svasdssvasds

Tiktok หวังสร้างโซเชียลสีขาว ด้าน "สื่อ" เสนอ อัลกอริทึมต้องปรับด้วย

Tiktok หวังสร้างโซเชียลสีขาว ด้าน "สื่อ" เสนอ อัลกอริทึมต้องปรับด้วย

Tiktok ตั้งเป้าสร้างสังคมออนไลน์สีขาว Digital White Space ด้านสื่อมอง ถึงเวลาที่แพลตฟอร์มต้องมาสร้างมาตรฐานชุมชนร่วมกันและเปิดพื้นที่ให้สื่อจริง ๆ ได้เข้าถึงคนดู ได้มากกว่าแค่ตามเทรนด์หรืออัลกอริทึม

ติ๊กต๊อก แพลตฟอร์มสื่อสังคมออนไลน์ จัดโครงการ Creating Digital White Space by Tiktok เพื่อสร้างพื้นที่สื่อสังคมออนไลน์ให้ปลอดภัยจากการคุกคามทางเพศ , การป้องกันข้อมูลส่วนบุคคล และ ป้องกันอาชญากรรมทางไซเบอร์ ซึ่งสาเหตุการสร้างโครงการนี้เพื่อสร้างพื้นที่ปลอดภัยในสังคมด้วยกันและไม่จำเป็นต้องจำกัดเฉพาะแพลตฟอร์มของติ๊กต๊อกเท่านั้น โดยได้นำร่องกับ สมาชิกสมาคมผู้ผลิตสื่อออนไลน์ (SONP)

Tiktok หวังสร้างโซเชียลสีขาว ด้าน "สื่อ" เสนอ อัลกอริทึมต้องปรับด้วย

ที่ผ่านมาการใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ไม่ว่าจะเป็นทั้งผู้อัพโหลดคอนเทนต์ หรือผู้ดูคอนเทนต์ ต่างเจอความคิดเห็นที่แตกต่าง ทั้งเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย แต่การที่ผู้คนสามารถแสดงความคิดเห็นได้อย่างเสรี ทำให้บางครั้งการแสดงความคิดเห็นก็อาจกระทบต่อจิตใจผู้อื่น ทั้งตั้งใจและไม่ตั้งใจก็ตาม ดังนั้นการสร้างสื่อสังคมออนไลน์ที่เป็นมิตรต่อทุกคนจึงเป็นเรื่องสำคัญ

Tiktok ห้ามอะไรบ้าง ?

เนื่องจากกลุ่มคนที่หลากหลายในแพลตฟอร์ม จึงทำให้ ติ๊กต๊อก ต้องมีการออกนโยบายและกฎชุมชนให้เหมาะสมไม่ว่าจะเป็นนโยบาย ด้านข้อมูลส่วนบุคคล รวมถึงการทำงานร่วมกับภาคส่วนต่าง ๆ

โดย ติ๊กต๊อก มีแนวทางสำหรับชุมชน ทั้งหมด 12 ข้อ ว่าสิ่งใดสามารถทำได้และไม่ได้ อย่างชัดเจนภายในแพลตฟอร์ม อาทิ ความปลอดภัยของเด็กและเยาวชน ทั้งภาพลามกอนาจารและภาพเด็กที่อยู่ในอันตราย , เรื่องของการกลั่นแกล้งกันบนโลกออนไลน์ หรือ Cyberbullying , กิจกรรมที่แสดงความเกลี่ยดชัง แนวคิดสุดโต่ง และการทำร้ายตัวเอง เป็นต้น

Tiktok หวังสร้างโซเชียลสีขาว ด้าน "สื่อ" เสนอ อัลกอริทึมต้องปรับด้วย

นอกจากนี้ภายในแอปฯ ยังฟีเจอร์ความปลอดภัยต่าง ๆ ที่จะป้องกันผู้ใช้ไม่ให้ถูกคุกคาม เช่น หากผู้ใช้อายุต่ำกว่า 16 ปี การส่งข้อความตรงจากผู้อื่นไปหาผู้ใช้ ก็จะถูกปิดโดยอัตโนมัติ

นอกจากนี้ แพลตฟอร์มยังมีการกำหนดว่าเนื้อหาและบัญชีของเราจะเผยแพร่ไปอย่างใครได้บ้าง เช่น สาธารณะ หรือ เฉพาะเพื่อเท่านั้น เช่นเดียวกับแพลตฟอร์มอื่น ๆ

Tiktok หวังสร้างโซเชียลสีขาว ด้าน "สื่อ" เสนอ อัลกอริทึมต้องปรับด้วย

ขณะเดียวกัน ติ๊กต๊อก ยังมีระบบ Content Control หรือ ระบบป้องกันเนื้อหาล่อแหลมเพื่อไม่ให้แสดงขึ้นมายังฟีดวีดีโอของเราเองได้อีกด้วย

