svasdssvasds

ส่อง 6 โปรเจกต์ อว. - ดีอี ระดมไอเดีย แผน AI ประเทศไทยให้ครอบคลุมทุกมิติ

ส่อง  6 โปรเจกต์  อว. - ดีอี ระดมไอเดีย แผน AI ประเทศไทยให้ครอบคลุมทุกมิติ

ชวนดู 6 โปรเจกต์ อว. - ดีอี ระดมไอเดีย แผน AI ประเทศไทยให้ครอบคลุมทุกมิติ เพราะ เรื่องของ AI เป็นเรื่องที่ทุกคนในประเทศต้องให้ความสำคัญ เพราะบางทีมันอาจจะเปลี่ยนแปลงโลกไปตลอดกาล

SHORT CUT

  • พาไปดู 6 โปรเจกต์  อว. - ดีอี 2 กระทรวงหลัก ที่ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของ AI  ระดมสมองไอเดีย ผุด แผน AI ประเทศไทยให้ครอบคลุมทุกมิติ โดยโครงการหลักๆ มีดังนี้ 
  • 1) พัฒนาศูนย์กลางเชื่อมโยงและการบริการข้อมูลด้านการท่องเที่ยว (Travel Link) , 2) โครงการ Strengthening Fraud Detection Ecosystem with Data Lab , 3) ส่งเสริมการประยุกต์ใช้ AI อย่างมีธรรมาภิบาล
  • 4) Thai Large Language Model (Thai LLM) พัฒนาโมเดลภาษาขนาดใหญ่ภาษาไทย , 5) ตรวจสอบ-ประเมินอัตลักษณ์บุคคลจากข้อมูลชีวมิติ 6) AI-based Machine Vision เพื่อขับเคลื่อนสู่อุตสาหกรรม 4.0

ชวนดู 6 โปรเจกต์ อว. - ดีอี ระดมไอเดีย แผน AI ประเทศไทยให้ครอบคลุมทุกมิติ เพราะ เรื่องของ AI เป็นเรื่องที่ทุกคนในประเทศต้องให้ความสำคัญ เพราะบางทีมันอาจจะเปลี่ยนแปลงโลกไปตลอดกาล

เรื่องของเทคโนโลยี เป็นเรื่องที่ใครบนโลกนี้ก็ไม่อาจหลีกเลี่ยงมันได้...บนปฏิทินดิจิทัลปี 2024 เรื่องเทคโนโลยีได้กลายเป็นสิ่งที่ทุกคน "จำเป็น"  ต้องมีติดตัวไว้ หรือจะให้ สกิลทักษะ ที่กลายเป็นอวัยวะที่ 33 ของร่างกายเราได้ ก็ยิ่งจะเป็นผลดี 

และสิ่งหนึ่ง ที่โลก กำลังจับตามองเป็นอย่างมาก ในประเด็นการพัฒนาเทคโนโลยี ในเหลี่ยมมุมของเรื่อง AI หรือ ปัญญาประดิษฐ์ เพราะจากเทรนด์ของโลก และจากการคาดการณ์ต่างๆ AI กำลังจะมีบทบาทเป็นอย่างมากในอนาคต และอนาคตที่ว่านั้นก็กำลังจะเดินทางมาถึงในไม่ช้า

ด้วยเหตุนี้ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม หรือ อว. และ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม หรือ ดีอี ซึ่งเป็น 2 กระทรวงหลัก ที่ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของ AI ได้จัดการประชุมล้อมวงคุย หารือ (ร่าง) โครงการนำร่องภายใต้การขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการด้านปัญญาประดิษฐ์แห่งชาติเพื่อการพัฒนาประเทศไทย ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2567 – 2570)

หลายคนที่อาจจะไม่ได้ติดตาม เรื่องวงการ AI และ เรื่องของการร่าง แผน AI ประเทศไทย ในระยะแรก นั้นหายไปไหน ? ทำไมจู่ๆ ได้ กลายมาเป็นร่างระยะที่ 2 เลยในตอนนี้  คำตอบก็คือ ในร่างระยะแรกนั้น ได้มีการ เริ่มต้นกันไปแล้ว 

