svasdssvasds

“เจียเม้ง” ปัดปลดพนง.200 คน ชี้สมัครใจออกเอง ไม่เกี่ยวขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ

“เจียเม้ง” ปัดปลดพนง.200 คน ชี้สมัครใจออกเอง ไม่เกี่ยวขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ

ติดตามข่าวสารได้ที่ https://www.springnews.co.th

“เจียเม้ง” ยักษ์ส่งออกข้าวรายใหญ่ของไทยโต้ไม่ได้ปลดพนักงานจากเหตุปรับค่าจ้างขั้นต่ำ แต่เป็นการปรับโครงการองค์กรเพื่อรับกับการแข่งขัน และความอยู่รอดจึงเปิดโครงการสมัครใจลาออก ตั้งเป้างบ 2 ล้านบาท - 25 ม.ค. 61- นายไพสิทธิ์ ปิติทรงสวัสดิ์ ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดนครราชสีมา และ นางประพิศ มานะธัญญา กรรมการผู้จัดการบริษัทเจียเม้ง จำกัด ร่วมกันเปิดเผยถึงกรณีที่มีข่าวการปลดพนักงาน 200 คน หลังมีการประกาศปรับราคาค่าจ้างแรงงานขึ้นต่ำเป็นวันละ 320 บาทนั้นนางประพิศ มานะธัญญา กรรมการผู้จัดการ บริษัทเจียเม้ง จำกัด กล่าวว่า ข่าวดังกล่าวไม่เป็นความจริง และทำให้เกิดความเสียหาย สังคมเข้าใจผิดคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริงอย่างมาก และเรื่องดังกล่าวเป็นเรื่องภายในของบริษัท ซึ่งเป็นการปรับโครงสร้างให้มีศักยภาพแข่งขันกับตลาดและอยู่รอดต่อไปได้ เพราะบริษัท รับภาระมา 3-4 ปีแล้ว หลังจากหมดโครงการรับจำนำและมาทำข้าว ออเดอร์ต่าง ๆ ก็ลดลง ขณะที่ยังต้องจ่ายค่าแรงให้พนักงานเท่าเดิม คือเดือนละประมาณ 5 ล้านบาท “เจียเม้ง” ปัดปลดพนง.200 คน ชี้สมัครใจออกเอง ไม่เกี่ยวขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ ก่อนหน้านี้บริษัท พยายามปรับตัวด้วยการย้ายโอนพนักงานบางส่วนไปบริษัทในเครือที่แมทชิ่งกันได้ ส่วนพนักงานที่เหลือประมาณ 350 คน คิดว่ายังเกินกว่างบประมาณที่ต้องจ่ายและยังมีต้นทุนที่สูง คาดว่าจะลดพนักงานทุกระดับประมาณ 100 คน ถ้าระดับสูงออกมากก็ลดไม่มาก แต่ถ้าระดับล่างจำนวนตัวเลขก็จะมาก ซึ่งบริษัทจัดโครงการสมัครใจลาออก และมีการให้ความช่วยเหลือ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสวัสดิการ ประกันสังคม ซึ่งได้รับคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่รัฐทุกหน่วยงาน แต่ปัญหาที่จะตามมาคือ เรื่องการที่พนักงานจะไปสมัครงานที่อื่นต่อ จากการสอบถามทางประธานสภาอุตสาหกรรมทราบว่า ตลาดแรงงานยังต้องการแรงงานอยู่อีกมาก เชื่อว่าน่าจะไม่มีปัญหากับพนักงานที่ออกไป แต่หากพนักงานมีปัญหาเดือดร้อนมากก็จะเข้าไปช่วยไม่ได้ทอดทิ้งแต่อย่างใด เพราะอยู่กันแบบครอบครัว ฉะนั้นทั้งหมดนี้คือ การปรับโครงสร้างองค์กรเพื่อให้อยู่ได้ในภาวการณ์การแข่งขันสูง ถือเป็นเรื่องปกติไม่ได้เกี่ยวกับเรื่องของค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำ ที่มีการวิพากษ์วิจารณ์กันแต่ออย่างใด อย่างไรก็ตามหากผู้ที่สมัครใจจะลาออกแต่อยู่ในตำแหน่งที่บริษัท จำเป็น ก็ไม่เข้าหลักเกณฑ์ก็ไม่ให้ออกเพราะไม่ได้ปิดโรงงาน แต่มีเป้าหมายไม่เกิน 100 คน หากครบตามงบประมาณที่ตั้งไว้คือ 2 ล้านบาทแล้วก็อาจจะไม่ถึง 100 คนก็ได้ นางประพิศ กล่าวต่อว่า การลดกำลังการผลิตไปตามตลาด ซึ่งปีนี้ผลผลิตข้าวออกมาค่อนข้างน้อย และการส่งออกมีปัญหา ก็ต้องลดการผลิตลงไปโดยอัตโนมัติ ในส่วนผู้ประกอบการก็ต้องปรับตัวเองให้เข้ากับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ขณะนี้มีพนักงานยื่นใบสมัครที่จะลาออกประมาณ 20 รายเปิดมาแล้ว 3 วัน และทยอยยื่นอย่างต่อเนื่อง ส่วนใหญ่เป็นพนักงานฝ่ายผลิต และต้องยอมรับว่าปีนี้ถือว่าเป็นการปรับลดพนักงานมากที่สุดของบริษัทเจียเม้ง "เรื่องการปรับค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำขึ้นอีกเป็น 320 บาทนั้น ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อบริษัท แต่อย่างใด และไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเปิดโครงการสมัครใจลาออกของพนักงานบริษัทแน่นอน คนละส่วนกัน และอยากฝากผู้ประกอบการรายอื่นที่ต้องการแรงงานดีมีคุณภาพขอให้รับพนักงานของเจียเม้งให้เข้าทำงาน เพราะพนักงานรุ่นนี้ล้วนเป็นบุคลากรที่มีคุณภาพผ่านเกณฑ์มาตรฐานทั้งสิ้นโคราชยังเป็นเมืองที่ใช้แรงงานและมีความต้องการแรงงานอีกมาก การที่ลดพนักงานลงแค่นี้ถือเป็นเรื่องเล็ก ๆ ไม่ได้ทำให้เกิดปัญหาอะไร” นางประพิศ กล่าว “เจียเม้ง” ปัดปลดพนง.200 คน ชี้สมัครใจออกเอง ไม่เกี่ยวขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ ด้านนายไพสิทธิ์ ปิติทรงสวัสดิ์ ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดนครราชสีมา กล่าวว่า การปรับค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำจะกระทบกับสถานประกอบการที่ใช้แรงงานมาก เช่น โรงงานตัดเย็บเสื้อผ้า หรือกิจการที่ทำอาหาร แต่อุตสาหกรรมใหญ่ ๆ จะไม่กระทบ เพราะจ้างแรงงานแพงกว่าราคานี้อยู่แล้ว แต่การปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำครั้งนี้ ยอมรับว่าผู้ประกอบการไม่พอใจเท่าไหร่ และเท่าที่ทราบคือคณะอนุกรรมการค่าจ้างระดับจังหวัดในส่วนของจังหวัดนครราชสีมา จะให้ขึ้นเป็น 312 บาท แต่มีการอนุมัติออกมา 320 บาท ขณะนี้กำลังยื่นเรื่องทบทวนผ่านสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย อย่างไรก็ตามหากดูตลาดแรงงานแล้ว จังหวัดนครราชสีมา มีความต้องการด้านแรงงานอยู่มากกว่า 1,000 ตำแหน่ง เช่น โรงงานจินตนา ต้องการพนักงานอีกกว่า 100 คน เจวีซีต้องการอีก 100 คน ขณะที่บริษัท ซีเกทต้องการแรงงานอีกร่วม 1,000 คน รวมถึงแคนนอนก็รับอีกหลายร้อยคน ในส่วนของแรงงานก็ปรับตัวให้เข้ากับบริษัทใหม่ด้วย  
related