svasdssvasds

จัดการพินัยกรรมชีวิต ทรัพย์มรดกทางดิจิทัล เพื่อจากโลกนี้ด้วยความสงบ

จัดการพินัยกรรมชีวิต ทรัพย์มรดกทางดิจิทัล เพื่อจากโลกนี้ด้วยความสงบ

ทรัพย์มรดกทางดิจิทัล พินัยกรรมชีวิตโลกออนไลน์ ข้อมูลส่วนบุคคล ที่ควรพิจารณาและเขียนทำรายการพินัยกรรม เพื่อเตรียมพร้อมไว้ล่วงหน้าก่อนถึงวันที่เราลาจากโลกนี้ไป

ทรัพย์มรดกทางดิจิทัล ที่เราจับต้องไม่ได้ กำลังเป็น ปัญหากฎหมายในโลกยุคสมัยใหม่ ลองนึกกันดูเล่นๆ สิว่า คุณมี ภาพ วิดีโอ บัญชีออนไลน์ อะไรบ้างที่ใช้ทำกิจกรรมและธุรกรรมบนโลกดิจิทัล จากข้อมูล Thailand Digital Stat 2022 ของ We Are Social สรุปข้อมูลกิจกรรมการตลาดและการใช้งานดิจิทัลของคนไทยไว้ ดังนี้ 

  • จำนวนของโทรศัพท์มือถือมีอยู่ 95.6 ล้านเครื่องทั้งที่จำนวนประชากรไทยอยู่ที่ประมาณ 70 ล้านคน แสดงว่ามีคนจำนวนนึงที่ใช้มือถือมากกว่า 1 เครื่อง
  • คนที่ใช้อินเทอร์เนตออนไลน์ อยู่ 54.5 ล้านคน คิดเป็นกว่า 77.8% ของประชากรทั้งประเทศ
  • ผู้ใช้งานโซเชียลมีเดียของไทยมี 56.85 ล้านคน หรือคิดเป็น 81.2% ของประชากรทั้งประเทศ

คนใช้งานมือถือเพื่อใช้ดำเนินกิจกรรมต่างๆ บนโลกออนไลน์ ภาพจาก freepik

โดยเฉลี่ยแล้วคนไทยหนึ่งคนเล่นโซเชียลมีเดียโดยเฉลี่ย 7.6 แพลตฟอร์ม 

  • Facebook เป็นแพลตฟอร์มอันดับหนึ่งที่เข้าถึงผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตชาวไทยในช่วงอายุ 16-64 ปีได้มากถึง 93.3% 
  • คนไทยใช้ Facebook กว่า 50.05 ล้านคน คิดเป็นสัดส่วนประชากรไทยทั้งหมดถึง 71.5% 
  • LINE อันดับสอง 92.8%
  • Facebook Messenger อันดับสาม 84.7%  
  • TikTok มาเป็นอันดับ 4 มีสัดส่วนมากถึง 79.6%
  • Instagram มีคนไทยอยู่ที่ 68.7%
  • Twitter มีคนไทยอยู่ที่ 53.1% 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

จะเห็นได้ว่า ชีวิตคนเรายุคนี้ผูกพันและมีอินเทอร์เนตเป็นโลกเสมือนอีกใบที่เราสามารถสร้างตัวตน ผ่านการใช้งานออนไลน์ทั้งในจุดประสงค์เพื่อพูดคุย ติดต่อทำงาน แสดงความคิดเห็น เสพข้อมูลข่าวสาร แบ่งปันข้อมูล ภาพถ่ายและอื่นๆ ทั้งนี้ทั้งนั้น ยิ่งทำให้ชีวิตเราแยกออกจาก ทรัพย์มรดกทางดิจิทัล ไม่ได้อีกต่อไป จึงเป็นคำถามที่น่าสนใจว่า แล้วใครสามารถเข้าถึงบัญชีออนไลน์ต่างๆ เหล่านั้นของคุณได้บ้าง เมื่อวันนึงที่คุณเสียชีวิตไปแล้ว บัญชีและข้อมูลต่างๆ เหล่านี้จะไปอยู่ในมือใคร
 

จากบทความ จะจัดการกับทรัพย์มรดกทางดิจิทัลอย่างไร? ที่เขียนโดย ทพพล น้อยปัญญา เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2018 สรุปไว้ว่า

