svasdssvasds

ชวนส่องเทรนด์เทคโนโลยี ปี 2023 มีอะไรบ้าง? ที่จะเข้ามา "เปลี่ยนโลก"

ชวนส่องเทรนด์เทคโนโลยี ปี 2023 มีอะไรบ้าง? ที่จะเข้ามา "เปลี่ยนโลก"

เทรนด์เทคโนโลยีในแต่ละปีมักมีความแตกต่างกันมากในทุกๆปี ซึ่งในปี 2023 นี้บริษัทเทคโนโลยีชั้นนำต่างๆได้ขนทัพความล้ำสมัยมาโชว์กันซึ่งสปริงนิวส์ได้สรุปคาดการณ์ซึ่งมี 10 เทรนด์ที่น่าสนใจเป็นพิเศษ

เทรนด์เทคโนโลยีในปี 2023 มีอะไรน่าสนใจบ้าง?

1.เอไอแบบรู้สร้าง (Generative AI)

Generative AI สร้างคอนเทนต์ใหม่ตามชุดข้อความ รูปภาพ หรือไฟล์เสียงที่กำหนดไว้ ซึ่งนี่คือตัวอย่างภาพที่สร้างตัว Generative AI 

ตัวอย่างภาพที่สร้างด้วย Generative Ai ปัจจุบันมีการใช้ Generative AI ในการผลิตต้นแบบและแบบร่างต่าง ๆ เป็นหลัก รวมถึงใช้กับเกม โฆษณา และกราฟิกดีไซน์

นอกจากจะเป็นความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีแห่งอนาคตและการลดค่าใช้จ่ายแล้ว Generative AI จะกลายเป็นเทคโนโลยีเบ็ดเสร็จที่สามารถเพิ่มความหลากหลาย ความคิดร้างสรรค์ และการสร้างคอนเทนต์ที่โดดเด่นได้อย่างมีนัยสำคัญ 

อีกสามปีต่อจากนี้ เราจะได้เห็นรูปแบบทางธุรกิจใหม่ ๆ และระบบนิเวศที่สมบูรณ์เต็มที่ เพราะมีการนำ Generative AI ไปใช้อย่างแพร่หลาย รูปแบบที่เป็น Generative AI จะโต้ตอบได้มากขึ้น ปลอดภัยและชาญฉลาดมากขึ้น ทั้งยังจะช่วยมนุษย์ทำงานสร้างสรรค์ต่าง ๆ ให้ลุล่วงได้อย่างดี

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง : 

2.การตัดสินใจที่ชาญฉลาดด้วยการวิจัยเชิงปฏิบัติการและแมชชีนเลิร์นนิ่ง (Dual-engine Decision Intelligence)

ชวนส่องเทรนด์เทคโนโลยี ปี 2023 มีอะไรบ้าง? ที่จะเข้ามา "เปลี่ยนโลก" วิธีการตัดสินใจแบบเดิมๆในอดีตนั้นพึ่งพาการวิจัย ซึ่งมีข้อจำกัดในการจัดการกับปัญหาต่าง ๆ ที่มีความไม่แน่นอนสูงและตอบสนองต่อปัญหาใหญ่ ๆ ได้ช้า

เช่น การจ่ายไฟฟ้าแบบเรียลไทม์ การปรับพอร์ตทรูพุตให้เหมาะสม การกำหนดจุดจอดในสนามบิน และการเพิ่มประสิทธิภาพให้กับกระบวนการผลิตต่าง ๆ เป็นต้น

 

 

 

3.ระบบความปลอดภัยที่รองรับการประมวลผลบนคลาวด์ (Cloud-native Security)

ชวนส่องเทรนด์เทคโนโลยี ปี 2023 มีอะไรบ้าง? ที่จะเข้ามา "เปลี่ยนโลก" การใช้ระบบความปลอดภัยที่รองรับการทำงานบนคลาวด์ (Cloud-native security) นั้น ไม่เพียงมอบสมรรถนะด้านความปลอดภัยบนโครงสร้างพื้นฐานบนคลาวด์เท่านั้น แต่ยังเพิ่มประสิทธิภาพให้กับบริการด้านความปลอดภัยต่าง ๆ

ในสามถึงห้าปีจากนี้ การรักษาความปลอดภัยแบบคลาวด์-เนทีฟจะหลากหลายมากขึ้น นำไปใช้กับสถาปัตยกรรมมัลติ-คลาวด์ได้ง่ายขึ้น และเอื้อต่อการสร้างระบบความปลอดภัยแบบไดนามิก ครบวงจร แม่นยำ และใช้กับสภาพแวดล้อมแบบไฮบริดได้

4.โมเดลโครงสร้างสำเร็จรูปหลากหลายที่ผ่านการเทรนด์มาแล้ว (pre-trained multimodal foundation models)

เป็นแบบอย่างและโครงสร้างพื้นฐานแบบใหม่
ในการสร้างระบบปัญญาประดิษฐ์ (AI) รูปแบบเหล่านี้สามารถรับความรู้จากแบบวิธีต่าง ๆ และนำเสนอความรู้นั้นตามกรอบการเรียนรู้ด้านการแสดงออกที่รวมเป็นหนึ่งเดียว

