svasdssvasds

สกสว. เชื่องานวิจัยขับเคลื่อนไทยได้ ตั้งเป้า ปี 67 เสริมงบเป็น 3 หมื่นล้าน

สกสว. เชื่องานวิจัยขับเคลื่อนไทยได้ ตั้งเป้า ปี 67 เสริมงบเป็น 3 หมื่นล้าน

ผอ. สกสว. เชื่อมั่นงานวิจัยขับเคลื่อนประเทศได้แน่ แต่ต้องใช้เวลา ยอมรับมีความท้าทายในการสร้างความเข้าใจกับภาคการเมืองและประชาชน ย้ำงบ 16,000 ล้านบาท ในปี 66 จะได้ผลในระยะยาว 3-5 ปี

ดร.ปัทมาวดี โพชนุกูล ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(สกสว.) ระบุว่า ที่ผ่านมา ปี 2563 ประเทศไทยลงทุนในเรื่องวิทยาศาสตร์และงานวิจัย มีสัดส่วนการลงทุนต่อสัดส่วน GDP ของประเทศอยู่ที่ราว 1.33% แม้จะเป็นเม็ดเงินเล็ก ๆ เมื่อเทียบกับประเทศอื่น

ผอ.สกสว. ระบุว่า สำนักงานฯ เอง ก็อยากที่จะผลักดันให้ไทย เพิ่มประมาณและสัดส่วนงบประมาณที่นำมาสนับสนุนงานวิจัยอยู่ที่ 2% เมื่อเทียบกับ GDP ซึ่งงบประมาณก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ไทยมีความสามารถในการแข่งขันด้านงานพัฒนาและวิจัยได้ ด้วยการเพิ่ม GDP จาก 243,673 บาท/คน/ปี เป็น 422,153 บาท/คน/ปี

ดร.ปัทมาวดี โพชนุกูล ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(สกสว.)

หากประเทศไทยจะหลุดกับดักประเทศรายปานกลาง ต้องลงทุนในบบประมาณ วิจัยและพัฒนาในภาครัฐถึง 95,778 ล้านบาท ซึ่งเมื่อหักค่าใช้จ่ายจะมีงบประมาณถึง กองทุนวิจัยฯ(กองทุน ววน.) ที่ 31,078 ล้านบาท

“เรื่องวิทยาศาสตร์และงานวิจัยเป็นทรัพย์สินของชาติ ที่ต้องมีการวิจัยและพัฒนาสิ่งใหม่ ๆ มาทดแทนอยู่ตลอดเวลา เพื่อให้ทันต่อยุคสมัย เช่นในวิกฤตโควิด-19 ที่ผ่านมา ก็มีการดึงนวัตกรรมและงานวิจัยมาใช้” ดร.ปัทมาวดี โพชนุกูล กล่าว

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

ปัญหาของงานวิจัยไทยคือ คนทำ ไม่ได้ทำตามความต้องการของคนใช้

ดร.ปัทมาวดี ระบุว่า ปัญหาที่ผ่านมาของงานวิจัยไทยคือ งานวิจัยมาจากฝั่งนักวิจัยตามความสนใจของตัวเอง ซึ่งไม่ได้สอดคล้องกับอุปสงค์ อุปทานของตลาด ดังนั้นจึงเป็นที่มาของการปฎิรูป ระบบวิทยาศาสตร์ วิจัย และ นวัตกรรม (ระบบ ววน.) เมื่อปี 2562 เพื่อให้สามารถปรับใช้ได้กับประเทศไทยได้จริง และลดความซ้ำซ้อนของงานวิจัย

ดร.ปัทมาวดี โพชนุกูล ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(สกสว.)

โดยงบประมาณปี 2566-2570 สกสว. วางแผนการจัดสรรงบประมาณ ผ่าน 4 ยุทธศาสตร์

  • พัฒนาเศรษฐกิจไทยให้พร้อมต่อการแข่งขัน
  • ยกระดับสิ่งแวดล้อม
  • พัฒนาให้ไทยก้าวล้ำและเป็นแนวหน้าเพื่อสร้างโอกาสใหม่ในอนาคต
  • พัฒนาให้ไทยเป็นฐานการขับเคลื่อนด้วยงานวิจัยอย่างก้าวกระโดด

สำหรับโครงสร้างของ ระบบ ววน. คือ การนำนโยบายจาก ซูปเปอร์บอร์ด สภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ(สนอว.) ที่มีรัฐมนตรีจาก 11 กระทรวงในการร่วมกำหนดนโยบาย โดยมี สอวช. เป็นเสมือนสำนักเลขาฯ แล้วจึงส่งให้ คณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกว.) แล้วจึงให้ สำนักงาน สกว. (สกสว.) จัดสรรงบประมาณจาก กองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม งบประมาณ 16,000 ล้านบาท ในปีงบประมาณ 2566 ไปยัง หน่วยงานต่าง ๆ เช่น สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA) และหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อส่งให้ สถานศึกษาและสถาบันวิจัยต่อไป

ดร.ปัทมาวดี มองว่า กองทุนวิจัยฯ(กองทุน ววน.) ก็จำเป็นที่จะต้องจัดสรรงบประมาณในการดึงเด็กที่ไปคว้ารางวัลต่าง ๆ ระดับโลก มาทำงานกับภาครัฐเพื่อขับเคลื่อนประเทศต่อไป ซึ่งก็อยู่ในขั้นตอนที่ส่งให้สำนักงบประมาณพิจารณาและนำเสนองบประมาณปี 2567 ในรัฐสภาต่อไป

ดร.ปัทมาวดี โพชนุกูล ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(สกสว.)

ดร.ปัทมาวดี มองว่า ในส่วนของงานวิจัย จำเป็นที่จะต้องวางแผนระยะยาว 3-5 ปี จึงจะเห็นผล ดังนั้นจึงต้องทำความเข้าใจกับรัฐสภาและหลาย ๆ หน่วยงาน ให้เข้าใจว่า “งบงานวิจัยจะตามผลแบบปีต่อปีไม่ได้ เพราะเมื่อวัจัยเสร็จก็ต้องขับเคลื่อนงานวิจัยไปสู่การใช้งานจริง ซึ่งใช้เวลา”

ผอ.สกสว. ระบุในวีดีทัศน์ เชื่อว่า 1.4 ล้านครัวเรือนที่จะได้รับประโยชน์ ซึ่งที่ผ่านมามีการนำนวัตกรรมไปพัฒนาถึง 48 จังหวัดทั่วประเทศ

related