svasdssvasds

ยิบอินซอย มอง AI ยังคงเป็นเทรนด์หลักของปี 2024 ควรมองให้มากกว่าความปลอดภัย

ยิบอินซอย มอง AI ยังคงเป็นเทรนด์หลักของปี 2024 ควรมองให้มากกว่าความปลอดภัย

ซีอีโอ ยิบอินซอย แนะองค์กรที่ต้องการลงทุนด้าน AI ต้องมีความสามารถในการรับมือต่อภัยคุกคามที่ไม่ใช่แค่ป้องกันตนเอง แต่ต้องรู้ทัน กู้คืนและกลับมาทำงานได้เป็นปกติอีกครั้ง หลัง AI กลายเป็นเทรนด์ที่ใครๆ ก็อยากลงทุน

SHORT CUT

  • AI ยุคใหม่ต้องดูแลตัวเองได้แม้เจอแฮกเกอร์
  • ผู้บริหารที่อยากลงทุน AI ต้องรู้ด้วยว่าหากเกิดปัญหาจะกู้คืนอย่างไร
  • AI ขององค์กรของวางแผนเรื่องธรรมาภิบาลด้วย

ซีอีโอ ยิบอินซอย แนะองค์กรที่ต้องการลงทุนด้าน AI ต้องมีความสามารถในการรับมือต่อภัยคุกคามที่ไม่ใช่แค่ป้องกันตนเอง แต่ต้องรู้ทัน กู้คืนและกลับมาทำงานได้เป็นปกติอีกครั้ง หลัง AI กลายเป็นเทรนด์ที่ใครๆ ก็อยากลงทุน

นายสุภัค ลายเลิศ กรรมการอำนวยการ และประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ บริษัท ยิบอินซอย จำกัด เสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับการเติบโตของเทคโนโลยีอย่าง AI ที่ภาคธุรกิจสนใจที่จะลงทุนกันมากขึ้นในปี 2024 ว่า เอไอจะเป็นเทคโนโลยีที่เฉิดฉายแห่งปี 2024 โดยเฉพาะ เจเนอเรทีฟ เอไอ (Generative AI) 

การปรับใช้เทคโนโลยีจึงต้องทำอย่างมีกลยุทธ์มากขึ้น โดยเฉพาะการโจมตีไซเบอร์ที่องค์กรต้องมองให้ไกลกว่าแค่ระบบรักษาความปลอดภัย (Cyber Security) แต่ต้องไปให้ถึง Cyber Resilience นั่นคือ ความสามารถในการเตรียมตัวและตอบสนองภัยคุกคาม ตลอดจนการกู้คืนระบบให้กลับมาเป็นปกติ ซึ่งจะเป็นตัวชี้วัดความเชื่อมั่นว่าองค์กรจะต้องไปต่อได้ในทุกสถานการณ์

เทคโนโลยีเชิงกลยุทธ์มาแรง

ผลวิจัยของการ์ทเนอร์ระบุว่า เทคโนโลยีเชิงกลยุทธ์ปี 2024 จะมาพร้อมกับ 3 แนวคิดสำคัญ คือ 

  1. เทคโนโลยีนั้นต้องปกป้องการลงทุนได้ 
  2. เทคโนโลยีนั้นต้องก่อให้เกิดการพัฒนาแอปฯ หรือโซลูชันที่ชาญฉลาดและใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
  3. เทคโนโลยีนั้นต้องสามารถส่งต่อมูลค่าด้านการบูรณาการและตอบโจทย์เป้าหมายของผู้บริหารให้ได้มากที่สุด

ส่วนภาพรวมของกลุ่มเทคโนโลยีที่จะมีบทบาทสำคัญในปีหน้า ได้แก่ AI TRiSM (AI Trust, Risk and Security Management) ที่จะเข้ามากำกับการทำงานของเอไอให้แม่นยำ โปร่งใส น่าเชื่อถือ รวมทั้งการใช้ข้อมูลต้องไม่ผิดพลาดหรือผิดกฎหมาย ทำงานและตีความในขอบเขตที่ถูกต้อง

เมื่อธุรกิจต้องใช้ AI ในการทำงานมากขึ้น

เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ปราศจากอคติ CTEM (Continuous Threat Exposure Management) รวมทั้งมีการกำหนดแนวปฏิบัติเรื่องความปลอดภัยไซเบอร์และประเมินความเสี่ยงตั้งแต่โครงสร้างธุรกิจและยุทธวิธีที่ใช้โจมตี  ICP (Industry Cloud Platform) รวมถึงบริการ As a Service ต่าง ๆ ให้อยู่ในฐานข้อมูลเดียวกัน