เว็บไซต์และสื่อโซเชียลมีเดียที่มีระบุการจัดการบัญชีเมื่อเสียชีวิตไว้มีดังนี้ 

  • Facebook เจ้าของบัญชีสามารถระบุให้เก็บบัญชีเหล่านี้อยู่ต่อไป (memorialised) หรือจะให้ลบโดยถาวร ข้อมูลต่างๆ ยังคงมีอยู่เหมือนแต่จะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ ทั้งนี้ยังสามารถเลือกฟีเจอร์พินัยกรรม หรือ legacy contact โดยจะให้สิทธิ์เพื่อนหนึ่งคน ที่เราไว้ใจที่สุด มารับช่วงต่อบัญชีโปรไฟล์เฟซบุ๊กของเรา โดยคนๆนั้นจะสามารถโพสต์ข้อความบนไทม์ไลน์แบบปักหมุดของเราได้
  • Instagram โดยสามารถเก็บรักษาบัญชี (memorialised) ด้วยการที่ใครตามแสดงหลักฐานการเสียชีวิต เช่น ข่าวหรือใบมรณบัตร หรือ สมาชิกครอบครัวแจ้งนำบัญชีออกระบบได้เช่นกัน
  • LinkedIn เมื่อเจ้าของบัญชีเสียชีวิตจะถูกลบข้อมูลออกจากระบบเท่านั้น
  • Twitter จะทำการปิดบัญชีผ่านผู้จัดการมรดกหรือสมาชิกในครอบครัว 
  • PayPal ถ้าเจ้าของบัญชีถึงแก่กรรมผู้มีอำนาจจัดการทรัพย์มรดกต้องส่งเอกสารที่เกี่ยวข้องเพื่อยืนยัน ขอยื่นปิดบัญชี

ทรัพย์มรดกทางดิจิทัลอื่นๆ จากกรณีศึกษาของประเทศออสเตรเลีย ก็ไม่มีกฎหมายมาบังคับใช้โดยตรง (เช่นเดียวกับประเทศไทย) สิ่งที่สามารถเตรียมทำได้ก่อนคือ

  • ผู้ที่เป็นทนายความสามารถแจ้งลูกความทราบถึงความสำคัญในการกำหนดในพินัยกรรมถึงการจัดการทรัพย์มรดกทางดิจิทัล
  • ลูกความเตรียมทำรายการบัญชีและทรัพย์มรดกทางดิจิทัล โดยแจ้งไว้กับครอบครัวหรือคนที่ไว้ใจ
  • ในกรณีที่กลายเป็น คนไร้ความสามารถ กฎหมายกำหนดให้มี “ผู้อนุบาล” จึงต้องมอบอำนาจที่จะจัดการทรัพย์มรดกทางดิจิทัลและบัญชีดิจิทัลไว้ด้วย
  • ในพินัยกรรมควรกำหนดให้ผู้จัดการมรดกหรือทายาทมีอำนาจในการจัดการทรัพย์มรดกทางดิจิทัลและบัญชีดิจิทัลต่างๆ ไว้ด้วย
  • หลังจากทำพินัยกรรมครบ 3 ปีควรหยิบมาทบทวนเพื่อโลกดิจัทัลมีการเปลี่ยนอย่างรวดเร็ว

ส่วนผู้ใช้ iOS โชคดีหน่อยที่ iCloud ได้มีการเพิ่มคุณสมบัติใหม่ที่เพิ่งเปิดตัวไปเมื่อ พฤศจิกายน 2021 ที่ผ่านมา นั่นคือการเพิ่ม  “Legacy Contact” ได้สูงสุด 5 คนบุคคลที่คุณยินยอมให้ส่งต่อข้อมูลเมื่อเสียชีวิต โดยอยู่ในการตั้งค่าหัวข้อ “Digital Legacy program” ทั้งนี้จะมีการแจ้งเตือนให้กับคนที่ถูกเลือก จะได้รับสำเนารหัสเข้าถึงในการตั้งค่า Apple ID ส่วนตัว
ทั้งนี้ยังมีประโยชน์ในกรณีที่ พ่อแม่ลืมรหัสเข้าใช้บัญชีต่างๆ หรือแชร์การเข้าถึงบริการอื่นๆ ร่วมกันกับคนในครอบครัว เป็นต้น 

ทั้งนี้ตามกฏหมาย พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 เพื่อการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลมีประสิทธิภาพ และเยียวการละเมิดสิทธิในข้อมูส่วนบุคคล ในการเก็บข้อมูล ใช้ หรือเผยแพร่ที่เกี่ยวกับสิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล โดยกฏหมายฉบับนี้ไม่ได้กล่าวครอบคลุมถึงการเผยแพร่หรือละเมิดข้อมูลของผู้ที่เสียชีวิต

ที่มา
1 2 3 4