svasdssvasds

รฟท. ปฏิเสธ การันตีกำไร CP 6%

รฟท. ปฏิเสธ  การันตีกำไร  CP 6%

รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน รักษาการผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย ออกโรงโต้ข่าวลือ ย้ำชัด ประมูลรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน ไม่มีการันตีกำไร 6%

ภายหลังจากที่มีกระแสข่าวลือเกิดขึ้นเกี่ยวกับโครงการประมูลการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน ที่มีการอ้างว่ามีการการันตีกำไร 6 % ให้กับเอกชนที่ชนะการประมูลงาน จนเกิดความสับสนขึ้นนั้น ล่าสุด นายวรวุฒิ มาลา รักษาการผู้ว่าฯรฟท. ให้สัมภาษณ์สถานีโทรทัศน์ TNN โดยปฏิเสธว่าเรื่องดังกล่าวไม่เป็นความจริง และไม่ทราบว่าข่าวดังกล่าวออกมาจากไหน

รฟท. ปฏิเสธ  การันตีกำไร  CP 6%

โดย นายวรวุฒิ กล่าวว่า ข้อมูลที่ปรากฎออกมานั้นไม่เป็นความจริง รัฐบาลจะไปการันตีกำไรให้ใครได้ ถ้ารัฐการันตีได้ ทำไมไม่ทำเองเลย การลงทุนร่วมระหว่างรัฐและเอกชนก็หมายความว่าต้องรับความเสี่ยงร่วมกันอยู่แล้ว ซึ่งหากภาคเอกชนเห็นว่ามีความเสี่ยงสูงก็ไม่ต้องเข้าร่วมการประมูล

ส่วนการเปิดเผยข้อมูลออกมาในลักษณะนี้นั้น ถือว่าผิดมารยาท เพราะเรื่องอยู่ระหว่างการประมูล ซึ่งมีการเตือนมาตลอดตั้งแต่การยื่นซอง จนเปิดซอง ควรรักษามารยาทซึ่งกันและกัน ส่วนเรื่องการล้มประมูลนั้น ยืนยันว่ายังไม่ถึงขั้นนั้น ยังสามรถดำเนินการต่อได้ ส่วนการประมูลโครงการนี้ ยืนยันว่าการรถไฟมีความโปร่งใสมากและระมัดระวังอย่างมาก เนื่องจากเป็นโครงการที่ใหญ่ จึงต้องเปิดเผยทุกขั้นตอน พิจารณาด้วยความละเอียดรอบคอบ ซึ่งบางครั้งอาจใช้เวลานานไปบ้างเพราะต้องการความรอบคอบจริงๆ

ส่วนความคืบหน้าการประมูลนั้น อยู่ระหว่างการตรวจสอบตัวเลขที่เอกชนเสนอ ผลการพิจารณาซองที่สามด้านข้อเสนอราคานั้น กลุ่มกิจการร่วมค้า บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง และพันธมิตร ที่มี CP เป็นแกนนำ เป็นผู้เสนอราคาต่ำสุด โดยต่ำกว่าเกณฑ์ข้อกำหนด TOR ในส่วนของการขอรับการสนับสนุนเงินอุดหนุนจากภาครัฐ วงเงิน 119,000 ล้านบาท

รฟท. ปฏิเสธ  การันตีกำไร  CP 6%

นอกจากนี้ นายวรวุฒิ ยังกล่าวยอมรับอีกด้วยว่า การพิจารณาการเปิดซองที่สาม กระบวนการพิสูจน์มีข้อมูลจำนวนมาก เพราะเกี่ยวพันกันถึง 7ฉบับ ซึ่งกรรมการจะประชุมกันอีกครั้งวันที่ 21 ธ.ค.นี้ เวลา 09.00 น. เพื่อดูรายละเอียดตัวเลข และเปิดซองที่ 4 เรื่องข้อเสนอพิเศษ เพื่อเจรจา หลังแล้วเสร็จก็จะประกาศผลให้ทราบต่อไป

สำหรับที่มา โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน แบบไร้รอยต่อ (ดอนเมือง - สุวรรณภูมิ - อู่ตะเภา) ) เป็นโครงการระบบขนส่งมวลชนที่ต่อยอดจากรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิขึ้นมาเป็นส่วนหนึ่งของโครงการรถไฟความเร็วสูงในประเทศไทย ดำเนินการโดย กิจการร่วมค้า บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร โดย บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด บริษัท ช. การช่าง จำกัด (มหาชน) บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) และ ไชน่า เรลเวยส์ คอนสตรัคชั่น คอร์ปอเรชัน ภายใต้การร่วมทุนร่วมกับ การรถไฟแห่งประเทศไทย และ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ถือเป็นส่วนหนึ่งของโครงข่ายระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในกรุงเทพมหานครและพื้นที่ต่อเนื่อง และยังถือเป็นส่วนหนึ่งของโครงข่ายระบบขนส่งมวลชนทางราง คุนหมิง - สิงคโปร์ สาย Eastern Route ที่จะเชื่อมต่อประเทศกลุ่ม CMLV เข้าเป็นผืนแผ่นเดียวกัน

related