svasdssvasds

รถ F1 ที่สร้างจากเลโก้ - เจาะเทคโนโลยีที่ซ่อนอยู่ใต้ตัวต่อ Lego

รถ F1 ที่สร้างจากเลโก้  - เจาะเทคโนโลยีที่ซ่อนอยู่ใต้ตัวต่อ Lego

ชวนส่อง รถ F1 ที่สร้างจากเลโก้ - มา เจาะเทคโนโลยีที่ซ่อนอยู่ใต้ตัวต่อ - ในความน่ารัก แต่ก็มีความล้ำซ่อนอยู่ และวิ่งได้จริงแม้จะมีความเร็วไม่มาก

SHORT CUT

  • LEGO สร้างรถ F1 ขนาดเกือบเท่าจริงจากตัวต่อกว่า 400,000 ชิ้น ใช้เวลาสร้าง 22,000 ชั่วโมง โดยทีมงาน 26 คน เพื่อโชว์ในงาน Miami Grand Prix
  • รถสามารถขับเคลื่อนได้จริงด้วยมอเตอร์ไฟฟ้าและระบบควบคุม มีการออกแบบด้วยซอฟต์แวร์ CAD และเทคโนโลยีวิศวกรรมขั้นสูง
  • โปรเจกต์นี้เป็นการผสมผสานเทคโนโลยี ความบันเทิง และการศึกษา เพื่อจุดประกายแรงบันดาลใจให้ผู้ชมและนักประดิษฐ์รุ่นใหม่

ชวนส่อง รถ F1 ที่สร้างจากเลโก้ - มา เจาะเทคโนโลยีที่ซ่อนอยู่ใต้ตัวต่อ - ในความน่ารัก แต่ก็มีความล้ำซ่อนอยู่ และวิ่งได้จริงแม้จะมีความเร็วไม่มาก

แฟน ๆ กีฬาฟอร์มูล่า วันได้ชมภาพแปลกตาก่อนการแข่งขัน Miami Grand Prix ในช่วงต้นเดือนที่ผ่านมา เพราะมี รถแข่งจำลองที่สร้างจากตัวต่อ เลโก้ แล่นอยู่ในสนามแข่งจริงก่อนเริ่มการแข่งขัน

รถเลโก้ขนาดที่ใกล้เคียงกับ F1 เหล่านี้ถูกสร้างขึ้นโดยทีมดีไซเนอร์ วิศวกร และช่างต่อเลโก้ทั้งหมด 26 คน ที่โรงงานของ LEGO Group ในเมืองคลาดโน สาธารณรัฐเช็ก  โครงการนี้ใช้เวลากว่า 22,000 ชั่วโมงในการสร้างรถแข่งฟอร์มูล่าวันจำลอง 10 คันในสเกลเกือบ 1:1 ให้เหมือนกับรถแข่งจริง

รถแต่ละคันใช้เลโก้เกือบ 400,000 ชิ้น มีน้ำหนักประมาณ 1,000 กิโลกรัม และสามารถวิ่งด้วยความเร็วสูงสุด 20 กม./ชม.

เห็นแบบนี้แล้ว , ในแง่มุมของเทคโนโลยีแล้ว รถ ฟอร์มูล่า วัน ที่สร้างขึ้นด้วยเลโก้ มี เทคโนโลยีที่น่าสนใจซ่อนอยู่ด้วย อาทิ 

เทคโนโลยีด้านวิศวกรรมและการออกแบบ (Engineering & CAD Technology) 

รถเลโก้ เหล่านี้ไม่ได้เป็นเพียงของเล่น แต่ถูกออกแบบด้วย ซอฟต์แวร์ CAD (Computer-Aided Design) ที่ใช้ในการออกแบบรถแข่งจริง
• วิศวกรของ LEGO ต้องคำนวณอย่างแม่นยำว่าแต่ละชิ้นส่วนจะประกอบเข้าด้วยกันอย่างไรเพื่อให้ได้โครงสร้างแข็งแรง วิ่งได้จริง และมีความสมดุล
•  โครงสร้างถูกออกแบบให้ ทนต่อแรงสั่นสะเทือน และน้ำหนักรวมกว่า 1 ตัน จึงต้องใช้ความเข้าใจเชิงกลศาสตร์ขั้นสูง

