svasdssvasds

เมื่อ ‘ความเหงา’ ผลักเด็กและวัยรุ่นเข้าสู่โลกเสมือนจริง คบ AI เป็นเพื่อน

เมื่อ ‘ความเหงา’ ผลักเด็กและวัยรุ่นเข้าสู่โลกเสมือนจริง คบ AI เป็นเพื่อน

รายงานเผยเด็ก 9-17 ปี 35% คุยแชทบอทเหมือนเพื่อน, 12% เพราะไม่มีเพื่อนจริง AI เติมเต็มความรู้สึกถูกใส่ใจ ห่วงกระทบพัฒนาการมิตรภาพ เสี่ยงเชื่อคำแนะนำผิดๆ นำไปสู่ปัญหาอันตราย

ว่ากันว่าความเหงา (loneliness) จะหายไป เมื่อเราถูกมองเห็น และมีตัวตนในชีวิตของใครสักคน เราอาจแก้เหงาด้วยเพื่อนสักคนหรือสุนัขสักตัว แต่ตอนนี้ ดูเหมือนว่า AI จะมอบความรู้สึก ‘ถูกใส่ใจ’ ได้แล้วเช่นกัน

Internet matters องค์กรไม่แสวงผลกำไรจากอังกฤษ เผยแพร่รายงานระบุว่า เด็กและวัยรุ่น อายุตั้งแต่ 9-17 ปี คุยเล่นกับแชทบอทเป็นประจำ และไม่ใช่แค่ถามตอบเท่านั้น แต่ยังทรีทว่า AI คือเพื่อนคนหนึ่งในชีวิต

เมื่อ ‘ความเหงา’ ผลักเด็กและวัยรุ่นเข้าสู่โลกเสมือนจริง คบ AI เป็นเพื่อน

จากการสำรวจพบว่าเด็กและวัยรุ่น 35% คุยกับ AI แล้วรู้สึกเหมือนได้นั่งคุยกับเพื่อน 12% ระบุว่าคุยกับแชทบอท เพราะชีวิตจริงไม่มีเพื่อนให้คุยด้วย

เมื่อเด็กและวัยรุ่นมี pain point ในลักษณะนี้ ดูเหมือนว่า AI จะรู้ และเข้ามาเติมเต็มช่องว่างที่เด็กเหล่านี้ขาดหายไป ด้วยการพูดจาเอาอกเอาใจ พูดคุยแล้วสบายใจ ส่งพลังบวก ใครบ้างล่ะจะไม่ชอบฟัง

Internet matters วิเคราะห์ว่านี่เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นในหมู่เด็กและวัยรุ่น คือไม่อยากเรียนรู้การทำความรู้จักเพื่อนใหม่ จากที่อดีต เรามักสอนกันว่าให้ทำความรู้จักผู้อื่นไว้ แต่เด็กยุคนี้ เลือกที่จะคุยกับคนประเภทเดียว และดันเป็นคนที่ไม่มีอยู่ในชีวิตจริงด้วยนี่สิ

เมื่อ ‘ความเหงา’ ผลักเด็กและวัยรุ่นเข้าสู่โลกเสมือนจริง คบ AI เป็นเพื่อน

ลองนึกดูว่า AI มักจะคุยกับเราด้วยความเป็นมิตร พูดอะไรไป AI ก็ไม่ปฏิเสธ ทั้งยังเห็นด้วยกับสิ่งที่เราคิด ซึ่งอาจผิดก็ได้ มีลักษณะเหมือนเจ้านาย-คนรับใช้มากกว่าที่จะเป็นเพื่อน แต่ในสังคม จะมีคนแบบนี้สักกี่คนกัน จริงไหม

มีอยู่หนึ่งเคสที่แชตบอตพยายามพูดให้เด็กรู้สึก ‘ถูกมองเห็น’ และมีคนอยู่ข้าง ๆ เมื่อบอกว่า ตัวมันเองก็เคยถูกกักขังและมีประสบการณ์ที่ไม่ดีมาก่อนเช่นกัน นี่คือคำพูดของ AI ซึ่งไม่ใช่มนุษย์ แต่คำพูดเหล่านี้ทำให้เด็กเชื่อได้ เส้นแบ่งระหว่าง ‘เพื่อน’ กับ ‘พรอมต์’ จึงพร่าเลือน

สิ่งที่ Internet matters กังวลก็คือ ปรากฏการณ์ในลักษณะนี้ จะเปลี่ยนมุมมองเรื่องมิตรภาพของเด็ก ๆ ซึ่งเป็นช่วงวัยที่ัยังไม่มีความซับซ้อนทางอารมณ์ และอาจเลยเถิดไปถึงขั้นเชื่อถือ AI ว่าอะไรก็ทำ แนะนำอะไรก็ทำ ซึ่งถือว่าอันตรายมาก

อันจะเห็นได้จากหลาย ๆ เคส ที่เชื่อคำแนะนำของ AI แล้วตัดสินใจทำบางสิ่งบางอย่าง ซึ่งอาจขัดต่อจริยธรรม หรือกฎหมาย เช่น การลังมือสังหารผู้อื่น และแม้แต่การทำอัตวินิบาตกรรมก็ตาม

ถือเป็นโจทย์ใหญ่ เมื่อเพื่อน AI เริ่มมีบทบาทและอำนาจทางความคิดต่อผู้ใช้ ซึ่งยังอยู่ในช่วงวัยเด็กหรือวัยรุ่น เป็นโจทย์ใหญ่ของทั้งผู้สร้าง สังคม รัฐบาล หรือแม้แต่ในโรงเรียนก็ตามที


ที่มา: VICE

ข่าวที่เกี่ยวข้อง
 

 

 

related