ยอดวิวสูง รอดสายตาคนตรวจ ไม่ได้แปลว่าจะรอด

Tiktok มีการตรวจสอบ ทั้งโดยมนุษย์และระบบของ tiktok โดยจะมีการป้องกันอยู่ 3 ช่องทาง คือ การลดการมองเห็น , การไม่แนะนำขึ้นไปยังฟีดของคนอื่น เพื่อป้องกันการกระจายไปในวงกว้าง และมาตรการสุดท้าย คือ การปิดกั้นเนื้อหาไม่ให้ผู้อื่นมองเห็นเลย ซึ่งหากกระทำอย่างต่อเนื่องก็จะถูกแบนถาวรหรือชั่วคราวตามแต่กรณี ซึ่งถ้าหากคลิปไหนมียอดวิวสูงก็อาจถูกกลับมาตรวจสอบใหม่อีกครั้งได้เหมือนกัน

ทั้งนี้หากผู้ใช้เจอเนื้อหาและวีดีโอที่ไม่เหมาะสมก็สามารถที่จะกดรายงานเข้ามายังแพลตฟอร์มได้โดยตรง

สื่อมีกฎหมายคุมเป็นมาตรฐานเดียวกัน แล้ว สื่อสังคมออนไลน์ หละ ?

Tiktok หวังสร้างโซเชียลสีขาว ด้าน "สื่อ" เสนอ อัลกอริทึมต้องปรับด้วย

ด้าน ระวี ตะวันธรงค์ นายกสมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ ระบุว่า ในระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา แพลตฟอร์มสื่อสังคมออนไลน์นั้น มีการสร้างมาจรฐานชุมชนในชื่อที่แตกต่างกันไป อย่างได้ของติ๊กต๊อก เรียกว่า Digital White Space ซึ่งกลุ่มคนรุ่นใหม่จะเข้าใจคำนี้ แต่การจะทำอย่างไรให้คนทุกวัยเข้าใจเนื้อหาการสร้างสรรค์สื่อสังคมออนไลน์เป็นไปในทิศทางเดียวกันเป็นความท้าทายอย่างหนึ่ง

“ซึ่งในฐานะสื่อและผู้ผลิตสื่อเอง เนื่องจากสื่อมีข้อกฎหมายที่ถูกบังคับอยู่แล้ว เช่น กสทช. พ.ร.บ.คอม ในการควบคุมสื่อด้วยมาตรฐานเดียวกัน แต่แพลตฟอร์มสื่อสังคมออนไลน์ กลับไม่มีมาตรฐานที่อยู่บนมาตรฐานเดียวกันเพื่อทำให้สื่อและเนื้อหาในสังคมออนไลน์ไปในทิศทางเดียวกันด้วยมาตรฐานเดียวกัน โดยส่วนตัวสมาคมก็พยายามที่จะทำงานร่วมกับแพลตฟอร์มต่าง ๆ เพื่อให้เกิดมาตรฐานเหล่านี้” นายกสมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ กล่าว

“ผมเชื่อว่าพื้นที่ปลอดภัยบนสื่อสังคมออนไลน์ย่อมทำได้และจะเกิดขึ้นได้อย่างแน่นอน”

Tiktok หวังสร้างโซเชียลสีขาว ด้าน "สื่อ" เสนอ อัลกอริทึมต้องปรับด้วย

นักข่าวต้องวิ่งตามเทรนด์ แทนที่จะได้สร้างสรรค์สังคม

นายกสมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ มองต่ออีกว่า หากแพลตฟอร์มสื่อสังคมออนไลน์มีหมวดเฉพาะสำหรับสื่อ เช่น หัวข้อ “ข่าว” ที่ทำงานร่วมกับพันธมิตรที่เป็นสำนักข่าวจริง ๆ ก็อาจจะสามารถส่งเนื้อหาเข้าไปยังผู้ใช้ได้มากยิ่งขึ้นและสามารถสร้างพื้นที่ปลอดภัยบนสื่อสังคมออนไลน์ได้ง่ายมากยิ่งขึ้น

ย้อนกลับไปเมื่อ 40-50 ปีที่แล้ว สื่อถือว่าเป็นผู้ชี้นำสังคม ซึ่งมองกลับไปในยุคปัจจุบัน ถ้าเราสามารถยกระดับสื่อ สามารถส่งต่อเนื้อหาเพื่อชี้แนะนำสังคมได้เหมือนในอดีต ก็จะสามารถชี้นำและสร้างสรรค์สังคมได้