รถ F1 ที่สร้างจากเลโก้  - เจาะเทคโนโลยีที่ซ่อนอยู่ใต้ตัวต่อ Lego Credit ภาพ REUTERS

ระบบเคลื่อนที่และขับเคลื่อน (Mechanical & Drive Technology) 

รถเลโก้เหล่านี้ “วิ่งได้จริง” ที่ความเร็วสูงสุดประมาณ 20 กม./ชม. ซึ่งต้องติดตั้ง ระบบมอเตอร์ไฟฟ้า, ระบบควบคุม และแบตเตอรี่ ภายในตัวรถ


นี่ไม่ใช่เพียงของโชว์ แต่เป็น ผลงานจำลองที่มีระบบกลไกขับเคลื่อน (drivable build) คล้ายกับหุ่นยนต์หรืออุปกรณ์ IoT

รถ F1 ที่สร้างจากเลโก้  - เจาะเทคโนโลยีที่ซ่อนอยู่ใต้ตัวต่อ Lego Credit ภาพ REUTERS
 

เทคโนโลยีเพื่อสร้างประสบการณ์ให้ผู้ชม (Experience Tech) 

โครงการนี้ออกแบบมาเพื่อเป็น “activation experience” ให้แฟน ๆ ฟอร์มูล่าวันได้สัมผัสเทคโนโลยีในรูปแบบใหม่ผ่าน LEGO ถือเป็นการใช้ เทคโนโลยีสร้างสรรค์ (creative tech) ที่ผสมผสานระหว่างความบันเทิง การศึกษา และการตลาด LEGO ยังมองว่านี่คือการจุดประกาย “แรงบันดาลใจให้กับนักประดิษฐ์รุ่นใหม่” ผ่านเทคโนโลยีที่จับต้องได้

โฆษกของ LEGO กล่าวว่า “เรารู้ว่ากิจกรรมที่จับต้องได้และมีปฏิสัมพันธ์สามารถสร้างความตื่นเต้นให้กับแฟน ๆ ได้อย่างมหาศาล และช่วยจุดประกายแรงบันดาลใจให้กับนักต่อเลโก้ในอนาคต  ที่โรงงานคลาดโนของเรา เราพยายามผลักดันขีดจำกัดของสิ่งที่เป็นไปได้อยู่เสมอ และรถจำลองทั้ง 10 คันนี้ก็เป็นตัวอย่างล่าสุดของสิ่งนั้น เราหวังว่ารถจำลองเหล่านี้จะช่วยให้แฟน ๆ รู้สึกใกล้ชิดกับการแข่งขันมากขึ้น และแสดงให้เห็นว่า เมื่อคุณสร้างด้วยตัวต่อเลโก้แล้ว ไม่มีอะไรที่เป็นไปไม่ได้”

การที่ LEGO สร้างรถขนาดเท่าจริงที่ขับได้ขึ้นมาได้ ไม่ใช่แค่การ “เลียนแบบ” โลกของจริง — แต่คือการ ขยายขีดจำกัดของจินตนาการ โดยใช้เทคโนโลยีเป็นอิฐต่อเติมฝัน

รถ F1 ที่สร้างจากเลโก้  - เจาะเทคโนโลยีที่ซ่อนอยู่ใต้ตัวต่อ Lego Credit ภาพ REUTERS

รถ F1 ที่สร้างจากเลโก้  - เจาะเทคโนโลยีที่ซ่อนอยู่ใต้ตัวต่อ Lego Credit ภาพ REUTERS

ที่มา :fastcompany espn  formula1 theautopian

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

 

related