ในอนาคต foundation models จะถูกกำหนดขึ้นเพื่อทำหน้าที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานปกติของระบบ AI ที่ใช้ทำงานต่าง ๆ เช่น รูปภาพ ข้อความ และเสียง เป็นการเสริมศักยภาพระบบ AI ด้วยความสามารถด้านสติปัญญาในการให้เหตุผล การตอบคำถาม การสรุป และการสร้างสรรค์

5.สถาปัตยกรรมคลาวด์คอมพิวติ้งที่รวมฮาร์ดแวร์-ซอฟต์แวร์

คลาวด์คอมพิวติ้งกำลังพัฒนาเป็นสถาปัตยกรรมใหม่ที่มีศูนย์กลางอยู่ที่ Cloud Infrastructure Processor (CIPU) ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมที่ใช้ฮาร์ดแวร์เร่งความเร็วในการทำงานและควบคุมการทำงานด้วยซอฟต์แวร์

โดยจะช่วยเร่งการใช้แอปพลิเคชันบนคลาวด์ ในขณะเดียวกันยังคงความยืดหยุ่นและความคล่องตัวสูงไว้เพื่อการพัฒนาแอปพลิเคชันบนคลาวด์ CIPU จะกลายเป็นมาตรฐานที่ได้รับการยอมรับทั่วไปของคลาวด์คอมพิวติ้งยุคหน้า และนำมาซึ่งโอกาสด้านการพัฒนาใหม่ ๆ จำนวนมากในด้านการวิจัยและพัฒนาซอฟต์แวร์และการออกแบบ dedicated chip

6.โครงสร้างที่คาดการณ์ได้บน (Edge-Cloud Synergy)

โครงสร้างที่คาดการณ์ได้ (predictable fabric) เป็นระบบเน็ตเวิร์กที่ออกแบบร่วมกันโดยโฮสต์และเครือข่าย ขับเคลื่อนโดยความล้ำสมัยของคลาวด์คอมพิวติ้ง และมีจุดประสงค์เพื่อนำเสนอบริการเน็ตเวิร์กที่มีประสิทธิภาพสูง

7.การสร้างภาพด้วยคอมพิวเตอร์ (Computational Imaging)

การสร้างภาพด้วยคอมพิวเตอร์ (computational imaging) เป็นสหวิทยาการเทคโนโลยีเกิดใหม่อย่างหนึ่ง ซึ่งตรงข้ามกับเทคนิคการถ่ายภาพแบบเดิม

เช่น การถ่ายภาพของโทรศัพท์มือถือ, การถ่ายภาพทางการแพทย์, และยานยนต์อัตโนมัติ ในอนาคตการสร้างภาพด้วยคอมพิวเตอร์จะยังคงปฏิวัติเทคโนโลยีการถ่ายภาพแบบเดิม และทำให้เกิดนวัตกรรมและการสร้างสรรค์ เช่น การถ่ายภาพแบบไม่ต้องใช้เลนส์ และการถ่ายภาพแบบไม่อยู่ในแนวสายตา (Non-line-of-sight: NLOS)

8.ชิปเล็ต (Chiplet)

การใช้ชิปเล็ตหรือชิปขนาดย่อย (chiplet) ช่วยให้ผู้ผลิตสามารถแบ่งระบบต่าง ๆ ที่รวมกันอยู่บนชิปตัวหนึ่ง (system on a chip: SoC)  ออกเป็น chiplet หลายตัว ทำการผลิต chiplet แยกกันและใช้กระบวนการผลิตที่แตกต่างกันแล้วรวม chiplet ทุกตัวไว้ใน SoC ผ่านการเชื่อมต่อกันภายในและแพคเกจจิ้ง 

9.การประมวลผลในหน่วยความจำ (PIM)

เทคโนโลยีการประมวลผลในหน่วยความจำ (Processing in Memory: PIM) เป็นการรวมหน่วยประมวลผลกลาง (CPU) และหน่วยความจำไว้บนชิปเดียว

เช่น การอนุมานที่อยู่บนคลาวด์ และชิปลักษณะนี้จะยกระดับสถาปัตยกรรมที่ยึดการประมวลผลเป็นศูนย์กลางแบบเดิม ไปเป็นสถาปัตยกรรมแบบยึดข้อมูลเป็นสำคัญ ซึ่งจะส่งผลดีต่ออุตสาหกรรมต่าง ๆ เช่น คลาวด์คอมพิวติ้ง, AI และอินเทอร์เน็ตออฟธิงค์ (IoT)

10.คู่เสมือนทางดิจิทัลของเมืองใหญ่ (Large-scale Urban Digital Twins)

คอนเซปต์ของคู่เสมือนดิจิทัลของเมือง (urban digiital twins) ได้กลายเป็นแนวทางใหม่ในการดูแลเมืองที่มีประสิทธิภาพ ณ ปัจจุบัน urgan digital twins ขนาดใหญ่มีบทบาทในการพัฒนาการทำงานสำคัญด้านต่าง ๆ

เช่น การดูแลการจราจร การป้องกันและการจัดการภัยทางธรรมชาติ การวิเคราะห์จุดสูงสุดและความเป็นกลางทางคาร์บอน เป็นต้น ทั้งนี้ urban digital twins ขนาดใหญ่จะทำงานโดยอิสระได้ด้วยตนเองและมีหลากหลายมิติมากขึ้นในอนาคต

ที่มา : DAMO

 

related