svasdssvasds

ไทยครองแชมป์ความเหลื่อมล้ำอันดับหนึ่ง?

ไทยครองแชมป์ความเหลื่อมล้ำอันดับหนึ่ง?

"เครดิตซูเอท" บริษัทที่ปรึกษาและให้บริการทางการเงินชื่อดัง ออกรายงาน โกบอล เวลท์ รีพอร์ต 2018 พบว่าประเทศไทยกลายเป็นประเทศที่มีความเหลื่อมล้ำมากที่สุดจาก 40 ประเทศทั่วโลก คนรวยที่สุดสัดส่วนเพียงร้อยละ 1 ถือครองทรัพย์สินในประเทศเกินครึ่ง มากถึงร้อยละ 66.9

ไทยครองแชมป์ความเหลื่อมล้ำมากที่สุดโลก?

รายงานของเครดิตซูเอทชี้ให้เห็นว่า คนรวยในประเทศไทยที่มีสัดส่วนร้อยละ 1 ถือครองทรัพย์สินในประเทศเกินครึ่งถึง ร้อยละ 66.9 ส่วนคนรวยที่สุดร้อยละ 5 ถือครองทรัพย์สินร้อยละ 77.9 และคนรวยในสัดส่วนร้อยละ 10 ของประเทศถือครองทรัพย์สินมากที่สุด ร้อยละ 85.7 หมายความว่า คนส่วนใหญ่ในประเทศร้อยละ 90 ต้องแบ่งการถือครองทรัพย์สินในประเทศที่มีไม่ถึงร้อยละ 15 ทั้งสามตัวเลขที่แสดงนี้ทำให้ไทยขึ้นแท่นอันดับ 1 จาก 40 ประเทศ มีความเหลื่อมล้ำมากที่สุดโลก

ไทยครองแชมป์ความเหลื่อมล้ำอันดับหนึ่ง?

นายบรรยงค์ พงษ์พาณิชย์ อดีตซุเปอร์บอร์ดที่ คสช. ตั้งขึ้น โพสต์ในเฟซบุ๊กส่วนตัว เล่าถึงรายละเอียดบอกว่า เมื่อสองปีที่แล้วไทยอยู่ในอันดับที่สาม แต่มาปีนี้ครองแชมป์โลกไปซะแล้ว ชนะรัสเซียและอินเดียแบบขาดลอยและยังบอกอีกว่า ที่ไทยตีปี๊ปว่าเศรษฐกิจฟื้นแล้ว กำลังเข้าสู่ยุคโชติช่วงใหม่ เห็นตัวเลขนี้ก็คงพอเข้าใจได้ว่าทำไมรากหญ้ายังบ่นว่าเศรษฐกิจไม่ดี

ไทยครองแชมป์ความเหลื่อมล้ำอันดับหนึ่ง?

 

แล้วประชาชนคิดอย่างไรต่อเศรษฐกิจไทย?

สอดคล้องกับ "นิด้าโพล" เผยผลสำรวจ “ประชาชนคิดอย่างไรต่อเศรษฐกิจไทย ในปี 2561" เปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมา ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 61.92 บอกว่าเศรษฐกิจแย่ลง แม้ว่าที่ผ่านมารัฐบาลจะออกนโยบายที่ลดความเหลื่อมล้ำ ซึ่งขุนพลใหญ่ด้านเศรษฐกิจระบุว่า นี่คือปัญหาของทั้งโลก

ไทยครองแชมป์ความเหลื่อมล้ำอันดับหนึ่ง?

การแก้ปัญหานี้ก็ไม่ใช่เรื่องง่าย เมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา "อ๊อกแฟม" ก็เพิ่งจะออกรายงานว่า สิงค์โปร์ประเทศที่มีศักยภาพทางเศรษฐกิจแข็งแกร่งเป็นอันดับต้นๆ ของโลก กลับล้มเหลวในการแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำเทียบเท่าลาว

ขณะที่ นายบรรยงค์ พงษ์พาณิชย์ ระบุนโยบายที่ทำกันมาหลายสิบปีก็พิสูจน์แล้วว่ามันไม่ได้ผล ถ้าดันทุรังทำแบบเดิม แผนยุทธศาสตร์ชาติ ก็จะกลายเป็นแผนฉุดกระชาก

 

เมื่อคนมีความรู้มีความสามารถหางานทำไม่ได้... นี่คือโจทย์ความเหลื่อมล้ำ

โดยก่อนหน้านี้ไม่กี่วัน นักวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์หลายคน จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้นำเสนอถึงต้นตอและแนวทางการแก้ไขโดย นายอารยะ ปรีชาเมตตา ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยความเหลื่อมล้ำและนโยบายสังคม คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ยกตัวอย่างจราจลที่ฝรั่งเศส ว่ามีการผูกขาดในตลาดแรงงาน เศรษฐกิจไม่ได้ขยายตัวมากเหมือนอดีต คนมีความรู้ความสามารถหางานทำไม่ได้ นี่คือโจทย์ความเหลื่อมล้ำ และนำสู่ความขัดแย้ง

ไทยครองแชมป์ความเหลื่อมล้ำอันดับหนึ่ง?

 

30 ปีที่ผ่านมา ไม่มีอะไรเปลี่ยนไป

ขณะที่อาจารย์นวลน้อย ตรีรัตน์ คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระบุว่าถึงสาเหตุ ว่ามาจากอำนาจทางการเมือง อำนาจทางเศรษฐกิจ โครงสร้างทางเศรษฐกิจไทย 30 ปีที่ผ่านมาไม่เปลี่ยนไปเลย มีการผูกขาดในระบบเศรษฐกิจ ผูกขาดแบบพึ่งพารัฐ

ไทยครองแชมป์ความเหลื่อมล้ำอันดับหนึ่ง?

แต่หวังว่ากฎหมายการแข่งขันทางการค้าฉบับใหม่ จะแก้ไขปัญหาการผูกขาดให้น้อยลงได้ และที่สำคัญ ยังฝากถึงพรรคการเมืองกับการเลือกตั้งครั้งนี้ว่า ควรใส่ใจเรื่องกระจายอำนาจเพื่อแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำของประเทศด้วย

related