• แผน AI ประเทศไทย ร่างแรก 

โดยการจัดทำแผนปฏิบัติการ AI ตลอดหนึ่งปีที่ผ่านมามีผลการดำเนินงานที่สำคัญในด้านต่าง ๆ เช่น ด้านจริยธรรมและธรรมาภิบาล มีการจัดทำคู่มือจริยธรรม AI เล่มแรกของไทย การจัดหลักสูตรจริยธรรมที่เรียนรู้ได้ด้วยตนเอง และการเปิดตัวศูนย์ธรรมาภิบาลปัญญาประดิษฐ์ เพื่อส่งเสริมให้เกิดการใช้ AI อย่างถูกต้องและมีความรับผิดชอบ 

ด้านโครงสร้างพื้นฐาน มีการพัฒนาแพลตฟอร์มกลางบริการ AI บนคลาวด์ภาครัฐ (GDCC) รวมทั้งเปิดให้บริการ LANTA ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ สำหรับการวิจัยและพัฒนาของภาครัฐและเอกชน 
ด้านนวัตกรรมและการประยุกต์ใช้ เช่น มีหน่วยงานภาครัฐใน 76 จังหวัด นำระบบวิเคราะห์เพื่อสนับสนุนการแก้ปัญหาความยากจนแบบชี้เป้า (TPMAP) เข้าไปขับเคลื่อนการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัย 

ทั้งนี้จากการดำเนินงานขับเคลื่อนตามแผนยุทธศาสตร์ในด้านต่าง ๆ ส่งผลให้ปัจจุบันมีบุคลากรเข้ารับการอบรมในโครงการและหลักสูตร AI จำนวน 83,721 คน มีโครงการวิจัยและพัฒนาด้าน AI ในกองทุนวิจัยมูลค่า 1,290 ล้านบาท มีสตาร์ทอัปลงทุนเพิ่มจากการส่งเสริมของรัฐมูลค่า 639 ล้านบาท และที่สำคัญคือจากการจัดอันดับดัชนีความพร้อมด้าน AI ของรัฐบาล (AI Government Readiness Index) ประเทศไทยเลื่อนอันดับขึ้นจาก 59 เป็น 31 ทันทีที่มีแผนปฏิบัติการ AI ในปี 2022

ส่อง  6 โปรเจกต์  อว. - ดีอี ระดมไอเดีย แผน AI ประเทศไทยให้ครอบคลุมทุกมิติ

•ส่องทิศทาง ร่าง 6 โปรเจกต์นำร่อง ! ขับเคลื่อนแผน AI ประเทศไทย ระยะที่ 2

ส่วน ณ เวลานี้ ได้มีการ ลุยงาน ร่างที่ 2 แล้ว  โดย แผนปฏิบัติการ AI ได้จัดทำโครงการที่สอดรับกับจุดเน้นการพัฒนาเทคโนโลยี AI ทั้ง 10 กลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย โดยในระยะที่ 1 มุ่งเน้นกลุ่มเกษตรและอาหาร กลุ่มการใช้งานและบริการภาครัฐ และกลุ่มการแพทย์และสุขภาพ 

สำหรับแผนปฏิบัติการ AI ระยะที่ 2 คณะทำงานได้เข้าสัมภาษณ์เชิงลึกหน่วยงานตามกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายเพิ่มเติม ได้แก่ กลุ่มอุตสาหกรรมท่องเที่ยว กลุ่มอุตสาหกรรมการค้า อุตสาหกรรมการค้าและการเงิน กลุ่มอุตสาหกรรมความมั่นคง กลุ่มอุตสาหกรรมการผลิต จนนำมาสู่โครงการนำร่องภายใต้การขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการฯ ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2567 -2570) Flagship Projects ชุดที่ 1 ทั้งสิ้น 6 โครงการ ได้แก่

 

1) พัฒนาศูนย์กลางเชื่อมโยงและการบริการข้อมูลด้านการท่องเที่ยว เพื่อเพิ่มศักยภาพการท่องเที่ยวให้ประเทศไทย (Travel Link)

มุ่งสนับสนุนให้เกิดการใช้ประโยชน์ข้อมูลเพื่อขยายขีดความสามารถการแข่งขันในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวของประเทศ   