นอกจากนี้ การปรับแต่งการทำงานของคลาวด์ให้ตรงตามความต้องการของแต่ละอุตสาหกรรมแบบ Sustainable Technology ซึ่งเป็นเทคโนโลยีผสานกับความยั่งยืน เทคโนโลยีการจัดการข้อมูลเชิงลึกในการปรับปรุงประสิทธิภาพแบบองค์รวม หรือ Democratized Generative AI ที่ทำให้เกิดการเข้าถึงข้อมูลได้อย่างแพร่หลาย เป็นการส่งมอบศักยภาพการทำงานที่หลากหลาย ลตต้นทุน รวมถึงเพิ่มโอกาสใหม่ ๆ ในการสร้างการเติบโตทางธุรกิจ

ซึ่ง PWC บริษัทที่ปรึกษายักษ์ใหญ่ระดับโลก เคยคาดการณ์ว่า เอไอจะสร้างมูลค่าสูงถึง 16 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2573 โดยมีเจเนอเรทีฟ เอไอ เป็นตัวพลิกโฉมธุรกิจ ส่วน Quantum Computing จะเป็นแรงหนุนที่เข้ามาส่งเสริมขีดความสามารถของเอไอเมื่อต้องมีการประมวลข้อมูลจำนวนมาก

นอกจากนี้ จะเกิด Platform Engineering เทคโนโลยีเกิดใหม่ที่ทำให้กระบวนการส่งมอบซอฟต์แวร์รวดเร็วและทันสมัยกว่าเดิมด้วยการพัฒนาแพลตฟอร์มแบบให้บริการตนเองแก่นักพัฒนาซอฟต์แวร์ จะเข้ามาช่วยลดทั้งภาระงานและเวลาในกระบวนการพัฒนา รวมถึงเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ความน่าเชื่อถือและความปลอดภัยที่มากขึ้น

การพัฒนาแอป จะเป็นอีกหนึ่งการออกแบบของ AI ที่ช่วยให้สร้างแอปใหม่ๆ เร็วขึ้น

อุตสาหกรรมบริการไอทีในอนาคต

อย่างไรก็ตาม แนวโน้มของอุตสาหกรรมบริการไอที กำลังมุ่งไปสู่ 5 แนวทางที่น่าสนใจ ได้แก่

  1. การจัดการต้นทุนการใช้งานคลาวด์ที่ต้องได้ผลลัพธ์ที่ดีขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการขับเคลื่อนนวัตกรรมให้เกิดผลเป็นรูปธรรม และพร้อมสนับสนุนการใช้งานเจเนอเรทีฟ เอไอ เพื่อตัวเลขผลตอบแทนการลงทุน หรือ ROI ที่ดีกว่าเดิม 
  2. การลงทุนเอไอโดยเฉพาะเจเนอเรทีฟ เอไอจะเป็นเรื่องที่องค์กรให้ความสำคัญเป็นลำดับต้น ๆ ในการพัฒนาบริการที่สร้างความพึงพอใจให้ลูกค้า ผลวิจัยของ EY (Earnst & Young) ระบุว่า ผู้บริหารระดับสูง มีแผนลงทุนเรื่อง เจเนอเรทีฟ เอไอ โดย 80% ของผู้ตอบแบบสอบถามมีแผนที่จะเพิ่มการลงทุนเรื่องเอไอในปีหน้า
  3. ความตื่นตัวต่อการพัฒนาทักษะของคนให้มีประสบการณ์สูงในการคุยและทำงานกับเจเนอเรทีฟ เอไอที่มากขึ้น เช่น ทักษะการเขียน Prompting เพื่อสั่งงานเอไอ ขณะที่นักวิทยาศาสตร์ข้อมูลก็ต้องเรียนรู้เทคนิค CoT (Chain-of-Thought Reasoning) ในการพัฒนาแอปพลิเคชันที่ผ่านกระบวนคิดวิเคราะห์แบบเป็นขั้นเป็นตอนภายใต้เจเนอเรทีฟ เอไอ ซึ่งซับซ้อนกว่าการเขียน Prompting แบบแผนเดิมที่เคยเป็น
  4. การให้ความสำคัญกับตลาด Vertical Market โดยแสวงหาโอกาสในการประยุกต์เทคโนโลยีเกิดใหม่ เอไอ หรือ การวิเคราะห์ข้อมูลให้เดินหน้าไปในทิศทางเดียวกันทั้งผู้ผลิต ผู้ค้าปลีกและค้าส่ง
  5. การทำงานร่วมกับพาร์ทเนอร์ในการแก้ปัญหาให้ตรงจุดยิ่งขึ้น เช่น เรื่องของ DevOps ไอโอที ระบบความปลอดภัย การสนับสนุนขีดความสามารถของพาร์ทเนอร์ด้วยเอไอและการวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อให้เกิดระบบอีโคซิสเท็มที่กว้างขวางมากขึ้น การทำงานกับเวนเดอร์ที่หลากหลายเพื่อตอบโจทย์เรื่องความปลอดภัยไซเบอร์แบบครบวงจร

