2024 พบว่า

กลุ่มเป้าหมายในการโจมตีบนโลกออนไลน์ 

การปรับตัวสู่เทคโนโลยีอย่างรวดเร็วทำให้ภาครัฐและธุรกิจที่มีการทำเว็บไซต์สำหรับใช้งานภายในองค์กรและใช้งานทั่วไปกับลูกค้า แต่ไม่ได้มีการวางระบบความปลอดภัยมาก่อน กลายเป็นตัวเลือกแรกๆ ที่แฮกเกอร์ให้ความสนใจในการโจมตี ได้แก่

  1. หน่วยงานภาครัฐ/ทหาร
  2. อุตสาหกรรมการผลิต
  3. การเงิน/ธนาคาร
  4. บุคคลทั่วไป

โดย 3 อันดับแรก จะเป็นการโจมตีแบบโจมตีผ่านการเชื่อมต่อ การคลิกลิงก์ที่ไม่น่าเชื่อถือ รวมถึงการยืมใช้เครือข่ายเพื่อนำไปลักลอบกระทำความผิดบางอย่าง เช่น 

  • Botnet : ใช้โปรแกรมย่อยสำหรับการโจมตีแบบยิงรัวๆ ทำให้ระบบล่ม
  • Cryptominer : ขโมยใช้งานคลาวด์เพื่อขุดเหรียญคริปโตเคอเรนซี
  • Banking : เจาะระบบการเงิน
  • Infostealer : ขโมยข้อมูลส่วนตัวเพื่อหลอกให้ยินยอมโอนเงิน
  • Ransomware : ซอฟต์แวร์เพื่อเรียกเงินค่าไถ่
  • Mobile : เจาะรหัสส่วนตัวหรือระบบมือถือเพื่อขโมยข้อมูลและเงิน

ภัยไซเบอร์ 2024 การโจมตีบนโลกออนไลน์ที่ยังคงไม่สิ้นสุด

นอกจากการโจมตีแบบผ่านระบบเครือข่ายออนไลน์หรือภัยไซเบอร์แล้ว การหลอกขโมยข้อมูลจากตัวบุคคลก็เป็นอีกหนึ่งรูปแบบที่แฮกเกอร์นิยมใช้หลอกลวงผู้คน โดยรูปแบบการหลอกลวงที่เห็นได้เยอะ ได้แก่

  1. การหลอกลวงการลงทุนแบบโรแมนติก
  2. การฉ้อโกงเหรียญคริปโต
  3. เปิดบัญชีการฟอกเงิน
  4. สมัครเว็บการพนันที่ผิดกฎหมาย
  5. รับสมัครงานเพื่อขโมยข้อมูลส่วนตัว
  6. สวมรอยเป็นองค์กร/แพลตฟอร์มเพื่อหลอกรับเงิน

สำหรับวิธีการป้องกันตนเองจากภัยไซเบอร์ในรูปแบบการหลอกลวงบุคคล ได้แก่

  1. ระมัดระวังและรอบคอบในการส่งรายละเอียดหรือข้อมูลส่วนตัวให้แก่บุคคลแปลกหน้า
  2. ไม่กดลิงก์หรือไฟล์แนบที่ไม่น่าเชื่อถือ หรือมาจากหน่วยงานที่ไม่ชัดเจน
  3. ไม่เห็นแก่ของฟรีในการกรอกข้อมูลส่วนตัวเพื่อเข้าใช้งานหรือรับบริการสาธารณะ
  4. ตั้งค่ารหัสผ่านที่เข้าถึงได้ยาก หรือตั้งค่าสองชั้นในการเข้าถึงข้อมูลส่วนตัว
  5. ระวังในการเล่นเกมในแอปหรือแพลตฟอร์มจากบริการที่ไม่น่าเชื่อถือ

 

อ่านข่าวอื่นๆ เพิ่มเติม

related