โดยเชื่อมโยงและบูรณาการข้อมูลด้านการท่องเที่ยวและข้อมูลที่เกี่ยวข้องทั้งจากภาครัฐ เอกชนหลายแหล่ง เช่น ข้อมูลนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เดินทางเข้าประเทศไทยรายวัน ข้อมูลการใช้จ่ายในแต่ละพื้นที่จากโครงการเที่ยวด้วยกัน สถิติการเยี่ยมเยือน เป็นต้น ข้อมูลจากอินเทอร์เน็ตโดยเฉพาะข้อมูลความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวต่อพื้นที่ โรงแรม บริการ ฯลฯ และข้อมูลเหล่านี้มาจัดทำ Data Catalog และใช้เครื่องมือพื้นฐาน รวมถึง AI ในการประมวลผลข้อมูลหลายรูปแบบ และสนับสนุนให้เกิดการใช้ประโยชน์จากการบูรณาการข้อมูลผ่านทาง Dashboard และ Infographics 2) พัฒนาหรือส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาบริการแนะนำสถานที่ท่องเที่ยว (Attraction Recommendation) ซึ่งเป็นแผนระยะถัดไปของโครงการโดยปัจจุบันยังต้องการข้อมูลด้าน logistic อัตราค่าโดยสารของขนส่งสาธารณะต่าง ๆ เป็นต้น 3) พัฒนาหรือส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาบริการ Chatbots ด้านการท่องเที่ยว ด้วย Generative AI

2) โครงการ Strengthening Fraud Detection Ecosystem with Data Lab

ออกแบบและพัฒนาระบบแลกเปลี่ยนและเชื่อมโยงข้อมูลการกระทำทุจริตในธุรกรรมทางการเงินต่อประชาชน 

 โดยมุ่งเน้นที่การเชื่อมโยงกับระบบของผู้ใช้บริการทางการเงินในภาคธนาคาร ตามมาตรา 4 (Central Fraud Registry: CFR) อีกทั้งยังพัฒนาและประยุกต์ใช้ AI Model ในการตรวจจับและป้องกันการกระทำทุจริตในธุรกรรมทางการเงิน สามารถตรวจจับความเกี่ยวเนื่องของบัญชี และ/หรือธุรกรรมทางการเงินที่ต้องสงสัย

3) ส่งเสริมการประยุกต์ใช้ AI อย่างมีธรรมาภิบาล

วิจัยและพัฒนาด้าน AI Governance, Toolkits ใหม่ๆ รวมถึงมาตรฐานหรือกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวกับการประยุกต์ใช้ AI และส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนางานวิจัยสำหรับ Sector หรือ Regulator พร้อมสร้างเครือข่ายทำงานด้านงานวิจัย AI ในประเทศ/ต่างประเทศ

ชวนดู   6 โปรเจกต์  อว. - ดีอี ระดมไอเดีย แผน AI ประเทศไทยให้ครอบคลุมทุกมิติ เพราะ เรื่องของ AI เป็นเรื่องที่ทุกคนในประเทศต้องให้ความสำคัญ เพราะบางทีมันอาจจะเปลี่ยนแปลงโลกไปตลอดกาล

4) Thai Large Language Model (Thai LLM)

พัฒนาโมเดลภาษาขนาดใหญ่ภาษาไทย (LLM) ที่มีความสามารถในการสร้างข้อความที่มีความหมายและเป็นธรรมชาติใกล้เคียงกับการใช้ภาษาของมนุษย์ 

5) ตรวจสอบและประเมินอัตลักษณ์บุคคลจากข้อมูลชีวมิติ

พัฒนาเทคโนโลยีการยืนยันตัวตนบุคคลด้วยข้อมูลชีวมิติและส่งเสริมการนำไปใช้งาน

ข้อมูลชีวมิติที่มุ่งเน้น ได้แก่ ภาพถ่ายลายม่านตา, เสียงพูด, ภาพถ่ายใบหน้า, ภาพเคลื่อนไหวใบหน้าพร้อมเสียงพูด รวมถึงพัฒนาเทคโนโลยีตรวจจับการปลอมแปลงข้อมูลชีวมิติ และบริการทดสอบระบบที่มีการพิสูจน์และยืนยันตัวตนบุคคลด้วยข้อมูลชีวมิติตามเกณฑ์มาตรฐานฯ

6) AI-based Machine Vision เพื่อขับเคลื่อนสู่อุตสาหกรรม 4.0

ส่งเสริมการขยายผลวิจัยและพัฒนาและยกระดับ AI-based Machine Vision ในการเพิ่มผลผลิตของภาคอุตสาหกรรม
 

ที่มา : ai.in.th

related