คาดหวังให้ ai ป้องกันตนเองได้

คาดหวังให้ AI ป้องกันตนเองจากแฮกเกอร์ได้

ผลสำรวจของ PWC ในเรื่อง 2024 Global Digital Trust Insights พบว่า 52% ของผู้บริหารด้านเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูง หรือผู้บริหารระดับสูงด้านเทคโนโลยีความปลอดภัย มีความคาดหวังเชิงบวกว่า เจเนอเรทีฟ เอไอ จะช่วยป้องกันหายนะจากการโจมตีทางไซเบอร์ในอีก 12 เดือนข้างหน้า 

  • 77% เห็นด้วยว่า เจเนอเรทีฟ เอไอจะช่วยองค์กรในการพัฒนาสายงานธุรกิจใหม่ภายใน 3 ปี 
  • 75% เห็นด้วยว่า กระบวนการขับเคลื่อนด้วยเจอเนอเรทีฟ เอไอจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของพนักงานในอีก 12 เดือนช้างหน้า

เกิดจากการที่เจเนอเรทีฟ เอไอมีจุดแข็งเรื่องข้อมูลสังเคราะห์จำนวนมากที่มาจากหลายระบบ หลายแหล่งข้อมูล ที่ช่วยการสืบค้น สืบสวนและแสดงผลภัยคุกคามที่ซับซ้อนด้วยภาษาที่ง่ายต่อการเข้าใจ รวมถึงให้คำแนะนำและกลยุทธ์ในการบรรเทาผลกระทบได้ดี 

ส่วนการโจมตีอุปกรณ์ ไอโอที ที่มักถูกออกแบบมาให้ใช้งานง่ายมากกว่าการคำนึงถึงความปลอดภัย ยิ่งเป็นไอโอทีที่อยู่ในอุปกรณ์ไฟฟ้าสำหรับใช้งานในบ้านที่มีความปลอดภัยค่อนข้างน้อย ไม่ว่าจะเป็น โปรโตคอลในการสื่อสารระหว่างอุปกรณ์หรือรหัสผ่าน ทำให้แต่ละอุตสาหกรรมต้องวางมาตรฐานความปลอดภัยด้านไอโอทีที่มีประสิทธิภาพให้กับตัวผลิตภัณฑ์มากขึ้น

เมื่อภูมิทัศน์ของภัยคุกคามเปลี่ยนไป ความสามารถในการเตรียมตัวและตอบสนองต่อภัยคุกคาม (Cyber Resilience) และความปลอดภัยไซเบอร์ (Cyber Security) จึงเป็นสิ่งที่ต้องพิจารณาควบคู่กัน เพราะต่อให้เรามีระบบรักษาความปลอดภัยที่ดีที่สุด ก็ไม่สามารถการันตีได้ว่าจะมีการป้องกันได้ 100% 

การเตรียมความพร้อมตอบสนองต่อภัยคุกคาม เพื่อช่วยให้ทำงานได้อย่างต่อเนื่อง สามารถอุดช่องโหว่ของระบบและกู้คืนได้อย่างรวดเร็ว รวมถึงเกิดการสูญเสียของข้อมูลหรือการหยุดชะงักของระบบให้น้อยที่สุด จะเป็นกลยุทธ์ด้านความปลอดภัยที่สำคัญมากขึ้นในปี 2567 

นอกจากนี้ การนำเรื่องของธรรมมาภิบาลเอไอ  (AI governance) มากำกับดูแลการใช้งานบนความรับผิดชอบ และมีความน่าเชื่อถือ ตลอดจนการป้องกันการรั่วไหลของข้อมูลจำนวนมาก ด้วยการวางกฎระเบียบความปลอดภัยไซเบอร์ซึ่งจะเป็นผลดีต่อการปกป้องเทคโนโลยีและภาพรวมทั้งธุรกิจของลูกค้า องค์กร สู่ระดับประเทศทั้งปัจจุบันและอนาคต

 

อ่านข่าวอื่นๆ เพิ่มเติม

related