“ต้องบอกตามตรงว่านักข่าวปัจจุบัน วิ่งตามอัลกอริทึมและวิ่งตามเทรนด์ เป็นเรื่องน่าเศร้าที่การทำคลิปหมาแมวตีกันยอดดูดีกว่าข่าววิทยาศาสตร์ ซึ่งอาจจะต้องอาศัยความเข้าใจจากแพลตฟอร์มสื่อสังคมออนไลน์ด้วย ในการปรับระบบให้เอื้อต่อข่าวดี ๆ มากขึ้น”

Tiktok หวังสร้างโซเชียลสีขาว ด้าน "สื่อ" เสนอ อัลกอริทึมต้องปรับด้วย

ระวี ตะวันธรงค์ นายกสมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์

นายกสมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ มองว่า สำนักข่าวและแพลตฟอร์มต่าง ๆ ทำงานกันเหมือนน้ำพึ่งเรือเสือพึ่งป่า ซึ่งปีที่ผ่านมาสามารถพูดได้เต็มปากว่าเป็นปีแห่งติ๊กต๊อก และพูดอยู่เสมอว่า สำนักข่าวต่าง ๆ จะต้องปรับนโยบายทางธุรกิจไปสู่ Tiktok มากยิ่งขึ้น แต่ส่วนตัวอยากให้ปีหน้าเป็นปีที่ทุกคนหันมาสร้างพื้นที่ปลอดภัยในสังคมออนไลน์ คัดกรองสิ่งที่ไม่ดีออกจากสังคมรวมถึงส่งเสริมสิ่งที่ดีกว่าไปสู่สังคมได้มากยิ่งขึ้น

ทำข่าวดี ๆ เยอะแต่ยอดวิวน้อย มองอัลกอริทึมต้องปรับ ?

กนกพร ประสิทธิ์ผล ผู้อำนวยการสำนักสื่อดิจิทัล ThaiPBS ระบุว่า ในฐานะสื่อสาธารณะ มองว่า ผู้ใช้ต่างให้ความสำคัญกับข้อมูลส่วนบุคคลมากยิ่งขึ้น ซึ่งกฎหมายต่าง ๆ และนโยบายชุมชนของแพลตฟอร์มต่าง ๆ เข้ามาก็ทำให้ตัวครีเอเตอร์และสื่อเองทำให้ทุกคนต้องเรียนรู้และเข้าใจสิ่งเหล่านี้มากขึ้นด้วย

"ในฐานะสำนักข่าวที่ขึ้นชื่อเรื่อง ทำคอนเทนต์เสริมสร้างปัญญาเยอะแต่ยอดวิวไม่ดี ต้องยอมรับว่ายอดวิวสำหรับข่าวอาชญากรรม เนื้อหาที่หวือหวายอดวิวดีกว่าคอนเทนต์ด้านวิทยาศาสตร์ ซึ่งหากแพลตฟอร์มต่าง ๆ สามารถที่จะเฉลี่ยเนื้อหาต่าง ๆ ให้สามารถเข้าถึงผู้ชมได้เข้ามากยิ่งขึ้นก็จะเป็นเรื่องที่ดี" กนกพร เล่า

(ซ้าย) ระวี ตะวันธรงค์ นายกสมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ . (ขวา) กนกพร ประสิทธิ์ผล ผู้อำนวยการสำนักสื่อดิจิทัล ThaiPBS

ผู้อำนวยการสำนักสื่อดิจิทัล ThaiPBS ระบุว่า ระบบอัลกอริทึมต่าง ๆ ของแพลตฟอร์มสื่อสังคมออนไลน์ที่คอยจัดสรรเนื้อหาเข้าสู่ผู้ใช้ ผู้ใช้บางคนก็ไม่เข้าใจระบบต่าง ๆ เหล่านี้ และมาตั้งคำถามว่า “ทำไมเนื้อหาที่สื่อทำหายไปจากสื่อสังคมออนไลน์ได้อย่างไร”

“อัลกอริทึมเป็นสิ่งที่ดี แต่หากอัลกอริทึมใช้มาตรฐานเดียวกันในการตัดสินเนื้อหาทั้งหมดก็อาจจะส่งผลกระทบต่อบางส่วนของสังคมด้วยเช่นกัน”

ขณะเดียวกันหากแพลตฟอร์มมีช่องทางในการตรวจสอบเนื้อหาของสื่อที่ถูกนำไปใช้ในที่อื่น เช่นเดียวกับแพลตฟอร์มวีดีโออย่าง YouTube ก็จะสามารถทำให้สื่อทำงานได้ง่ายขึ้น

related